สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (28 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 254,115 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 50,823 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 9% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 53% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 135,615 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 69,149 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 11,073 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27% และ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น ESGLB376A (อายุ 13.8 ปี) LB336A (อายุ 9.8 ปี) และ LB246A (อายุ .8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 17,085 ล้านบาท 5,018 ล้านบาท และ 4,887 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) รุ่น MTC23OA (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 987 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รุ่น PTTC248A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 595 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) รุ่น TCAP257A (A) มูลค่าการซื้อขาย 546 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวในกรอบแคบประมาณ 1-2 bps. ด้านปัจจัยต่างประเทศ ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง กล่าวว่า แม้ว่าเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงแต่ก็ยังคงสูงเกินไป โดยเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป หากมีความเหมาะสม และจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าที่คาด อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นเป็นเวลานาน การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และภาวะตึงตัวในระบบการเงิน ด้านปัจจัยในประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกรกฎาคม 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การส่งออกยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบต่อไป (27 ก.ย.) มีโอกาสสูงที่จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงจากระดับ 3.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ค. โดยมีสาเหตุหลักมาจากแนวโน้มการส่งออกฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด
สัปดาห์ที่ผ่านมา (28 สิงหาคม ? 1 กันยายน 2566) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 6,523 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 4,849 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,018 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 656 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (28 ส.ค. - 1 ก.ย. 66) (21 - 25 ส.ค. 66) (%) (1 ม.ค. - 1 ก.ย. 66) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 254,114.61 279,190.48 -8.98% 10,842,221.10 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 50,822.92 55,838.10 -8.98% 66,516.69 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 103.05 102.99 0.06% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (MTM Corp Bond Gross Price Index) 105.6 105.56 0.04% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (1 ก.ย. 66) 1.91 2.1 2.19 2.35 2.52 2.79 3 3.35 สัปดาห์ก่อนหน้า (25 ส.ค. 66) 1.9 2.09 2.19 2.37 2.52 2.79 3 3.35 เปลี่ยนแปลง (basis point) 1 1 0 -2 0 0 0 0