ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นเจ้าภาพการประชุม ASEAN Exchanges CEOs Meeting ครั้งที่ 36 โดย ตลาดหลักทรัพย์อาเซียนทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ร่วมกำหนดตัวชี้ วัดด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติในระดับสากล รวมถึงหารือแนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้าน ESG ในภูมิภาคเพิ่มเติม เพื่อ ยกระดับตลาดหลักทรัพย์อาเซียนและการลงทุนที่ยั่งยืน เมื่อ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. เปิดเผยว่า ตลท.เป็นเจ้าภาพการประชุม ASEAN Exchanges CEOs Meeting ครั้งที่ 36 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 6 แห่ง จาก 6 ประเทศ เพื่อร่วมกำหนดแนว ทางการทำงานร่วมกันในด้านต่างๆ อาทิ การขับเคลื่อนความยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อขยายโอกาสการลงทุน พร้อมยกระดับตลาดหลักทรัพย์อาเซียนและการลงทุนที่ยั่งยืน
"จากการเติบโตของภูมิภาค ตลาดหลักทรัพย์อาเซียนมุ่งมั่นในการสร้างโอกาสการลงทุนต่อเนื่อง โดยในที่ประชุมผู้บริหาร ระดับสูงของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้หารือร่วมกันถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน (cross-border products) รวมถึงการขยายการรับรู้ถึงศักยภาพของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนแก่ผู้ลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ประเด็นด้าน ESG ยังเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจึงได้จัดทำตัวชี้วัดร่วม เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยข้อมูล และให้ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถเข้าถึงข้อมูล พร้อมช่วยส่งเสริมการไหลเข้าของเงินทุนสู่ภูมิภาค" นายภากรกล่าว
ในการประชุม ตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้ร่วมกำหนด 10 ตัวชี้วัดด้านบรรษัทภิบาล (Governance) เพิ่มเติมจากการ ประชุมก่อนหน้านี้ ที่ตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้ประกาศตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) และสังคม (Social) ไป แล้ว เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แต่ละแห่งนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาเซียน โดยส่งเสริมให้มีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ครอบคลุมหัวข้อที่มีความสำคัญ เป็นการสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืนในภูมิภาค และ สอดคล้องกับเทรนด์สากลที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประชุมครั้งนี้ทำให้มีการกำหนดตัวชี้วัดครบถ้วนทั้ง 3 มิติของ ESG ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ
สำหรับ 10 ตัวชี้วัดด้านบรรษัทภิบาลที่กำหนดร่วมกันในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่
ลำดับที่ ประเด็นด้านบรรษัทภิบาล ตัวชี้วัด 1 ความหลากหลายของคณะกรรมการ ร้อยละของจำนวนกรรมการชายและกรรมการหญิง 2 ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ ร้อยละของจำนวนกรรมการอิสระ 3 ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ ประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดไม่เป็นบุคคลเดียวกัน (ใช่/ไม่ใช่) 4 การเลือกตั้งกรรมการใหม่และกรรมการ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการใหม่ (มี/ไม่มี) ที่พ้นจากตำแหน่งกลับมาใหม่ 5 การประชุมคณะกรรมการ ร้อยละการเข้าประชุมคณะกรรมการของกรรมการแต่ละคนในรอบปี 6 การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีของ การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและการเปิดเผย คณะกรรมการ หลักเกณฑ์และกระบวนการจัดการภายหลังประเมิน (มี/ไม่มี) 7 การพัฒนาและอบรมคณะกรรมการ นโยบายบริษัทเกี่ยวกับการส่งเสริมให้กรรมการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง (มี/ไม่มี) 8 จริยธรรมธุรกิจ การเปิดเผยรายละเอียดจริยธรรมธุรกิจและ/หรือคู่มือจรรยาบรรณ (มี/ไม่มี) 9 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน นโยบายบริษัทเกี่ยวกับการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน (มี/ไม่มี) 10 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน นโยบายบริษัทเกี่ยวกับการรายงานการมีส่วนได้เสียและความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ของกรรมการ (มี/ไม่มี)
การประชุม ASEAN Exchanges CEOs Meeting ร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 6 แห่ง จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (Indonesia Stock Exchange) ตลาด หลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ (Philippine Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange Group) ตลาดหลักทรัพย์ เวียดนาม (Vietnam Exchange) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand) นอกจากนี้ ยังมี ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (Cambodia Stock Exchange) และ ตลาดหลักทรัพย์ลาว (Lao Securities Exchange) เข้าร่วมการ ประชุมในครั้งนี้ด้วย