แต่ในไตรมาส 4/66 จะเป็นช่วงไฮซีซั่นของตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจึงคาดหวังจะเห็นยอดขายดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด จึงเตรียมออกแคมเปญการตลาดให้โปรโมชั่นดีดีกับลูกค้า และยังขายในราคาเดิมเท่ากับช่วงเปิดโครงการ โดยไม่ได้มีการปรับเพิ่มราคาขายใหม่ เชื่อว่าจะจูงใจลูกค้าที่สนใจซื้อคอนโดมิเนียมให้เข้ามาซื้อโครงการขปง RICHY มากขึ้น เพื่อสร้างยอดขายและยอดโอนให้กับบริษัท และทำให้ผลงานในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้สามารถพลิกกลับมามีกำไรได้ ซึ่งคาดหวังว่าผลงานในไตรมาส 4/66 จะสามารถทำให้ผลการดำเนินงานของ RICHY ทั้งปี 66 ไม่ขาดทุนได้
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขายของ RICHY ในปี 66 และปี 67 จะไม่มีแผนการเปิดโครงการใหม่ เพื่อรอดูสถานการณ์ของตลาดให้ฟื้นกลับมาดีขึ้นก่อน ประกอบกับ สต็อกโครงการพร้อมอยู่ยังมีอยู่มากกว่า 7 พันล้านบาท บริษัทจึงเน้นการระบายสต็อกเพื่อสร้างรายได้กลับมาก่อน รวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในย่านวุฒิฑากาศยังสามารถรองรับการขายในระยะต่อไปได้ ทำให้บริษัทไม่เร่งการลงทุนเพื่อรอจังหวะเหมาะสมในอนาคต
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ที่มองหาซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงส่งผลต่อต้นทุนการเงินของบริษัทที่สูงขึ้นจากช่วงก่อนโควิด-19 ที่ 4-5% มาเป็น 6-7% ในปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท และเป็นผลที่ส่งมาถึงผลขาดทุนของบริษัทที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
จากสถานการ์ณของตลาดอสังหาฯที่ยังไม่ดีนัก แต่บริษัทมีการปรับธุรกิจในการนำโครงการ The RICH เพลินจิต-นานา มาทำเป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้เข้ามาให้กับบริษัทได้อย่างดี จากอัตราการเข้าพักที่สูงขึ้นมาที่ 80-95% จากช่วงต้นปีที่ 75% ซึ่งสามารถสร้างรายได้เข้ามาให้กับบริษัทเสริมได้ดี ประกอบกับธุรกิจให้เช่าพื้นทื่ RICH WALK LIFESTYLE MALL มี 3 สาขาได้แก่ เพลินจิต-นานา พระราม 9-ศรีนครินทร์ และพหลโยธิน 59 ที่เปิดให้บริการแล้วสามารถปล่อยพื้นที่เช่าไปแล้วมากกว่า 70% ทำให้เป็นส่วนเสริมรายได้ให้กับบริษัทในช่วงที่ธุรกิจอสังหาฯเพื่อขายที่ยังไม่กลับมาดีขึ้น