- โครงการท่อส่งน้ำดิบหนองปลาไหล - หนองค้อ - แหลมฉบัง ในพื้นที่จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี สามารถรองรับการส่งน้ำได้ 350,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน มากกว่าเดิม ทำให้ส่งน้ำไปให้พื้นที่ชลบุรี ได้อย่างเพียงพอ เพื่อรองรับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือในกรณีเกิดภัยแล้ง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยังยืน ความยาวกว่า 57.1 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับท่อส่งน้ำสายหลักประแสร์ - หนองปลาไหลเดิมของอีสท์ วอเตอร์
- โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำดิบคลองหลวง จังหวัดชลบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรมายังอ่างเก็บน้ำหนองค้อ แทนการผันน้ำผ่านคลองพานทอง ความยาวกว่า 49 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อจากท่อส่งน้ำสายหลักปลวกแดง - บ่อวิน ความคืบหน้าโครงการวางท่อแล้วเสร็จ 42 กิโลเมตร ในส่วนที่เหลืออีก 7 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการขออนุญาตให้วางท่อในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งบริษัทพร้อมดำเนินการ
- โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำดิบมาบตาพุต-สัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพิ่มศักยภาพในการส่งน้ำให้แก่ภาคอุปโภค บริโภค และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ความยาวกว่า 27 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อระบบท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-มาบตาพุต เส้นที่ 2
นายเชิดชาย กล่าวว่า ในปี 67 ถือเป็นอีกปีที่ท้าทายในการบริหารจัดการน้ำ เพราะยังเผชิญกับภาวะเอลนีโญ่ ซึ่งแหล่งน้ำในชลบุรี 3 แห่ง ยังค่อนข้างมีความกังวลอยู่บ้าง เพราะจากปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้มีเพียง 60% ซึ่งค่อนข้างน้อย แต่ยังสามารถนำน้ำจากแหล่งเก็บระยองมาใช้ได้ ซึ่งมีปริมาณน้ำสูงถึง 80% ทำให้ในปี 67 จะต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันบริษัทยังมองโอกาสการขยายการลงทุนไปยังนอกพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อต่อยอดธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการขยายไปกับโครงการของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท คือ การประปาส่วนภูมิภาค ที่มีการลงทุนในจังหวัดต่างๆ รวมถึงในจังหวัดที่บริษัทสนใจและมองเห็นโอกาสในการขยายออกนอก EEC เช่น หัวเมืองใหญ่ในภาคใต้ ที่มีทั้งการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้อีกหนึ่งบริการด้านระบบน้ำที่บริษัทจะเดินหน้าไนการผลักดันมากขึ้น คือ การรีไซเคิลน้ำ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกระบวนการด้านระบบน้ำที่จะมีภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมนำมาใช้ ทำให้บริษัทจะมีการขยายในส่วนการรีไซเคิลน้ำเพิ่มขึ้นไนอนาคต จากปัจจุบันใช้ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท และโรงงานของบางกอก กล๊าส ที่อยุธยา