ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศปรับแนวโน้มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DAOLSEC เป็น"แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ" จากเดิมแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวและอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ?BB+(tha)? และ?B(tha)? ตามลำดับ
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
ผลประกอบการอ่อนแอและมีแนวโน้มที่ท้าทาย: การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของ DAOLSEC พิจารณาจากผลประกอบการที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์มาก เนื่องมาจากข้อผิดพลาดจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาและรวมไปถึงขนาดของธุรกรรมลูกหนี้ผิดนัดชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2565 ที่มีนัยสำคัญ และข้อบกพร่องด้านการควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรากฏ
ทั้งนี้ การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบได้สะท้อนถึงเหตุการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าของการฟื้นตัวของผลประกอบการ และอาจทำให้เครือข่ายทางธุรกิจและแนวโน้มของธุรกิจอ่อนแอลง
มีเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็ก: อันดับเครดิตของ DAOLSEC ยังพิจารณาถึงเครือข่ายธุรกิจของบริษัทที่มีขนาดเล็ก โดยบริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดจากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในระดับปานกลางที่ 0.9% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีผลประกอบการที่ผันผวนและมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่าบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่ได้รับการจัดอันดับจากความแข็งแกร่งทางการเงิน (Stand-alone)
โดยฟิทช์ บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่นายหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 67% ของรายได้รวมในช่วง ครึ่งปีแรกของปี 2566 จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายอนุพันธ์และการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัวในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ฟิทช์มองว่าเครือข่ายของธุรกิจในระดับปานกลางนี้น่าจะต้องเผชิญความท้าทายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้
สภาพแวดล้อมทางการดำเนินงานท้าทาย: ความสามารถในการทำกำไรของภาคอุตสาหกรรมบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยในปี 2566 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี เนื่องจากสภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่อ่อนแอและการแข่งขันที่รุนแรง ฟิทช์คาดว่าผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมธุรกิจหลักทรัพย์น่าจะเริ่มปรับตัวมีเสถียรภาพหรือปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566-2567 โดยจำนวนบริษัทที่รอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) คงค้างเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ผลการดำเนินงานปรับตัวดีกว่าคาด
แต่อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนของสถานะการณ์ตลาดโลกอาจส่งผลต่อปริมาณธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ยังคงมีความเสี่ยงด้านการตั้งสำรอง: ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงปลาย ปี 2565 ของบริษัทมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของงบแสดงฐานะการเงินและฐานเงินทุนโดยมีลูกหนี้ด้อยคุณภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น 575 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 และมีส่วนที่ยังไม่ได้ตั้งสำรองคิดเป็น 36% ของส่วนผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเพิ่มทุนในเดือน มี.ค.2566 เพื่อรองรับการตั้งสำรองหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าบริษัทจะต้องมีการตั้งสำรองการด้อยค่าเพิ่มหรือไม่ เนื่องจากกระบวนการดำเนินทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผิดนัดชำระหนี้นั้นยังดำเนินอยู่
ผลประกอบการเผชิญแรงกดดันอย่างมีนัย: ฟิทช์คาดว่าผลประกอบการทั้งปี 2566 ของ DAOLSEC จะยังคงขาดทุนจากสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ยังอ่อนแอ ซึ่งบ่งชี้ว่าบริษัทมีความอ่อนไหวต่อสภาวะการลงทุนที่ไม่เอื้ออำนวยในระดับที่สูงกว่าบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่มีอันดับเครดิตสู งกว่า สะท้อนจากอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อค่าเฉลี่ยของส่วนของผู้ถือหุ้น: (operating profit / average equity) ถดถอยลงไปที่ 28.1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 (จาก -25.1% ในปี 2565)โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่ลดลงอย่างมากอีกทั้งยังมีการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้น
อัตราส่วนหนี้สินปรับตัวดีขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยง: อัตราส่วน Net Adjusted Leverage (สินทรัพย์มีตัวตน / ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่รวมสินทรัพย์ไม่มีตัวตน) ปรับตัวดีขึ้นเป็น 3.9 เท่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 (จาก 5.9 เท่า ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2565) เนื่องจากการเพิ่มทุนจำนวนเงิน 400 ล้านบาทในเดือน มี.ค. 2566 เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินนี้ยังสูงกว่าบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับจากความแข็งแกร่งทางการเงินโดยฟิทช์ และระดับเงินกองทุนยังเผชิญแรงกดดันจากความเสี่ยงที่อาจต้องตั้งสำรองด้อยค่าเพิ่มและความสามารถในการทำกำไรที่อาจถดถอยลง นอกจากนี้ฐานทุน (ในรูปแบบของจำนวนเงิน) ที่มีขนาดค่อนข้างเล็กของ DAOLSEC ก็ยังจำกัดความสามารถในการรองรับความเสี่ยงจากการที่ผลประกอบการอาจปรับตัวแย่กว่าที่คาดการณ์มาก
มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุน (Wholesale funding) ในระดับสูง: DAOLSEC ยังคงเผชิญความเสี่ยงต่อสภาวะตลาดทุนที่มากกว่าบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ เนื่องจากบริษัทมีการพึ่งพาการระดมเงินทุน โดยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิเพื่อสนับสนุนอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ(Net Liquid Capital) ของบริษัท
ทั้งนี้บริษัท มีการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องซึ่งบ่งชี้ได้จากอัตราส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่อเงินกู้ยืมระยะสั้น ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 ที่ 0.44 เท่าซึ่งต่ำกว่าบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่ได้รับการจัดอันดับโดยฟิทช์ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการระดมเงินทุนได้
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):ผลการดำเนินงานอ่อนแออย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้อันดับเครดิตถูกปรับลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฟิทช์เชื่อว่าเครือข่ายทางธุรกิจและตำแหน่งทางตลาดในธุรกิจหลักของ DAOLSEC เช่น ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ อนุพันธ์ และวาณิชธนกิจปรับตัวแย่ลง การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันต่อความสามารถในการทำกำไร หรือความผันผวนของกำไรที่มากขึ้นอันเนื่องมาจากการตั้งสำรองด้อยค่าในระดับสูงซึ่งอาจไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านกฎระเบียบหรือการปรับตัวลดลงของตำแหน่งทางการตลาดอาจบ่งชี้ถึงการไม่สามารถดำเนินการตามแผน และส่งผลให้อันดับเครดิตถูกปรับลดอันดับ ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อค่าเฉลี่ยของส่วนของผู้ถือหุ้น : (operating profit / average equity) ที่ไม่สามารถรักษาระดับที่สูงกว่า 5.0% ได้อย่างต่อเนื่องในระยะกลางโดยที่ความผันผวนไม่เพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลในเชิงลบต่อโครงสร้างเครดิต
นอกจากนี้ หากมีเหตุการณ์ใดที่แสดงว่ามีความเสียหายที่มีนัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าและเจ้าหนี้ หรืออัตราส่วนสินทรัพย์มีตัวตนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่รวมสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (tangible assets-to-tangible equity ratio) ปรับตัวขึ้นสูงกว่า 5.0 เท่า เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง (ณ สิ้น มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 3.9 เท่า ) อาจส่งผลในเชิงลบต่ออันดับเครดิตเครดิต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตในระยะอันใกล้นั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ ฟิทช์อาจปรับแนวโน้มอันดับเครดิตกลับมาเป็นมีเสถียรภาพ หากคดีความการผิดนัดชำระหนี้มีความคืบหน้าในเชิงบวก หรือมีคำพิพากษาของศาลที่ช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์และการตั้งสำรองลงไปได้ นอกจากนี้ หากผลประกอบการมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อค่าเฉลี่ยของส่วนของผู้ถือหุ้น: (operating profit / average equity) สูงว่ากว่า 5.0% อย่างต่อเนื่องในระยะกลาง โดยที่ความผันผวนของกำไรไม่ได้เพิ่มขึ้นมากหรือมีการยอมรับความเสี่ยงทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น ก็น่าจะส่งผลให้มีการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นมีเสถียรภาพได้
อันดับเครดิตตราสารหนี้และอันดับเครดิตอื่น: ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
ฟิทช์ให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ DAOLSECต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทอยู่ 1 อันดับ สอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์ (Corporate Recovery Ratings and Instrument Rating Criteria) สะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risks) ของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีมากกว่า เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิซึ่งเป็นผลมาจากสถานะด้อยสิทธิของหุ้นกู้ โดยผู้ถือหุ้นกู้จะมีลำดับสิทธิในการเรียกร้อง (priority of claims) ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ ฟิทช์ไม่ได้ปรับลดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption features) และไม่มีคุณสมบัติการแปลงเป็นทุน (equity conversion) ฟิทช์ไม่ได้พิจารณาให้หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวมีส่วนของหนี้ที่คิดเป็นทุน (equity credit) เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่ได้ มีวัตถุประสงค์ที่จะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเงินทุนของบริษัท
อันดับเครดิตตราสารหนี้และอันดับเครดิตอื่น: ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต การปรับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ DAOLSEC ก็น่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิได้รับการปรับอันดับในทิศทางเดียวกัน