ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม 334,274 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday December 18, 2023 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ ( 2566) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในสัปดาห์นี้ (12-15 ธันวาคม 2566) มีมูลค่ารวม 334,274 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 83,568 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 32% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 60% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 201,212 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 80,887 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 7,930 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24% และ 2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB336A (อายุ 9.5 ปี) ESGLB376A (อายุ 13.5 ปี) และ LB273A (อายุ 3.3 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 21,997 ล้านบาท 9,085 ล้านบาท และ 8,267 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB336A (อายุ 9.5 ปี) ESGLB376A (อายุ 13.5 ปี) และ LB273A (อายุ 3.3 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 21,997 ล้านบาท 9,085 ล้านบาท และ 8,267 ล้านบาท ตามลำดับ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงประมาณ 5-7 bps. ในทิศทางเดียวกับ US- treasury หลังจากที่ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 12-13 ธ.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยเจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2567 ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัว 2.5% จากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ย. ขยายตัวที่ 3.5% เนื่องจากการส่งออกที่หดตัว การใช้จ่ายภาครัฐลดต่ำลง สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระดับ 4.00% ตามการคาดการณ์ของตลาด หลังเงินเฟ้อในยูโรโซนชะลอตัวสู่ระดับ 2.4% ในเดือนพ.ย. ขณะที่ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยระบุว่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปอีกระยะหนึ่ง และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีแรงกดดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมา (12 - 15 ธันวาคม 2566) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 1,623 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 2,849 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,186 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 40 ล้านบาท

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                                สัปดาห์นี้          สัปดาห์ก่อนหน้า   เปลี่ยนแปลง           สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                    (12-15 ธ.ค. 66)   (4 ธ.ค.-8 ธ.ค. 66)         (%)   (1 ม.ค.-15 ธ.ค. 66)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)          334,273.51           252,818.86      32.22%         15,235,850.54
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                             83,568.38            63,204.72      32.22%             65,110.47
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                  102.96               102.44       0.51%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (MTM Corp Bond Gross Price Index)                106.00               105.78       0.21%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้         1 เดือน   6 เดือน    1 ปี    3 ปี    5 ปี   10 ปี   15 ปี   30 ปี
สัปดาห์นี้ (15 ธ.ค. 66)         2.01     2.24   2.36   2.35   2.47   2.81   3.07    3.6
สัปดาห์ก่อนหน้า (8 ธ.ค. 66)     2.01     2.24   2.37   2.42   2.52   2.87   3.14   3.68
เปลี่ยนแปลง (basis point)        0        0     -1     -7     -5     -6     -7     -8

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้ ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ