AMATA ปรับลง 3.67% หรือลดลง 0.80 บาท มาที่ 21.00 บาท มูลค่าซื้อขาย 127.89 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.25 น.จากราคาเปิด 21.90 บาท ราคาต่ำสุด 21.00 บาท ราคาสูงสุด 22.20 บาท
บล.ดาโอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์หุ้น บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น (AMATA) คงคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 26 บาท อิง 2024E PBV ที่ 1.3x (-0.25 SD below 8-yr average PBV) จากเดิมราคาเป้าหมาย 30 บาท อิง 2024E PBV ที่ 1.5x หลังจากปรับลดกำไรปี 67 และ derate PBV ลงสะท้อนยอด transfer มีโอกาสล่าช้าต่อเนื่องในไตรมาส 4/66
ดาโอ มองเป็น "ลบ" ต่องาน AMATA sustainable growth meeting จากยอด transfer ไตรมาส 4/66 ต่ำกว่าปกติ ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 4/66 ที่ 460 ล้านบาท (-41% YoY, +16% QoQ) หักกำไร FX และกำไรจากการขายโรงงานสำเร็จรูป RBF คงเหลือ 2 โรงในเวียดนาม (Q4/65 และ Q3/66 ไม่มี) คาดที่ 111 ล้านบาท จะทำให้กำไรปกติอยู่ที่ 379 ล้านบาท (-54% YoY, -22% QoQ) จากยอด transfer ที่น้อยลงเป็น 162 ไร่ และ GPM นิคมที่ลดลงเป็น 54% ตามสัดส่วนยอดโอนที่ดินชลบุรีที่น้อย
เราปรับลดกำไรปกติปี 67 ลง -15% เป็น 2.36 พันล้านบาท (+38% YoY) จากการปรับลดยอด transfer และ GPM ลง เพื่อสะท้อน transfer ที่มีโอกาสชะลอตัวต่อเนื่อง ราคาหุ้น outperform SET +30% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจากยอด presale ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปรับตัวลง underperform SET -13% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะกังวลต่อยอดโอนที่ดินที่อาจต่ำกว่าคาด
อย่างไรก็ตาม เราคงแนะนำ "ซื้อ" จาก presale จะยังทรงตัวสูง, ความต้องการลูกค้ายังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีนที่ต้องการ China relocation และกลุ่ม Auto supply chain ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาปัจจุบันยังน่าสนใจเทรดต่ำที่ปั 67 PBV ที่ 1.2x (-0.5SD)
ด้าน บล.กรุงศรี ระบุว่า AMATA ยอดขายที่ดินเติบโต 143% yoy เป็น 1,684 ไร่ปี 66 ต่ำกว่าเราคาดการณ์ไว้ เนื่องจากลูกค้า EV รายใหญ่ในไทยตัดสินใจเช่าโรงงานแทนการสร้างโรงงานเอง และความล่าช้าด้านเอกสารของลูกค้าในเวียดนาม
บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ดินโต 7% เป็น 1,700-1,800 ไร่ปีนี้ สอดคล้องกับประมาณการของเรา แต่ product mix ดีกว่า โดยสัดส่วนยอดขายที่ดินที่มีอัตรากำไรสูงในไทยมากกว่าประมาณการของเรา เราคาดว่ากำไรธุรกิจหลักปี 66 จะต่ำกว่าคาด เนื่องจากกำไรธุรกิจหลักลดลงในไตรมาส 4/66 แนวโน้มในอนาคต บริษัทมี Backlog สูงถึง 1.4 หมื่นลบ.ที่จะสร้างรายได้ในปี 67-69 ราคาหุ้นปรับลดลง 15% YTD และ TTR น่าสนใจที่ 28% คงคำแนะนำ "ซื้อ"
ยอดขายที่ดินปี 66 ต่ำกว่าคาด แต่ก็โตก้าวกระโดด 143% yoy โดยยอดขายที่ดินอยู่ที่ 481 ไร่ในไตรมาส 4/66 (เพิ่มขึ้น 65% yoy แต่ลดลง 8% qoq) ส่งผลให้ยอดขายที่ดินทั้งปี 66 เพิ่มขึ้น 143% เป็น 1,684 ไร่ (ประเทศไทย 1,452 ไร่ และเวียดนาม 232 ไร่) ต่ำกว่าเป้าของบริษัทและประมาณการของเรา เนื่องจากยอดขายที่ดินในประเทศไทยน้อยกว่าคาด (ผู้ผลิตรถ EV รายใหญ่รายหนึ่งได้เช่าโรงงานแทนสร้างโรงงาน) และเวียดนาม (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความล่าช้าด้านเอกสารของลูกค้าหลายรายรวม 140 ไร่)
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนยอดขายที่ดินที่มีอัตรากำไรสูง และมีราคาสูงในชลบุรีจะมากกว่า (494 ไร่ เทียบกับ 300 ไร่ประมาณการของเรา) เป้ายอดขายที่ดินปี 67 สอดคล้องกับประมาณการของเรา บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ดินปีนี้ 1,700-1,800 ไร่ โต 7% yoy ประกอบด้วยไทย 1,500 ไร่ และเวียดนาม 200-300 ไร่ ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของเราที่ 1,864 ไร่ แต่ product mix ของบริษัทดีกว่า เนื่องจากสัดส่วนยอดขายที่ดินในประเทศไทย (ซึ่งมีอัตรากำไรสูง) มากกว่าที่เราคาด (1,500 ไร่เทียบกับ 1,050 ไร่ประมาณการของเรา)
ไตรมาส 4/66 กำไรลดลง แต่มี Backlog คงเหลือจำนวนมาก คาดกำไรธุรกิจหลัก 422 ลบ.ในไตรมาส 4/66 ลดลง 49% yoy และลดลง 17% qoq จากยอดโอนลดลงเป็น 162 ไร่ในไตรมาส 4/66 เทียบกับ 231 ไร่ในไตรมาส 4/65 และ 272 ไร่ในไตรมาส 3/66 เราคาดอัตรากำไรขั้นต้นของที่ดิน 50.7% ลดลงจาก 68.7% ในไตรมาส 4/65 แต่เพิ่มขึ้นจาก 37.3% ใน ไตรมาส 3/66 เนื่องจาก product mix ดีกว่า
นอกจากนี้ เรายังคาดรายได้สาธารณูปโภคจะเติบโต 52% yoy และ 20% qoq เป็น 1.2 พันลบ. เนื่องจากลูกค้าในเวียดนามเพิ่มมากขึ้น เราคาดกำไร 80 ลบ.จากการขาย RBF สองแห่งในเวียดนาม หากรวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 269 ลบ. กำไรสุทธิจะเป็น 690 ลบ.หรือ -12% yoy แต่ +74% qoq บริษัทมี Backlog มากถึง 1.4 หมื่นลบ.สิ้นปี 2023 (1.22 หมื่นลบ.ในไทยที่จะโอนในปีนี้และปีหน้า และ 1.8 พันลบ.ในเวียดนามที่จะโอนในปี 69) เราคาด DPU งวดสุดท้าย 0.30 บาท ผลตอบแทน 1.4%
ทั้งนี้ บริษัทจะประกาศผลการดำเนินงานวันที่ 28 ก.พ.