สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจัดงานมอบรางวัลตราสารหนี้ยอดเยี่ยมแห่งปี 2566 (ThaiBMA Best Bond Awards 2023) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 วัตถุประสงค์เพื่อยกย่ององค์กรและบุคลากรที่มีความโดดเด่นในธุรกรรมตราสารหนี้ และส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน การตัดสินรางวัล Best Bond Awards มาจากผลการลงคะแนนของคณะกรรมการตัดสิน สถิติ และการลงคะแนนจากผู้มีส่วนร่วมในตลาดตราสารหนี้ โดยผู้ได้รับรางวัลในปี 2566 ได้แก่
1. Best Bond House รางวัลยอดเยี่ยมสำหรับสถาบันการเงินที่มีความเป็นเลิศในการทำธุรกรรมตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรองและบทบาทที่โดดเด่นในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) โดยนายธนธิป ตั้งเจตนาพร ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจงานค้า
2 Best Bond Securities Firm รางวัลยอดเยี่ยมสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความเป็นเลิศในการทำธุรกรรมตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรองตลอดจนมีบทบาทที่โดดเด่นในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) (KGI) โดย นายอภิชาต ตั้งเกียรติศิลป์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจตราสารหนี้
3. Best Bond Dealer รางวัลดีเด่นที่มอบให้แก่สถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้ (Dealer) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในความสามารถในการให้บริการกับคู่ค้าในตลาดรองที่ยอดเยี่ยม สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) โดยนางสาวศรินทร สุรี Treasury Sales Head Thailand
4. Deal of the Year รางวัลที่มอบให้แก่ธุรกรรมการออกตราสารหนี้ที่มีความโดดเด่นที่สุดในทุกๆ ด้าน และเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนในวงกว้างในปี 2566 ธุรกรรมที่ได้รับรางวัลคือ หุ้นกู้ของ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ ครั้งที่ 1/2566 ชุดที่ 1-6 โดย และผู้จัดกาการจัดจำหน่าย ได้แก่ บมจ.เอสซีบี เอกซ์จำ โดยนายพิชญะ วัชรสุรกุล Capital Markets Principal และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยนายพฤฒิพงศ์ ธรรมสอน Department Head, Debt Capital Markets Department
5. Most Innovative Deal รางวัลที่มอบให้แก่ธุรกรรมการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความโดดเด่นในการระดมทุนอย่างสร้างสรรค์ สามารถใช้เป็นต้นแบบให้ผู้ออกรายอื่นได้ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทและผู้ลงทุนได้อย่างเหมาะสม หุ้นกู้ที่ได้รับรางวัลคือ หุ้นกู้ของ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ ครั้งที่ 1/2566 ชุดที่ 1 และผู้จัดการการจัดจำหน่าย ได้แก่ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ โดยนายพิชญะ วัชรสุรกุล Capital Markets Principal และ SCB โดยนายพฤฒิพงศ์ ธรรมสอน Department Head, Debt Capital Markets Department
6. Issuer of the Year รางวัลที่มอบให้แก่ผู้ออกหุ้นกู้ที่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยการออกตราสารหนี้อย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและยาวนาน องค์กรที่ได้รับรางวัลคือ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด โดย นางชื่นกมล ทัพพะรังสี กรรมการผู้จัดการใหญ่
7. Corporate ESG Bond of the Year รางวัลที่มอบให้แก่ตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่ออกภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืน (Green, Social, Sustainable Financing Framework) ซึ่งเป็นที่ยอมรับและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ลงทุน หุ้นกู้ที่ได้รับรางวัลคือ หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนของ บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) ครั้งที่ 2/2566 ชุดที่ 1-2และผู้จัดการการจัดจำหน่าย ได้แก่ WHA โดยนายณัฐพรรษ ตันบุญเอก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ธนาคาร ยูโอบี (UOB) โดยนายพิศาล ขัตติโยทัยวงศ์, Head of Investment Banking
8. Leading Underwriter for Corporate ESG Bond (รางวัลใหม่) รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ที่เป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวที่ออกภายใต้มาตรฐานและกรอบหลักเกณฑ์ในการระดมทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม / สังคม/ ความยั่งยืน (Green, Social, Sustainable Financing Framework) ในปี 2566
สถาบันที่ได้รับรางวัล ได้แก่ 1. ธนาคารกรุงเทพ (BBL) โดย นายมนตรี อุปถัมภากุล Senior Vice President ฝ่ายทุนธนกิจ สายวานิชธนกิจ และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) โดยนางแจ่มจันทร์ ศิริกาญจนาวงศ์ - ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ตราสารหนี้ และฝ่าย ESG Finance
9. Leading Investor for Corporate ESG Bond (รางวัลใหม่) รางวัลที่มอบให้กับผู้ลงทุนที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อสิ่งแวดล้อม / สังคม / ความยั่งยืน (ESG Bonds) อย่างโดดเด่นในปี 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัล ได้แก่ บมจ.ไทยประกันชีวิต (TLI) โดยนางวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
10. State Owned Enterprise ESG Bond of the Year รางวัลที่มอบให้แก่ตราสารหนี้ภาครัฐ ที่ออกภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืน (Green, Social, Sustainable Financing Framework) ซึ่งเป็นที่ยอมรับและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ลงทุน พันธบัตรที่ได้รับรางวัลคือ พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2566 และผู้จัดการการจัดจำหน่าย 2 สถาบัน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โดย นางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ รองกรรมการผู้จัดการ , BAY โดย นายชาคริต หาญศิริสวัสดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ตราสารหนี้ และ ธนาคารออมสิน โดยนายปภากร รัตนเศรษฐ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลงทุนและบริหารการเงิน
11. Top Underwriter รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ ที่มีมูลค่ารวมของการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุดในปี 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ KBANK โดยนายรณฤทธิ์ วิระชะนัง ผู้บริหารงานตลาดทุนธนกิจ
12. Top Underwriter - Securities Firm รางวัลที่มอบให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมของการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุดในปี 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ บล.เกียรตินาคินภัทร โดยนายอนุวัฒน์ ร่วมสุข กรรมการผู้จัดการ ประธานสายวานิชธนกิจและตลาดทุน
13. Most Active Securities Firm in Corporate Bond Secondary Market รางวัลที่มอบให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องของหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดรอง โดยมีมูลค่ารวมของการซื้อขายหุ้นกู้ภาคเอกชนมากที่สุดในปี 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัล คือ KGI โดยนายอภิชาต ตั้งเกียรติศิลป์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจตราสารหนี้
14. Most Active Bank in Corporate Bond Secondary Market รางวัลที่มอบให้แก่ธนาคารที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องของหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดรอง โดยมีมูลค่ารวมของการซื้อขายหุ้นกู้ภาคเอกชนมากที่สุดในปี 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ CIMBT โดยนายชัยวัฒน์ วิทยถาวรวงศ์ Head, Central Dealing Team
15. Sales Staff of the Year รางวัลยอดเยี่ยมสำหรับเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้ซึ่งเป็นที่ยอมรับในความสามารถด้านการบริการลูกค้า และความมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน ผู้ได้รับรางวัลคือ นายฉัตร ตระกูลงาม ผู้อำนวยการ Sales, Fixed Income, Currencies and Commodities ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
16. Most Prominent Fund House in Bond Market รางวัลที่มอบให้แก่บริษัทจัดการกองทุนที่โดดเด่นในการบริหารกองทุนรวมตราสารหนี้โดยมีมูลค่ารวมของตราสารหนี้ภายใต้การบริหารสูงสุดในปี 2565 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ บลจ.กสิกรไทย โดยนายฐานันดร โชลิตกุล, รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน
รางวัลของกระทรวงการคลัง Ministry of Finance Awards (MOF Awards) 4 รางวัล ได้แก่
1. Best Primary Market Contributor รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้ที่มีสัดส่วนการได้รับจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลสูงสุดในตลาดแรก ผ่านการเข้าร่วมการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ BBL โดยนายจาตุรันต์ ปั้นสุวรรณ VP Senior Dealer
2. Best Secondary Market Contributor รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้ที่มีสัดส่วนการได้รับจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลสูงสุดในตลาดรอง โดยคิดจากมูลค่าการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ CIMBT โดยนางชุตินารถ บุญสนองกิจ Rates, FX Trading and Commodity Thailand
3. MOF's Sustainability Bond Contributor รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับจัดสรรพันธบัตรรัฐบาลสูงสุด จากการประมูล Sustainability Bond ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ BBL โดยนายนรวีร์ ยนตรรักษ์ AVP Senior Dealer
4. SOE Bond Contributor รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับจัดสรรพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาในตลาดแรกทุกรุ่น สูงสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ ธนาคารออมสิน โดย นายปภากร รัตนเศรษฐ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลงทุนและบริหารการเงิน
รางวัลของธนาคารแห่งประเทศไทย Bank of Thailand Awards (BOT Awards) 2 รางวัล ได้แก่
1. Best Repo Primary Dealer รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินคู่ค้า Bilateral Repo ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินผ่านธุรกรรม Bilateral Repo กับ ธปท. และส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารสภาพคล่องในตลาดเงินไทย สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ KBANK โดยนางศันสนา สุขะนันท์ ผู้บริหารสายงานการเงินและควบคุม
2. Best Outright Primary Dealer รางวัลที่มอบให้แก่สถาบันการเงินคู่ค้า e-Outright ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินผ่านธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรกับ ธปท. และส่งเสริมสภาพคล่องของตลาดพันธบัตรไทย สถาบันที่ได้รับรางวัลคือ BBL โดยนายจาตุรันต์ ปั้นสุวรรณ VP Senior Dealer