นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล, CISA ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดดัชนีรีบาวด์ในกรอบจำกัด ได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ที่ปรับตัวลดลงกระตุ้นราคาสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากการเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐชะลอตัวตามที่ตลาดคาด และต่ำกว่าที่คาดเล็กน้อยหากเทียบกับเดือนก่อน ทำให้ตลาดคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้
ขณะที่ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นมาน่าจะเป็นผลดีกับหุ้นกลุ่มพลังงาน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ น่าจะช่วยทำให้กระแสเงินทุนต่างประเทศกลับมาเป็นบวกได้
สำหรับคำแนะนำการลงทุน เลือกหุ้นที่มีโอกาสปรับประมาณการผลประกอบการขึ้นหลังจากงบไตรมาส 1/67 ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด โดยเลือก ERW และ AOT
พร้อมทั้งให้กรอบแนวรับ 1,360-1,365 จุดและแนวต้าน 1,380-1,385 จุด
*ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (15 พ.ค.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,908.00 จุด เพิ่มขึ้น 349.89 จุด หรือ +0.88%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,308.15 จุด เพิ่มขึ้น 61.47 จุด หรือ +1.17% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,742.39 จุด เพิ่มขึ้น 231.21 จุด หรือ +1.40%
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดที่ระดับ 38,645.96 จุด เพิ่มขึ้น 260.23 จุด หรือ +0.68%, ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดที่ระดับ 3,127.18 จุด เพิ่มขึ้น 7.28 จุด หรือ +0.23% และดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดที่ระดับ 19,262.79 จุด เพิ่มขึ้น 189.08 จุด หรือ +0.99%
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (15 พ.ค.67) 1,370.44 จุด ลดลง 6.13 จุด (-0.45%) มูลค่าซื้อขาย 49,705.59 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,673.47 ล้านบาท (15 พ.ค.)
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.(15 พ.ค.) เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.78% ปิดที่ 78.63 ดอลลาร์/บาร์เรล
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (15 พ.ค.) อยู่ที่ 2.53 เหรียญ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 36.23 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อน หลังตัวเลขศก.สหรัฐต่ำคาด หนุนเฟดลดดบ.
- เมื่อ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีการประชุม ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) ผู้ประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์ และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ "ผลกระทบต่อผู้ประกอบจากสถานการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นไทย" ตั้งแต่ต้นปี 2567 ดัชนี SET INDEX ปรับตัวลงถึง 3.64% มูลค่าหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่า 7.9 แสนล้าน
- "เผ่าภูมิ" ชี้ครึ่งปีหลังรัฐเตรียมอัดฉีดงบ 3 ก้อนยักษ์เข้าระบบ หวังช่วยดันจีดีพีปี 67 โตทะลุ 2.4% จ่อชง ครม.เคาะสินเชื่อเมืองรอง ลุยมอบนโยบาย สศค. แนะให้คิดนอกกรอบ ปัดขยับอัตราภาษี ชี้เศรษฐกิจประเทศยังไม่เหมาะสม
- "เศรษฐา" ชู 6 จุดแข็งดันไทยฐานลงทุนโลก ชี้แลนด์บริดจ์เสริมศักยภาพประเทศเป็นกลาง แม้ลงทุน 3 แสนล้านดอลลาร์ แต่คุ้มค่าในระยะยาว "บีโอไอ" งัดกลยุทธ์จับคู่ธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไทย-กับอีวีจีน เผยตัวเลขจับคู่ธุรกิจ 3 รายเฉียด 4 หมื่นล้าน
*หุ้นเด่นวันนี้
- TIDLOR (ฟินันเซียฯ) แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 27 บาท แนวโน้มกำไรปี 67 ยังเห็นการเดิบโตแข็งแกร่ง Y-Y หนุนจากสินเชื่อ ขณะที่แนวโน้มการตั้งสำรองผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในช่วงไตรมาส 4/66 ยังคงคาดการณ์กำไรปกติปี 67-69 โต 19.5% CAGR และสินเชื่อโต 15% ต่อปี ปัจจุบันเทรด PER ไม่แพงเพียง 13 เท่า เรามองการปรับโครงสร้าง TIDLOR เป็น Holding Company จะเป็นบวกต่อการเติบโตระยะยาว รวมถึงจะไม่มีผลกระทบจาก Dilution Effect ของหุ้นปันผล นอกจากนี้ยังมี Catalyst โดยมีโอกาสลุ้นเข้า SET50 ในรอบ 2H67
- CHG (คิงส์ฟอร์ด) แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 3.40 บาท รายได้ Q1/67 อยู่ที่ 2,021 ล้านบาท (+18%YOY, 5%Q0Q) หดตัว Q๐Q ตามฤดูกาล และเพิ่ม YOY จาก Capacity สูงขึ้น/ค่าประกันสังคมเหมาหัวที่ + 10%/การรักษาโรคซับซ้อน ด้านกำไรสุทธิทิศทางเดียวกับรายได้อยู่ที่ 264 ล้านบาท ( +10%YOY, 4%Q0Q) ต้นทุนสามารถคุมได้ดี GPM ขยับขึ้นมาที่ 25.87%%(YoY +23bps, QoQ +29bps) ดังนั้น แม้ SG&A to Rev. จะสูงขึ้น(หลักๆ จาก loss on derivative -21 ล้านบาท/เงินกู้ RPC เป็น yen, แม่สอดเป็น usd) แต่ภาพรวม NPM สูงขึ้น Q0Q มาที่ 13.06% จาก Q4/66 ที่ 12.90% ส่วน Q2/67 เบื้องต้นคาดกำไรอ่อนตัวตามฤดูกาล แต่ YOY ยังดีต่อเนื่อง คาดกำไรปี 67 และ 68 ที่ 1,170 ล้านบาท ( +12%YOY ) และ 1,295 ล้านบาท ( +11%YOY )
- DELTA (กสิกรไทย) แนะนำ "ซื้อ" ราคาพื้นฐาน 79 บาท กำไรปกติไตรมาส 1/67 ที่ 3.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YOY แต่ลดลง 21% Q0Q จากการประชุมนักวิเคราะห์ บริษัทคงเป้ารายได้โต 10-20% YOY เชื่อกำไรน่าจะต่ำสุดในไตรมาส 1/67 และคาดว่าจะฟื้นตัวในไตรมาส 2/67 จากยอดขายเพิ่มขึ้นและ GPM ที่ดีขึ้น แต่ก็มองเห็นแนวโน้มการเดิบโตที่ลดลงในธุรกิจ mobility (ชิ้นส่วน EV) จากการเติบโตของยอดขาย EV ที่ชะลอตัวทั่วโลกและการแข่งข้นด้านราคา