สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (27 - 31 พฤษภาคม 2567) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 313,469 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 62,694 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 2% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 49% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 152,459 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 102,245 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 12,349 ล้านบาท หรือคิดเป็น 33% และ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB246A (อายุ .0 ปี) LB27NA (อายุ 3.5 ปี) และ LB293A (อายุ 4.8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 17,844 ล้านบาท 11,557 ล้านบาท และ 11,153 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รุ่น SAWAD256A (BBB+) มูลค่าการซื้อขาย 1,224 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) รุ่น GULF252A (A) มูลค่าการซื้อขาย 1,166 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รุ่น PTTC257A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 672 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆประมาณ 1-2 bps. ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. โดยรวมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามภาคบริการที่ขยายตัว สอดคล้องกับรายรับภาคการท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธปท. จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 จากเดิมที่เคยคาดการณ์เอาไว้ว่าจะเป็นช่วงครึ่งหลัง ของปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลไทยวางแผนใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กับธปท. ด้านปัจจัยต่างประเทศ นายนีล แคชแครี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนีแอโพลิส ให้สัมภาษณ์ว่า เฟดควรรอจนกระทั่งเห็นความคืบหน้าด้านเงินเฟ้อ อย่างชัดเจนแล้วจึงค่อยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่รายงานตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 ขยายตัว 1.3% ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.6% แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.2% ด้านนายเซจิ อาดาชิ หนึ่งในกรรมการบริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากการอ่อนค่าอย่างหนักของเงินเยนผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ( 27- 31 พฤษภาคม 2567) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 1,494 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิ ในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 3,329 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,835 ล้านบาท และไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (27 - 31 พ.ค. 67) (20 - 24 พ.ค. 67) (%) (1 ม.ค. - 31 พ.ค. 67) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 313,469.01 307,048.74 2.09% 7,393,505.07 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 62,693.80 76,762.18 -18.33% 73,203.02 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 103.11 103 0.11% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (MTM Corp Bond Gross Price Index) 106.08 106.05 0.03% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (31 พ.ค. 67) 2.28 2.32 2.32 2.4 2.52 2.82 3.08 3.53 สัปดาห์ก่อนหน้า (24 พ.ค. 67) 2.28 2.31 2.32 2.42 2.53 2.82 3.09 3.51 เปลี่ยนแปลง (basis point) 0 1 0 -2 -1 0 -1 2