ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีรถไฟฟ้าสีส้มยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง เปิดทางโครงการเดินหน้า

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday June 12, 2024 14:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในคดีที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม

คดีนี้ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ใช้ดุลพินิจกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอเหมาะสมและความจำเป็นแห่งกรณีเพื่อประโยชน์ของรัฐ ไม่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์เป็นการเฉพาะเจาะจงที่จะทำให้เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกีดกันไม่ให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมการคัดเลือก

ขณะที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าคำอุทธรณ์ของ BTSC ฟังไม่ขึ้น การที่ BTSC อ้างว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.ไม่เคยนำคุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานในการบริหารจัดการก่อสร้างงานโยธา แผนดำเนินธุรกิจ และแผนการเงิน ให้ ครม.เห็นชอบนั้นเป็นข้ออุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากประเด็นเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบแต่อย่างใด

ส่วนการกำหนดผลงานในโครงการนี้ ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการคัดเลือก ฯ และรฟม.ได้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ และหลักเกณฑ์การประเมินของเอกชนโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง จึงรับฟังได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวอาศัยข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว และการวินิจฉัยของคณะกรรมการคัดเลือก ฯ รฟม. ไม้ได้มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายตามที่ BTSC กล่าวอ้าง ดังนั้นการดำเนินการของการดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือก ฯ และ รฟม.จึงไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค

อีกทั้งรับฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการคัดเลือก ฯ และ รฟม.ได้กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอและหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอของเอกชนโดยอำเภอใจ

จากเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นว่าประกาศเชิญชวนการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค.65 และเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนฉบับเดือน พ.ค 65 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

สัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์? มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งโครงการนี้มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตรจำนวน 28 สถานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก มีระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานีต้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนถึงสถานีสุวินทวงศ์ โดยเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานีตั้งแต่สถานีบางขุนนนท์จนถึงสถานี

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมีมูลค่าโครงการ 139,127 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ งานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก ซึ่ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เสนอเงื่อนไขดีที่สุด โดยขอการสนับสนุนจากภาครัฐ 91,500 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (PV) ที่ 81,871 ล้านบาท จากราคากลาง 91,983 ล้านบาท คิดเป็น PV ที่ 84,756 ล้านบาท ส่วนงานเดินรถ BEM เสนอจ่ายเงินตอบแทนให้รัฐ 10,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น PV ที่ 3,583 ล้านบาท ขณะที่ราคากลางกำหนด 687 ล้านบาท คิดเป็น PV ที่ 501 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ