4 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก กับเหตุการณ์ที่ MicroStrategy ตัดสินใจซื้อ "บิทคอยน์" ในนามของบริษัทมหาชน ถือครองเป็น Asset ครั้งแรก ณ ตอนนั้นคงไม่มีใครบอกได้ว่าการตัดสินใจของ Michael Saylor เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แต่ปัจจุบันนี้ที่ผลตอบแทนของหุ้น MicroStrategy ได้ทำกำไร แซงหน้าหุ้นและกองทุนเกรด A ของ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffet นักลงทุนในตำนานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย
จากนี้ไปคงได้แต่จับตาดูว่าราคาบิทคอยน์จะขยับไปถึงเท่าไหร่กัน!?
*ครบรอบ 4 ปี Microstrategy เริ่มซื้อบิทคอยน์ ผลตอบแทนแซงหุ้นกองทุน Berkshire ของปู่ Warren Buffet แล้ว !!
นับเป็นเวลา 4 ปี แล้วที่พ่อใหญ่ Michael Saylor แห่ง MicroStrategy ได้ตัดสินใจซื้อบิทคอยน์ในนามบริษัทเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2020 และก็กลายเป็นบริษัทมหาชนแห่งแรกที่มีการถือบิทคอยน์เป็น Asset ซึ่งตอนนี้ถือครองอยู่ 226,500 บิทคอยน์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 13,771 ล้านดอลลาร์ และทยอยซื้อสะสมมาเรื่อย ๆ โดยมีราคาต้นทุนเฉลี่ยบิทคอยน์ละ 37,000 ดอลลาร์
หากเราตีราคาบิทคอยน์สัก 60,000 ดอลลาร์ บวก/ลบ ตอนนี้ MicroStrategy ก็จะมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการขายประมาณ 5,200 ล้านดอลลาร์
และจำกันได้ไหม เวลาที่เราพูดถึงหุ้นหรือกองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง ๆ หลายคนยกให้หุ้นกองทุนของ Berkshire Hathaway หุ้นเกรด A ของคุณปู่ Warren Buffett ไม่ว่าจะเป็นทั้งหุ้น Apple, American Express หรือแม้แต่ Bank of America และตอนนี้ ทั้งราคาบิทคอยน์และหุ้นของ MicroStrategy ก็มีผลตอบแทนแซงหุ้นดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับราคาบิทคอยน์แล้วว่าจะพุ่งทะยานขนาดไหน??
*Bitcoin ETF เงินไหลเข้าไม่หยุด ล่าสุด BlackRock ขึ้นแท่นถือมากสุดอันดับ 3 ของโลก
ท่ามกลางราคาบิทคอยน์ที่ผันผวนเป็นปกติ แต่แรงซื้อ Bitcoin Spot ETF ไม่มีแผ่วเลย แถมในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีเม็ดเงินกว่า 193,000 ล้านดอลลาร์ ไหลเข้าอีกด้วย
และเมื่อดูอันดับของผู้ที่ถือครองมากที่สุด จะเห็นอันดับที่น่าสนใจ อย่างกองทุน BlackRock ที่มีแรงซื้อบิทคอยน์อย่างต่อเนื่อง จนขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 อย่างรวดเร็ว
ทาง Eric Balchunas นักวิเคราะห์ ETF ของ Bloomberg ได้ให้ความเห็นว่า กองทุน BlackRock มีโอกาสที่จะถือบิทคอยน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นเป็นอันดับ 1 แซงหน้า Satoshi Nakamoto ก็เป็นได้
*ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ Utility Token ใครคิดจะออกโทเคน ไปดู!!
Utility Token โทเคนดิจิทัลที่ใช้เพื่อการแสดงสิทธิ์ ในการทำอะไรบางอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ นั้นคือ แบบพร้อมใช้ และแบบไม่พร้อมใช้
แบบพร้อมใช้คือ ออกโทเคนแล้วพร้อมใช้งานได้เลย มีแพลตฟอร์มหรือ Ecosystem รองรับ แบบไม่พร้อมใช้ก็มีความหมายตามตัว ยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที หรือยังไม่มี Ecosystem ที่พร้อมให้ใช้งาน ซึ่งอาจอยู่ระหว่างการพัฒนา
Utility Token ทั้งแบบพร้อมใช้ และไม่พร้อมใช้ ก็จะแบ่งอีกเป็นกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2
โดย Utility Token พร้อมใช้กลุ่มที่ 1 เหมือนเกณฑ์เดิมที่ ก.ล.ต. เคยประกาศก่อนหน้า แต่มีเพิ่มเติมคือกลุ่มที่ 2 ที่ถูกจัดกลุ่มเหรียญจำพวก DeFi, Native Token, เหรียญของ Exchange ต่าง ๆ รวมไปถึงพวก Governance Token ด้วย
และการออกเสนอขายสำหรับตลาดแรก ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตตามเกณฑ์เดิม แต่กลุ่มที่ 2 (ที่มีเพิ่มเติมขึ้นมา) หากจะลิสต์บนกระดาน ต้องขออนุญาตขายโดยยื่นไฟลิ่งผ่าน ICO Portal แต่ถ้าจะไม่ลิสต์เหรียญก็ไม่ต้องขออนุญาต ใช้หลักเกณฑ์เหมือนกลุ่มที่ 1
สำหรับตลาดรอง Utility Token กลุ่มที่ 1 คือ "ห้ามลิสต์" เพราะว่าวัตถุประสงค์ของมันมีไว้เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค จะมาลิสต์บนกระดานซื้อขายไม่ได้ และ Utility Token กลุ่มที่ 2 ถ้าจะลิสต์ ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (License) เท่านั้น และการลิสต์ก็ต้องเป็นไปตาม Listing Rule ด้วย
ทั้งนี้ Utility Token แบบพร้อมใช้กลุ่มที่ 2 ต้องไม่มีลักษณะเป็น Mean of Payment แล้วผู้ออกโทเคนห้ามรับ staking เอง
ในส่วนของ Utility Token แบบไม่พร้อมใช้ เกณฑ์หลัก ๆ จะคล้ายคลึงกับแบบพร้อม เพราะว่าตัว Token คือยังไม่พร้อมใช้ ถ้าพร้อมใช้เมื่อไหร่ ก็ต้องไปปฏิบัติตามเกณฑ์ของ Utility แบบพร้อมใช้เช่นกัน
https://youtu.be/BaiMupv0Rzk