นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดแผนกลยุทธ์ใหม่ภายใต้วิสัยทัศน์ "ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน" หรือ "TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD" โดยเร่งสร้างความแข็งแรงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็น Core Busness ของ ปตท. ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และลดสินทรัพย์ทึ่ไม่สร้างผลกำไร
ทั้งนี้ ธุรกิจ Hydrocarbon & Power Business แบ่งเป็น กลุ่มธุรกิจ Upstream ได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับ Partner มีต้นทุนแข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนของ PTT ในธุรกิจก๊าซ (GAS) เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และทำงานร่วมกันกับภาครัฐ ขณะที่ LNG แสวงหาโอกาสในการเติบโตใหม่ๆ กำหนดบทบาทชัดเจน เพื่อสร้าง Synergy สูงสุด
ด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้า บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) กระแสไฟฟ้ามี Mandate ให้เสริมสร้าง Reliability และ Decarbonize ให้กับกลุ่ม ปตท., ทำ Energy Mix ที่เหมาะสม, หาโอกาสเติบโตในต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจ Downsteam จะต้องปรับตัวและสร้างความแข็งแรงร่วมกับ Panner โดย PTT เตรียมลดสัดส่วนการลงทุน ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ทั้ง บมจ.ไทยออยล์ (TOP), บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) และ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) อย่างไรก็ตาม PTT ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่
"ปตท. มีแผนลดสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีลง เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเท่าเดิม แต่ต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทลูก โดยพันธมิตรดังกล่าว จะต้องเป็นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่ง และมีความเชียวชาญ ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว และจะใช้ฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกา"นายคงกระพัน กล่าว
ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกจะต้องมุ่งหน้า ใน Mobilty Partner ของคนไทย ปรับพอร์ทการลงทุนให้มี Substance และ Asset Light รวมถึงการรักษาการเป็นผู้นำตลาด ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยจะประเมินธุรกิจนี้ ใน 2 มุมคือ 1. ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ (Attractive) และ 2. ปตท. มี Right to Play หรือมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้นๆ ได้ และมี Partner ที่แข็งแรง
แนวทางการลงทุนในธุรกิจ Non-Hydrocarbon จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (สถานีชาร์จ EV) เนื่องจากมีจุดแข็งจากบมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ที่มีสถานีบริการน้ำมันอยู่ทั่วประเทศ
ธุรกิจ Logistics ปตท. จะเน้นเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Core Business ของ ปตท. และมี Captive Demand อยู่แล้ว โดยยึดหลัก Asset-light และมี Parner ที่แข็งแรง และ ธุรกิจ Lie Science ปตท. จะต้องสามารถพึ่งตัวเองได้ทางการเงิน (SeIf-funding) และสร้าง Goodwill ให้กับสังคม
ส่วนงบลงทุน 5 ปี ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ในช่วงของการทำแผน Business คาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงปลายปีนี้