"ปลูกผักเพราะรักแม่" เคาะขาย IPO หุ้นละ 6.70 บาท P/E 24.13 เท่า เปิดจอง 23-25 ก.ย.

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday September 18, 2024 10:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ (OKJ) เคาะราคาเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 159,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 6.70 บาท ระยะเวลาจองซื้อ 23-25 กันยายน 2567 โดยมี บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

OKJ ประเภทธุรกิจให้บริการและจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้คอนเซ็ปท์ "Be Organic from Farm to Table" รวมถึงบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ โดยเน้นการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) และนำเสนออาหารและเครื่องดื่มจากวัตถุดิบหลักที่เป็นอินทรีย์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าของบริษัทฯ มีสุขภาพที่แข็งแรง

การเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในครังนีทีราคา 6.70 บาทต่อหุ้น หากพิจารณากำไรสุทธิของบริษัทฯ ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง เท่ากับ 169.08 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทฯ หลังจากการเสนอขายหุ้นในครังนี (Fully Diluted) ซึ่งเท่ากับ 609 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.28 บาทต่อหุ้น จะคิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio: P/E) ประมาณ 24.13 เท่า

ผู้ถือหุ้นของบริษัท 3 ราย ได้แก่ 1) นายชลากร เอกชัยพัฒนกุล 2) นายจิรายุทธ ภูวพูนผล และ 3) นายวรเดช สุชัยบุญศิริ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) ในเครือ บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้น โดย Modulus จะซื้อหุ้นเดิมจากผู้ร่วมก่อตั้ง 31,800,000 หุ้น คิดเป็น 5.2% ในราคาเดียวกับหุ้น IPO ในวันแรกที่หุ้น OKJ เข้าเทรด ด้วยการทำรายการบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) วัตถุประสงค์เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นของ Modulus ไว้ที่ 20%

บริษัทฯ ประมาณการว่าจะได้รับเงินจากการเสนอขายหุ้น IPO ประมาณ 1,023.9 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์การใช้

1. ขยายธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งการขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋ ร้าน Ohkajhu Wrap & Roll และ ร้าน Oh! Juice และ/หรือการขยายสาขาสำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ใหม่ๆ การปรับปรุงสาขา และขยายช่องทางการจำหน่ายของบริษัทฯ ราว 753-759 ล้านบาท

2. ลงทุนในการก่อสร้างครัวกลางแห่งใหม่ และการพัฒนาเครื่องจักร อุปกรณ์ รวมถึงห้องล้างผัก และเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ระบบการบริหารจัดการวัตถุดิบสินค้าคงเหลือ ระบบการขนส่ง และสำนักงาน เป็นต้น ราว 190-230 ล้านบาท

3. ลงทุนและพัฒนาเครืองจักร อุปกรณ์ และระบบสาธารณูปโภคเพื่อเพิมประสิทธิภาพในการเพาะปลูก รวมถึงการสร้างสถานที่ ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิต (In-house lab) เป็นต้น 30-35 ล้านบาท

4. ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ไม่เกิน 50 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ