บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มการดำเนินงานหลักของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2567 ดังนี้ i.) สินเชื่อของทุกธนาคารชะลอตัวลง 2.) มีการปรับลดสถานการณ์ลงทุนในตราสารหนี้ และ เงินฝากไหลออกเร็วขึ้น
เงินฝากไหลออกเร็วกว่าสินเชื่อที่ลดลง โดยสินเชื่อของทุกธนาคารชะลอตัวลง ซึ่งเป็นการชะลอตัวในสินเชื่อหลายกลุ่ม สินเชื่อของธนาคารหลายแห่งชะลอตัวลง -1% MoM, -2% YTD และ YoY โดยเฉพาะ BBL สินเชื่อลดลงถึง -1.5% MoM และ -3% YTD เพราะสินเชื่อระยะยาวลดลงจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ แล สินเชื่อระหว่างประเทศขยายตัวในอัตราชะลอลง แนวโน้มดังกล่าวเป็นเช่นเดียวกับของ KTB, SCB และ KBANK ในขณะเดียวกัน สินเชื่อที่ลดลงของ TTB TISCO KKP สะท้อนถึงสินเชื่อ H/P ที่ลดลงตามยอดขายรถในประเทศที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายเดือนแล้ว
เน้นปล่อยกู้ยีลด์ต่ำในตลาดเงินเพิ่มขึ้น นำโดย KTB และ BBL ในขณะที่สินเชื่อของธนาคารส่วนใหญ่ชะลอตัวลงในเดือนสิงหาคม ธนาคารหลายแห่งปล่อยกู้ยีลด์ต่ำในตลาดเงินเพิ่มขึ้น นำโดย KTB ที่ปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง +9% MoM รองลงมาคือ BBL ที่ +7% MoM และ TTB ที่ + 5% MoM ทั้งนี้ เราพบว่าการปล่อยกู้ yield ต่ำในตลาดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 4 เดือนแล้ว ซึ่งการปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักน่าจะสะท้อนถึงอุปสงค์สินเชื่อจากรัฐวิสาหกิจ และบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องดีลกับโครงการภาครัฐ และ นโยบายการปล่อยกู้อย่างระมัดระวังในกลุ่มสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง
เงินฝากไหลออกจากทุกธนาคารในเดือนสิงหาคม โดยลดลง 1.5% MoM และ 1.1% YTD ซึ่งเมื่อแยกเป็นรายธนาคาร พบว่า BAY ลดลงมากที่สุด MoM โดยลดลง 2%, ส่วน KBANK และ KTB ลดลง 1.8% เท่ากัน ส่วน TTB ลดลง 1.4% และ BBL ลดลง 1% ทั้งนี้ เงินฝากที่ลดลงมาจากหลายสาเหตุ รวมถึงการโยกเงินฝากไปหาผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทอื่นหลังจากที่ธนาคารไม่ต่อแคมเปญเงินฝากดอกเบี้ยสูง ในขณะเดียวกัน BBL KTB และ TTB บอกว่าเงินฝากที่ไหลออกมาจากบัญชี CASA ทั้งนี้ ฐานเงินฝากที่ลดลงทำให้ธนาคารต้องปรับลดสถานะการลงทุนในตราสารหนี้ตามไปด้วย
เราชอบ KTB และ BBL รวมถึง TTB ด้วย เรายังติดตามสัญญาณการไหลออกเงินฝากในเดือนสิงหาคมอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นภาพที่เกิดขึ้นกับทุกธนาคาร ซึ่งในภาวะที่ตลาดทุนกำลังฟื้นตัวขึ้น และกองทุนวายุภักษ์ระดมทุนเพิ่มอาจทำให้เงินฝากไหลออกเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในช่วงเดือนต่อ ๆ ไป
ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นธนาคารที่ดำเนินการให้รัฐบาล KTB จึงจะยังคงได้อานิสงส์จากภาวะที่เกิดขึ้นนี้ ขณะที่ธีมของ BBL เป็นเรื่องของการลด credit cost ส่วน LOS ที่ลดลงและ NIM ที่ดีขึ้นจะช่วยหนุนแนวโน้มของ TTB