บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์หุ้น บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย [SCC] คาดขาดทุนสุทธิใน Q4/67 ที่ -770 ล้านบาท (จากขาดทุนสุทธิใน Q4/66 ที่ -1.13 พันล้านบาท และกำไรสุทธิใน Q3/67 ที่ 721 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลจาก 1) ค่าเสื่อมราคาสูงขึ้น 1 พันล้านบาท หลังจากการเริ่มดำเนินโครงการ LSP ในเดือน ต.ค. 2) ไม่มีกำไรพิเศษ ซึ่งใน Q3/67 มีกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน 2.1 พันล้านบาท) 3) ความต้องการใช้ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง (CBM) อ่อนแอลง 4) มาร์จิ้นปิโตรเคมีลดลง และ 5) ผลประกอบการธุรกิจบรรจุภัณฑ์ชะลอตัวลง คาดว่า EBITDA รวมไว้ที่ 6.71 พันล้านบาท (+10% y/y, -6% q/q)
ความต้องการปูนซีเมนต์เทาในประเทศช่วง Q4/67 ทรงตัว q/q แต่เพิ่มขึ้นราว +4% y/y ทั้งนี้ แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกลุ่มครัวเรือนและธุรกิจจะชะลอตัวจากน้ำท่วม (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 60% ของความต้องการปูนซีเมนต์เทาในประเทศ) แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์โครงการภาครัฐสูงขึ้น ราคาปูนซีเมนต์ในประเทศเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 2,100-2,150 บาทต่อตัน (ทรงตัว y/y, q/q) อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าก่อสร้างและตกแต่งบ้านยังคงชะลอตัวในไตรมาสนี้
สเปรดของปิโตรเคมีลดลง y/y และ q/q ในแทบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น PP สาเหตุหลักมาจาก 1) เป็นช่วง Low season ของธุรกิจ 2) อุปสงค์ซบเซาจากการใช้จ่ายที่ชะลอตัวและเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ 3) การเพิ่มขึ้นของอุปทาน PE/PP ใหม่ และ 4) ค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น 1.0 พันล้านบาทจากการเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ของโครงการ LSP ที่เวียดนาม
ใน Q4/67 สเปรด HDPE/PP/PVC เทียบกับ Naphtha อยู่ที่ 316/328/301 ดอลลาร์ต่อตัน (-2%/+4%/-5% q/q) ปริมาณการขายโพลีเมอร์คาดว่าจะอยู่ที่ 420,000 ตัน (+21% y/y, +2% q/q) เพราะมีลูกค้ารรีเทลใหม่เข้ามา ส่วนปริมาณการขาย PVC คาดว่าจะอยู่ที่ 170,000 ตัน (+1% y/y, +1% q/q)
คาดขาดทุนจากสินค้าคงคลังใน Q4/67 เล็กน้อยที่ -90 ล้านบาท (เทียบกับขาดทุน -492 ล้านบาทใน 4Q23 ไตรมาส 4/23 และขาดทุน 1,302 ล้านบาทใน 3Q24)
ผลประกอบการธุรกิจบรรจุภัณฑ์ลดลงเพราะถือหุ้นใน Fajar เพิ่มขึ้น แม้ความต้องการสูงในช่วงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจาก SCGP เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน Fajar จากประมาณ 55% ใน Q3/67 เป็นประมาณ 99% ใน Q4/67 ซึ่งผลการดำเนินงานของ Fajar ขาดทุน เราคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจปิโตรเคมีจะยังคงอยู่ในช่วงต่ำสุดยาวไปจนถึงปี 69-70 เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตใหม่ที่จะทยอยเข้ามาต่อเนื่อง
ผลประกอบการ Q1/68 ยังคงท้าทาย อัตรากำไร PE ลดลงสู่ระดับต่ำมากในรอบ 18 ปี แม้ในช่วงฤดูกาลที่ผู้ผลิตต้องสต็อกสินค้าเพื่อเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้ราคา PE ลดลงต่ำกว่า 900 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2019 และอัตรากำไร PE อยู่ต่ำกว่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2007 เพราะราคาผลิตภัณฑ์ลดลงแต่ต้นทุน Naphtha สูงขึ้น หากไม่มีนโยบายกระตุ้น (โดยเฉพาะจากจีน) ธุรกิจจะซบเซาไปอีกนาน
ช่วง Q1/68 QTD ราคาของ HDPE และสเปรดเฉลี่ยอยู่ที่ 963 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-7% y/y, -1% q/q) และ 302 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-15% y/y, -5% q/q) ตามลำดับ ราคาของ PP และสเปรดอยู่ที่ 1,015 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-3% y/y, ทรงตัว q/q) และ 354 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-1% y/y, -3% q/q) ตามลำดับ
คงคำแนะนำ "ถือ" ให้ราคาพื้นฐาน 182 บาท (วิธี SOTP) ทั้งนี้เราปรับลดการคาดการณ์กำไรสุทธิปี 68 ลง -23% จาก 15.09 พันล้านบาท เป็น 11.59 พันล้านบาท สะท้อนการปรับลดสมมติฐานอัตรากำไร PE/PP ลง 50 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน จาก 350 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เป็น 300 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน