นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปี 2567 มีโครงการและมาตรการสำคัญที่ดำเนินการแล้ว รวม 73 โครงการ และเดินหน้าต่อเนื่อง 12 โครงการใน 4 ด้าน ได้แก่
* ตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือ (Trust and Confidence)
1. โครงการผู้ออกหลักทรัพย์เข้มแข็ง
?ส่งเสริมบทบาทความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (Line of defense) เช่น กรรมการ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ ผู้บริหารและเลขานุการ เป็นต้น เพื่ออธิบายและเน้นย้ำความสำคัญในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ผ่านการจัดหลักสูตรอบรม บทความ จัดทำ web portal และออกคู่มือหรือแนวปฏิบัติ
?ยกระดับการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ (Gatekeeper) เช่น ผู้สอบบัญชี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงการต่าง ๆ (กำหนดจำนวนผู้สอบบัญชีขั้น ต่ำ) และที่ปรึกษาทางการเงิน (ซักซ้อมแนวปฏิบัติฯ การทำหน้าที่ของ FA)
? ส่งเสริม Investor empowerment เพื่อให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ และสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับภัยหลอกลวงลงทุน
2. ยกระดับคุณภาพตราสารหนี้
? การเปิดเผยข้อมูล ยกระดับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ให้เข้มขวดมากขึ้นและปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มประเภท Key financial ratio ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละ อุตสาหกรรม เป็นต้น
? แนวทางการจัดการตราสารหนี้เสี่ยง (Playbook) กำหนดลักษณะของผู้ออกหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายต้อง ติดตาม เช่น ถูก Downgrade เป็น non-investment grade และ Rollover ได้ไม่เต็มจำนวนโดยไม่มีแผนรองรับ เป็นต้น
?การยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน (Gatekeeper) ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยปรับปรุงแนวปฏิบัติและ ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) จัดทำตัวอย่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และ Credit Rating Agency
3. มาตรการดูแล Short Selling (SS) และ Program Trading (PT) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการสร้างความเป็นธรรมในธุรกรรม SS/PT เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเสริมสร้างตลาดทุนโปร่งใส โดยมีแนวทาง ดังนี้
? มาตรการกำกับดูแลธุรกรรม Short Selling เพิ่มคุณภาพหุ้น non-SET100 ที่สามารถขายซอร์ตได้ให้เป็น หุ้นขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงขึ้น และปรับปรุงเกณฑ์ซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ (trading rules) กรณี SS เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ เป็นต้น
?มาตรการกำกับดูแล Program Trading การขึ้นทะเบียน เพื่อให้รู้ตัวตนลูกค้าและตรวจสอบได้ รวมถึงทบทวนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผ่านการเพิ่มลักษณะคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมให้ครอบคลุมพฤติกรรมการซื้อขายในปัจจุบัน เป็นต้น
4. การใช้เทคโนโลยีในการกำกับดูแล (SupTech)
? พัฒนาเทคโนโลยีในการกำกับดูแล เพื่อยกระดับการกำกับดูแล เพิ่มความถูกต้อง แม่นยำ และเท่าทันต่อความเสี่ยง เช่น เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรม ระบบตรวจจับความผิดปกติที่อาจกระทบต่อคุณภาพงานสอบบัญชี (Adis Dashboard) และระบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์บุคคล/นิติบุคคล เป็นต้น
? ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนาระบบ Health Check เพื่อตรวจจับสัญญาณความเสี่ยงเรื่องทุจริต/การตกแต่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน (เปิดใช้ มี.ค. 2567) ซึ่ง ก.ล.ต. นำระบบ Health Check มาใช้เพื่อ detect ความผิดปกติของงบการเงินตั้งแต่งวดปี 2566 รวมถึงได้สอบทานงบการเงิน และ 56-1 One Report ปี 2566 ที่ระบบ detect ความผิดปกติ
5. การประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
? ในปี 2567 ดำเนินการกล่าวโทษ 15 คดี (ปี 2566 กล่าวโทษ 8 คดี) และดำเนินการมาตรการลงโทษทางแพ่ง 10 คดี โดยค่าปรับทางแพ่งและชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ฯ ที่นำส่งกระทรวงการคลัง 696 ล้านบาท (ปี 2566 ดำเนินการไป 7 คดี ค่าปรับทางแพ่งและชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ฯ ที่นำส่งกระทรวงการคลัง 103 ล้านบาท) โดยการบังคับใช้กฎหมายในปี 67 มีความรวดเร็วขึ้นอย่างน้อย 15% เทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งก.ล.ต. ได้มีการเร่งรัดกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการตรวจสอบ และประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเชื่อว่าปีนี้การบังคับใช้กฎหมายจะรวดเร็วมากขึ้น
*ตลาดทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Technology)
1. ดำเนินการโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล (Digital Infrastructure : DIF) ในส่วน web portal เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่น fling ของตราสารหนี้
2. ผลักดันการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการแปลงสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัล (Tokenized securties)
3. ปรับแบบฟอร์มมาตรฐานในการเปิดบัญชีลงทุน (ingle form) ให้รองรับการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อข้อมูล (Data portability)
4.ส่งเสริมการระดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment token) ที่หลากหลาย เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุนของผุ้ประกอบการและสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล และยกระดับการกำกับผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
*ตลาดทุนเป็นกลไกสำคัญสู่ความยั่งยืน (Sustainable Capital Market)
1.จัดทำศูนย์รวมข้อมูลตราสารหนี้และกองทุนเพื่อความยั่งยืน (ESG Product platform) เพื่อมห้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินในกลุ่มความยั่งยืนได้อย่างครบวงจร โดยมีข้อมูลทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
2.สร้างความตรำหนักรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่บริษัทในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในแบบ 56-1 one report ให้สอดรับกับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน (HRDD) และขับเคลื่อน (SDG driver) เพื่อบรรลุเป้าหมานการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
3.ส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจในการผนวกปัจจัยด้าน ESG ในกระบวนการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การให้คำแนะนำการลงทุนและการบริหารจัดการลงทุน เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
*ผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี (Financial well-being/Long-term investment)
1. การออกประกาศรองรับเงื่อนไขใหม่ของกองทุน Thai ESG โดยขยายขอบเขตการลงทุนและส่งเสริมบทบาท บลจ. ในการใช้ fiduciary duty เพื่อการลงทุนอย่างรับผิดชอบ
2. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวม Exchange Traded Fund (ETF) ให้เทียบเคียงกับสากลเพื่อให้มีความหลากหลายและรองรับความต้องการของผู้ลงทุน
3. การปรับปรุง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกองทุนและเพิ่มความ ยืดหยุ่นในการลงทุน
4. การส่งเสริมการขยายฐานนายจ้างและสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อรองรับการเกษียณและการเตรียมการรองรับการออมภาคบังคับ
5. การติดอาวุธความรู้ให้ผู้ลงทุนในช่วงวัยต่าง ๆ ลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเอง เข้าใจความเสี่ยงผลตอบแทน กระจายการลงทุน รู้จักสิทธิ และดูแลตัวเองได้ ไม่ถูกหลอกลงทุน เช่น กิจกรรม "แคมเปญออน แคมปัส" โครงการ Lifelong Investing ลงทุนวิทยาฉบับ 50+ การเดินสายให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และโครงการ "ตลาดทุนไทย ร่วมใจส่งพลังความรู้ สู่ประชาชน" เฟส 2 ประจำปี 2567 ซึ่งมีผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนร่วมให้ความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์โดยมียอดการเข้าถึงรวมกว่า 100 ล้านครั้ง