บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของ บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ที่ระดับ “A" ด้วยแนวโน้ม “Stable" หรือ “คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง การมีธุรกิจที่หลากหลายและมีตราสัญลักษณ์เป็นที่ยอมรับซึ่งทำให้บริษัทมีฐานะเป็นผู้นำตลาดอันประกอบด้วยธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant) ตลอดจนการมีคณะผู้บริหารที่มีความสามารถ การมีธุรกิจรับจ้างบริหารงานโรงแรมในต่างประเทศที่เติบโต และโอกาสในการขยายธุรกิจอาหารบริการด่วนแบบแฟรนไชส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากลักษณะของธุรกิจโรงแรมที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ง่าย รวมทั้งจากลักษณะของธุรกิจอาหารบริการด่วนที่มีการแข่งขันที่รุนแรงและมีอัตรากำไรที่ต่ำ และผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การที่บริษัทขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจที่อยู่อาศัยราคาแพงและธุรกิจโรงแรมในต่างประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" อยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาความแข็งแกร่งของกระแสเงินสดเอาไว้ได้และนำไปใช้เพื่อสนับสนุนรายจ่ายฝ่ายทุนที่สูงมากในอนาคต และคาดว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะเพิ่มสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากบริษัทมีโครงการโรงแรมและที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากบริษัทมีการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพเครดิตของบริษัทในอนาคตได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งโดย Mr. William Ellwood Heinecke ในปี 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายกิจการจนปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการกระจายตัวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงแรมทั้งที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือบริหารทั้งหมด 17 แห่ง รวม 2,352 ห้องซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ทั้งในประเทศไทย มัลดีฟส์ ศรีลังกา และเวียดนาม
โรงแรมเหล่านี้บริหารและดำเนินงานภายใต้ตราสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกอย่าง Mariott และ Four Seasons และตราสัญลักษณ์ของบริษัทเองคือ Anantara และหลังจากการปรับโครงสร้างของกลุ่มไมเนอร์ในปี 2546 บริษัทได้นำธุรกิจอาหารบริการด่วนของกลุ่มมาดำเนินการภายใต้การบริหารงานของบริษัทในเครือคือ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (MFG) ซึ่งก่อตั้งในปี 2523 และเป็นผู้ให้บริการธุรกิจอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย MFG เป็นเจ้าของและผู้ประกอบการอาหารบริการด่วนแบบแฟรนไชส์ของต่างประเทศ 4 ตราสัญลักษณ์ คือ สเวนเซ่นส์ ซิซซ์เล่อร์ แดรี่ ควีน และ เบอร์เกอร์ คิง รวมทั้ง เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของบริษัทเอง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวนสาขารวมทั้งหมด 553 แห่ง และแฟรนช์ไชส์ย่อยอีก 123 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีรายได้จากธุรกิจโรงแรมและอาหารบริการด่วนคิดเป็น 90% ของรายได้รวมของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจ 2 ประเภทแล้ว บริษัทมีฐานรายได้ที่กว้างและหลากหลายกว่า อีกทั้งยังมีการขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
การเพิ่มขึ้นของจำนวนสาขาในธุรกิจอาหารบริการด่วนและผลประกอบการที่มั่นคงจากธุรกิจโรงแรมส่งผลให้รายได้รวมของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้น 16% จาก 11,716 ล้านบาทในปี 2549 เป็น 13,538 ล้านบาทในปี 2550 และเพิ่มขึ้น 18% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 เป็น 4,185 ล้านบาทจาก 3,554 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2550 ในส่วนของธุรกิจโรงแรมนั้น บริษัทมีอัตรารายได้ต่อห้องพักที่มีอยู่ (Revenue Per Available Room -- RevPAR) เพิ่มขึ้นจากระดับ 3,571 บาทต่อห้องในปี 2549 เป็น 4,037 บาทในปี 2550 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโรงแรมที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาและภาวะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัว
ในขณะที่ธุรกิจอาหารของบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวลงจากการแข่งขันที่รุนแรงและข้อจำกัดในการขยายสาขา ซึ่งทำให้ยอดขายจากสาขาเดิมลดลง 0.9% ในปี 2550 แต่เพิ่มขึ้น 6.6% สำหรับ 3 เดือนแรกของปี 2551
บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีการขยายการลงทุนในธุรกิจอาหารและโรงแรมเป็นอย่างมาก โดยในปีที่ผ่านมาได้ใช้เงินทุนมากกว่า 2,300 ล้านบาทเพื่อลงทุนในธุรกิจทั้ง 2 ประเภทในต่างประเทศ บริษัทลงทุนซื้อหุ้น 50% ใน “เดอะค๊อฟฟี่คลับ" ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านกาแฟและภัตตาคารของประเทศออสเตรเลียซึ่งมีสาขาถึง 193 แห่ง และซื้อหุ้นอีก 70% ในเครือข่ายร้านอาหารเอเชีย “ไทยเอ็กเพรส" ของประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีสาขาถึง 46 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทยังเช่าเกาะในประเทศมัลดีฟส์เพื่อสร้างโรงแรม Anantara แห่งใหม่ ตลอดจนซื้อหุ้น 50% ใน Elewana Afrika ซึ่งเป็นเจ้าของรีสอร์ทในประเทศแทนซาเนีย ทำให้บริษัทมีรายจ่ายฝ่ายทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากความพยายามในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สถานะทางการตลาดและสนับสนุนการเติบโตของอัตรากำไรในอนาคต อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนลดลงจาก 55% ในปี 2548 เป็น 34% ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2551 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจากทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
ทั้งนี้ คาดว่าผู้บริหารของบริษัทจะลงทุนในการขยายกิจการในอนาคตโดยใช้เงินทุนทั้งจากการกู้ยืมและกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยคาดว่าสัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะยังคงอยู่ในระดับประมาณ 45%-55% ในอีก 3 ปีข้างหน้า บริษัทมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,200 ล้านบาทในปี 2548 มาอยู่ที่ระดับ 2,900 ล้านบาทในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้นำเงินสดเกือบทั้งหมดกลับไปใช้ลงทุนในธุรกิจโรงแรม
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากลักษณะของธุรกิจโรงแรมที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ง่าย รวมทั้งจากลักษณะของธุรกิจอาหารบริการด่วนที่มีการแข่งขันที่รุนแรงและมีอัตรากำไรที่ต่ำ และผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การที่บริษัทขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจที่อยู่อาศัยราคาแพงและธุรกิจโรงแรมในต่างประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" อยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาความแข็งแกร่งของกระแสเงินสดเอาไว้ได้และนำไปใช้เพื่อสนับสนุนรายจ่ายฝ่ายทุนที่สูงมากในอนาคต และคาดว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะเพิ่มสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากบริษัทมีโครงการโรงแรมและที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากบริษัทมีการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพเครดิตของบริษัทในอนาคตได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งโดย Mr. William Ellwood Heinecke ในปี 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายกิจการจนปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการกระจายตัวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงแรมทั้งที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือบริหารทั้งหมด 17 แห่ง รวม 2,352 ห้องซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ทั้งในประเทศไทย มัลดีฟส์ ศรีลังกา และเวียดนาม
โรงแรมเหล่านี้บริหารและดำเนินงานภายใต้ตราสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกอย่าง Mariott และ Four Seasons และตราสัญลักษณ์ของบริษัทเองคือ Anantara และหลังจากการปรับโครงสร้างของกลุ่มไมเนอร์ในปี 2546 บริษัทได้นำธุรกิจอาหารบริการด่วนของกลุ่มมาดำเนินการภายใต้การบริหารงานของบริษัทในเครือคือ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (MFG) ซึ่งก่อตั้งในปี 2523 และเป็นผู้ให้บริการธุรกิจอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย MFG เป็นเจ้าของและผู้ประกอบการอาหารบริการด่วนแบบแฟรนไชส์ของต่างประเทศ 4 ตราสัญลักษณ์ คือ สเวนเซ่นส์ ซิซซ์เล่อร์ แดรี่ ควีน และ เบอร์เกอร์ คิง รวมทั้ง เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของบริษัทเอง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวนสาขารวมทั้งหมด 553 แห่ง และแฟรนช์ไชส์ย่อยอีก 123 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีรายได้จากธุรกิจโรงแรมและอาหารบริการด่วนคิดเป็น 90% ของรายได้รวมของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจ 2 ประเภทแล้ว บริษัทมีฐานรายได้ที่กว้างและหลากหลายกว่า อีกทั้งยังมีการขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
การเพิ่มขึ้นของจำนวนสาขาในธุรกิจอาหารบริการด่วนและผลประกอบการที่มั่นคงจากธุรกิจโรงแรมส่งผลให้รายได้รวมของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้น 16% จาก 11,716 ล้านบาทในปี 2549 เป็น 13,538 ล้านบาทในปี 2550 และเพิ่มขึ้น 18% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 เป็น 4,185 ล้านบาทจาก 3,554 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2550 ในส่วนของธุรกิจโรงแรมนั้น บริษัทมีอัตรารายได้ต่อห้องพักที่มีอยู่ (Revenue Per Available Room -- RevPAR) เพิ่มขึ้นจากระดับ 3,571 บาทต่อห้องในปี 2549 เป็น 4,037 บาทในปี 2550 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโรงแรมที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาและภาวะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัว
ในขณะที่ธุรกิจอาหารของบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวลงจากการแข่งขันที่รุนแรงและข้อจำกัดในการขยายสาขา ซึ่งทำให้ยอดขายจากสาขาเดิมลดลง 0.9% ในปี 2550 แต่เพิ่มขึ้น 6.6% สำหรับ 3 เดือนแรกของปี 2551
บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีการขยายการลงทุนในธุรกิจอาหารและโรงแรมเป็นอย่างมาก โดยในปีที่ผ่านมาได้ใช้เงินทุนมากกว่า 2,300 ล้านบาทเพื่อลงทุนในธุรกิจทั้ง 2 ประเภทในต่างประเทศ บริษัทลงทุนซื้อหุ้น 50% ใน “เดอะค๊อฟฟี่คลับ" ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านกาแฟและภัตตาคารของประเทศออสเตรเลียซึ่งมีสาขาถึง 193 แห่ง และซื้อหุ้นอีก 70% ในเครือข่ายร้านอาหารเอเชีย “ไทยเอ็กเพรส" ของประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีสาขาถึง 46 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทยังเช่าเกาะในประเทศมัลดีฟส์เพื่อสร้างโรงแรม Anantara แห่งใหม่ ตลอดจนซื้อหุ้น 50% ใน Elewana Afrika ซึ่งเป็นเจ้าของรีสอร์ทในประเทศแทนซาเนีย ทำให้บริษัทมีรายจ่ายฝ่ายทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากความพยายามในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สถานะทางการตลาดและสนับสนุนการเติบโตของอัตรากำไรในอนาคต อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนลดลงจาก 55% ในปี 2548 เป็น 34% ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2551 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจากทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
ทั้งนี้ คาดว่าผู้บริหารของบริษัทจะลงทุนในการขยายกิจการในอนาคตโดยใช้เงินทุนทั้งจากการกู้ยืมและกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยคาดว่าสัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนจะยังคงอยู่ในระดับประมาณ 45%-55% ในอีก 3 ปีข้างหน้า บริษัทมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,200 ล้านบาทในปี 2548 มาอยู่ที่ระดับ 2,900 ล้านบาทในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้นำเงินสดเกือบทั้งหมดกลับไปใช้ลงทุนในธุรกิจโรงแรม