ก.ล.ต. เล็งออกประกาศใหม่กรณีรายการเกี่ยวโยง หวังปิดช่องไซฟ่อนเงิน

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday July 28, 2008 15:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          สำนักงานงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)  เตรียมออกประกาศใหม่เกี่ยวกับเหลักเกณฑ์รายการเกี่ยวโยงให้ง่ายขึ้น แต่จะเข้มงวดในการตรวจสอบ เพื่อจะปิดช่องนักลงทุนใช้ช่องไซฟ่อนเงิน และลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิดจริง จะไม่เหมารวมผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่รู้เรื่องด้วย รวมทั้งยังมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเทคโอเวอร์เตรียมเปิดทำประชาพิจารณ์ก่อนออกประกาศให้ทันภายในปีนี้ 
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส ก.ล.ต. เปิดเผยว่า กฎเกณฑ์ใหม่ภายใต้พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับใหม่ ที่อยู่ภายใต้กำกับของ ก.ล.ต. จะปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ปฏิบัติได้ง่ายและเป็นสากล โดยหลักเกณฑ์บางเรื่อง ได้แก่ รายการเกี่ยวโยง การเทกโอเวอร์ก็จะมีการปรับปรุงเพื่อมุ่งให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทมีความระมัดระวัง มีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ในการปฏิบัติหน้าที่
"ต่อไปก็จะมีการแก้ไขรายการเกี่ยวโยง ซึ่งจะทำให้ง่ยและสะดวกกับผู้ปฏิบัติ ตอนนี้อยูระหว่างการร่างประกาศใหม่ ...เพราะรายการเกี่ยวโยงเป็นโอกาสหรือช่องทางไซ่ฟ่อนเงินได้ ที่ผ่านมา บทลงโทษตลาดหลักทรัพย์ทำได้รุนแรงที่สุดคือ delist ออกจากตลาดซึ่งกระทบทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้น ซึ่งเท่ากับลงโทษไม่ถูกตัว" นายชาลีกล่าว
ทั้งนี้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 31 ส.ค.นี้ มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารกิจการบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ครอบคลุมทั้ง บริษัทจดทะเบียน และบริษัทมหาชนที่ขายหุ้นต่อประชาชน โดยระหว่างนี้ก็จะยังยึดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับเดิมไปก่อน
ส่วนที่จะมีการปรับปรุงจะแยกทำเป็นประกาศใหม่ จะมีการทยอยดำเนินการ ขณะนี้มีอยู่ 4 เรื่องที่เข้าสู่กระบวนการทำประชาพิจารณ์ ได้แก่ การายงานส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการร ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (ม.89/14) และ การกำหนดหลักเกณฑ์การชัดชวนเป็นการทั่วไปให้มอบฉันทะ ทั้งสองเรื่องจะกำหนดหมดเขตการทำประชาพิจารณ์ภายใน 30 ก.ย.นี้
ขณะที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์ ในเรื่องการกำหนดพฤติกรรมและความสัมพันธ์ที่เป็น acting in concert /concert party (ม.246 และ 247)และ กำหนดลักษณะการกระทำหรืองดเว้นในประการที่จะมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งต้องขออนุมัติที่จะประชุมผู้ถือหุ้น (ม.250/1) หรือการกระทำที่น่าจะมีผล(รบกวน)ต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (frustration action) นั้นกำลังเตรียมทำประชาพิจารณ์เพื่อออกเป็นประกาศให้เร็วที่สุด คาดว่าก่อนสิ้นปี 51
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโอเวอร์ ยังกำหนดให้รายงานทุก 5% แต่ปรับฐานคำนวณจากจำนวนหุ้นเป็นจำนวนสิทธิออกเสียง และขยายเวลารายงานจากภายใันทำการถัดไป(T+1) เป็นภายใน 3 วันทำการ(T+3) เพราะต้องรอนับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามม.258 ที่ครอบคลุมกว้างขึ้นที่รวมบุคคลและนิติบุคคลรวมกัน และนับขึ้นบริษัทนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นบริษัทลูก(ขาลง) และเป็นบริษัทแม่ (ขาขึ้น)โดยดูว่าการร่วมกับบุคคลอื่น มีลักษณะเข้าข่ายที่ถือว่าเป็น acting in concert ได้แก่ มีัสัญญาหรือข้อตกลงที่ใช้อำนาจควบคุมหรือบริหารกิจการร่วมกัน , การขายหลักทรัพย์กับบุคคลอื่นในราคาต่ำ โดยไม่มีเหตุอันควร หรือ มีแหล่งเงินทุนร่วมกัน เป็นต้น
แต่ใน กม.ใหม่ได้ให้อำนาจกับผู้ถือหุ้น ซึ่งเ็ป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเทกโอเวอร์ โดยการหากบริษัทจดทะเบียนจะเข้าไปเทกโอเวอร์ หรือทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ บริษัทที่จะถูกเทกฯ สามารถกระทำการที่จะมีผล(รบกวน)ต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ความยินยอมจากผู้ทำคำเสนอซื้อ ได้แก่ การเพิ่มทุนจดทะเบียน การเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ทำสัญญาหรือแก้ไข หรือ ยกเลิกสัญญาที่มิใช่ปกติธุรกิจ หรือ จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยจะดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ประกาศ หรีือยื่นทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ จนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ