บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์(TUF)ลงทุนตั้งโรงานผลิตปลาทูน่ากระป๋องไปปาปัวนิวกินี โดยร่วมทุนกับ 2 บริษัทฟิลิปปินส์ มุลค่าลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เล็งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีขยายสัดส่วนส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป(อียู)เริ่มผลิตปลายปีหน้า นอกจากนี้ บริษัทก็ยังสนใจเข้าลงทุนในอินเดีย โดยจะเข้าไปทำธุรกิจกุ้งแข่เยือกแข็งเพื่อดันยอดส่งออก
ส่วนยอดขายปี 51 ได้ปรับเป้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเติบโต 20% จากเดิม 12% ส่วนยอดขายในรูปเงินบาทคาดว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% จากปริมาณขายทุกผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนปลาทูน่าจะเพิ่มขึ้นแต่ได้ปรับราคาขึ้น โดยยอดขายในไตรมาส 2 โตต่อเนื่องและมีมาร์จิ้นดีกว่าไตรมาสแรก เหตุได้ปรับขึ้นราคาขาย
พร้อมเชื่อเป็นไปได้สูงที่บริษัทจะชนะกรณีทางการสหรัฐจะทบทวนเก็บภาษีการทุ่มตลาด (AD)สินค้ากุ้งของบริษัท หลังองค์การการค้าโลก (WTO)ให้ไทยชนะคดีทุ่มตลาดสินค้ากุ้งที่ฟ้องสหรัฐ ระบุ 2 ก.ย.นี้รู้ผลแน่นอน ลุ้นได้คืนภาษี
*ขยายกองเรือ-โรงงานที่ปาปัวนิวกินี
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมทุนลงทุนกับบริษัทจากฟิลลิปปินส์ 2 ราย ที่ปาปัวนิวกีนี ซึ่งบรัษัทเข้าถือหุ้น 1 ใน 3 หรือ 33.33% โดยจะตั้งโรงงานผลิตปลาทูน่กระป๋อง กำลังการผลิตประมาณ 300 ตันต่อวัน ซึ่งจะเริ่มผลิตในปลายปี 52 โดยงบลงทุนทั้งโครงการ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นเงินลงทุนในส่วนของบริษัทประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรั,
“เราเพิ่งสรุปข้อตกลง เราคิดว่าปลายปีหน้าเริ่มผลิต"นายธีรพงศ์ กล่าว
นายธีรพงศ์ กล่ววว่า เหตุผลที่เข้าไปลงทุนที่ปาปัวนิวกินี เพราะเป็นประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่ากับ 0% ในการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอียู และปาปัวนิวกีนียังเป็นแหล่งปลาทูน่าสำคัญด้วย
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังสนใจเข้าลงทุนในอินเดีย โดยจะเข้าไปทำธุรกิจกุ้งแข่เยือกแข็งเพื่อเพิ่มยอดรายได้จากการส่งออก ซึ่งยังอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก
สำหรับเงินลงทุนตามปกติในปีนี้ 1.2 พันล้านบาท ครึ่งปีแรกใช้ไปแล้วประมาณ 700-800 ล้านบาท ในการปรับปรุงโรงงาน ยอมรับว่าขณะนี้ต้องระมัดระวังการลงทุน ดูสภาวะ และแนวโน้มดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น
อนึ่ง เมื่อปี 50 ยอดขายหลักของ TUF มาจากตลาดสหรัฐ 55% ยุโรป 12% ญี่ปุ่น 9% ในประเทศ 9%
*ปรับเพิ่มเป้ายอดขายปี 51 เชื่อเติบโตดีในภาวะเศรษฐกิจชะลอ
ประธานกรรมการบริหาร TUF คาดว่า บริษัทได้ปรับเป้ายอดขายในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นโต 20% จากเดิมตั้งไว้ โต 12% จากปีก่อน หรือเพิ่มมาเป็นกว่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิม 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ จากปีก่อนที่มี 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนยอดขายในรูปเงินบาท คาดว่าจะเติบโต 10% ขึ้นไป จากเป้าเดิมเติบโต 6% ภายใต้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ แต่คาดการณ์ใหม่ได้ประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงกว่าเดิมมาอยู่ที่กว่า 33 บาท/ดอลลาร์
ทั้งนี้ การปรับเป้าหมายยอดขายมีขึ้นหลังจากที่เห็นยอดขายในรูปดอลลาร์ช่วงไตรมาส 1/51 เติบโต 30% และในรูปเงินบาทโต 20% และคาดว่ายอดขายในไตรมาส 2/51 ยังเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อาจไม่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับในไตรมาสแรกที่บาทแข็งตัวขึ้นมามาก แต่บริษัททำประกันความเสี่ยงไว้ ขณะที่ไตรมาสนี้เงินบาทอ่อนตัวลง การทำประกันความเสี่ยงจึงน้อยลง
"การขายในไตรมาส 2 ยังดี sale strong เทียบกับปีก่อนในไตรมาสเดียวกัน และก็มีโมเมนตัมที่ดี ทำให้ผมสบายใจมากขึ้น ถ้าขายได้อยู่อย่างนี้ อย่างอื่นก็จัดกาง่ายขึ้น เรื่องต้นทุนก็เพิ่มขึ้น แต่ตอนนี้ราคาทูน่าก็อ่อนตัวลงบ้างมาอยุ่ที่ระดับ 1.9 พันเหรียญต่อตัน จากที่ขึ้นไปสูงสุด 2 พันเหรียญ ซึ่งคิดว่าเป็นช่วงสั้น" นายธีรพงศ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับราคาขายขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ โดยไตรมาส 2/51 ได้ปรับราคาขึ้นมากว่าในไตรมาส 1 ซึ่งช่วยทำให้มาร์จิ้นดีขึ้น แต่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีกำไรน้อยลง
นายธีรพงศ์ ยังให้เหตุผลว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายปีนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ปรับราคาขายเฉลี่ยขึ้นไปแล้วกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วซึ่งราคาขายต่ำมาก และราคาวัตถุดิบปีนี้ขึ้นไปสูงกวว่าปีก่อนมาก รวมทั้ง ปริมาณการขายของสินต้าทุกผลิตภัณฑ์เติบโตขึ้น
"คิดว่าในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เราก็เป็นผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับยุคประหยัดอยู่แล้ว และถ้าจะดูให้ดี บริษัทเราจะเติบโตได้ดีในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ...แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว แต่เพราะสินค้าบริษัทเป็นสินค้าราคาถูก แม้จะปรับราคาขึ้นแล้ว" นายธีรพงศ์ กล่าว
โดยปกติ รายได้ของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลังจะสูงกว่าครึ่งปีแรก โดยมีสัดส่วน 55% ของรายได้รวม โดยเฉพาะไตรมาส 4 เป็นไตรมาสมียอดขายสูงสุด จาก holiday season ส่วนครึ่งปีแรกก็มีรายได้สัดส่วน 45%
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์หลักของ TUF คือ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า รองลงมา เป็น กุ้งแช่แข็ง , อาหารแมวกระป๋อง ,อาหารทะเลบรรจกระป๋อง นอกนั้นเป็นอาหารกุ้ง ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง และปลาหมึกแช่แข็ง
*ลุ้นได้คืนภาษี หากสหรัฐทบทวนภาษี AD สินค้ากุ้งไทย 2 ก.ย.
นายธีรพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 2 ก.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะประกาศผลสุดท้ายในการทบทวนการเก็บภาษีกรณีทุ่มตลาดสินค้ากุ้ง โดยมีแนวโน้มว่าบริษัทจะชนะ จากที่องค์การการค้าโลกก็ประกาศให้ไทยชนะคดีทุ่มตลาดกับสหรัฐ และก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐได้มีจดหมายว่าได้รับรู้ถึงความผิดพลาดทางเทคนิค ของการตรวจสอบ และจะดูแลเรื่องนี้ให้อย่างดี
ทั้งนี้ ผลการทุ่มตลาดดังกล่าว จะมีผลบังคับช่วงระยะเวลา 1 ก.พ 49 ถึง 1 ก.พ. 50 หากผลออกมาบริษัทไม่ต้องจ่ายเพิ่มตามที่ผลเบื้องต้นออกมาว่าบริษัทต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ในอัตรา 15.30% จากอัตราปกติที่ 5.95% บริษัทก็จะได้เงินคืน เพราะจ่ายไปก่อน ในอัตรา 15.30%
"สำหรับผม วันนี้ ในแง่หุ้นผมรับข่าวนี้ไปแล้ว ถ้าผลออกมาดี ก็ปลดล็อกที่นักลงทุนห่วงอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีแน่ ที่ผ่านมาก็ใจจดใจจ่อเรื่องนี้ ถ้าเคลียร์ไปเสียที เรื่องนี้จะได้จบไป" นายธีรพงศ์ กล่าวกับ"อินโฟเควสท์
อนึ่ง องค์กรอุทธรณ์ขององค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ)ได้ประกาศตัดสินให้ประเทศไทยชนะคดีที่ฟ้องร้องสหรัฐอเมริกา กรณีใช้วิธีคำนวณอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Zeroing)และกรณีสหรัฐเรียกเก็บหลักประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาด(C-bond) การนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากไทย
--อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--