บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาทของ บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน (HEMRAJ) ที่ระดับ “A-" ในขณะเดียวกันยังประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทที่ระดับ “A-" เท่าเดิม พร้อมแนวโน้ม “Stable" หรือ “คงที่"
โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงความสำเร็จในการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภค และฐานะทางการเงินที่แข็งแรงของบริษัท นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงลักษณะที่ผันผวนของธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมด้วย
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนความคาดหมายว่าบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินจะยังคงสามารถรักษารายได้จากการขายที่ดินตลอดจนรายได้จากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมเอาไว้ได้ ถึงแม้ว่าเงินกู้รวมของบริษัท จะสูงขึ้นในช่วงปี 2552-2554 จากการลงทุนในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ แต่โครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนให้แก่บริษัทต่อไปในระยะปานกลาง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งก่อตั้งในปี 2531 โดยกลุ่มตระกูลหอรุ่งเรือง ตระกูลศรีสมบูรณานนท์ และตระกูลอนันต์คูศรี ณ เดือนเมษายน 2551 กลุ่มตระกูลหอรุ่งเรืองถือหุ้นบริษัทในสัดส่วน 15.1% รองลงมา ได้แก่ Credit Agricole (Suisse) SA สาขาประเทศสิงคโปร์ (9.3%) และ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (7.6%) ปัจจุบันบริษัทเป็นเจ้าของและบริหารนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และสระบุรี ในช่วงปี 2548-2550 บริษัทขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้เฉลี่ยปีละ 897 ไร่ โดยจนถึงเดือนมิถุนายน 2551 บริษัทขายที่ดินสะสมรวม 11,354 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลืออยู่ประมาณ 6,000 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (H-ESIE) นั้นมีเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของลูกค้าได้อีก 3-5 ปีข้างหน้า
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 บริษัทขายที่ดินได้ 934 ไร่ เพิ่มขึ้นถึง 55% เมื่อเทียบกับยอดขายที่ดินในช่วงเดียวกันของปี 2550 ในขณะที่ยอดขายที่ดินรวมของนิคมอุตสาหกรรมทั้งประเทศมีอัตราการเพิ่มขึ้นเพียง 30% ในช่วงเวลาดังกล่าว ณ เดือนมิถุนายน 2551ธุรกิจพัฒนาอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมโครงการแรกของบริษัทคือ “เดอะพาร์ค" (The Park) มียอดขาย 83% และการก่อสร้างมีความคืบหน้า 99% โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถโอนห้องชุดทั้งหมดได้ภายในปี 2551 บริษัทมีรายได้จากการขายที่ดินสำหรับครึ่งแรกของปี 2551 รวม 1,474 ล้านบาท เงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 1,351 ล้านบาทจากระดับเฉลี่ยที่ 500-600 ล้านบาทในช่วงปี 2548-2550 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการโอนห้องชุดให้แก่ลูกค้า รายได้จากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภคจำนวนปีละ 800-1,000 ล้านบาททำให้บริษัทมีกระแสเงินสดที่แน่นอนซึ่งช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของรายได้จากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินยังขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วย โดย บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มโกลว์และบริษัทในสัดส่วน 65:35 เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer -- IPP) และจะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินกำลังการผลิต 660 เมกะวัตต์ ซึ่งมูลค่าการก่อสร้างรวมอยู่ที่ประมาณ 1,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความต้องการในการใช้เงินจำนวน 3,500-4,000 ล้านบาทเพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 35%-40% จากระดับที่แข็งแรงในปัจจุบัน ณ เดือนมิถุนายน 2551 ที่ 33.8%
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ภาพรวมของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมยังคงดีอยู่ในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยนโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงทำเลที่ตั้งที่ดีของประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทริสเรทติ้งกล่าว
โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงความสำเร็จในการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภค และฐานะทางการเงินที่แข็งแรงของบริษัท นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงลักษณะที่ผันผวนของธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมด้วย
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนความคาดหมายว่าบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินจะยังคงสามารถรักษารายได้จากการขายที่ดินตลอดจนรายได้จากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมเอาไว้ได้ ถึงแม้ว่าเงินกู้รวมของบริษัท จะสูงขึ้นในช่วงปี 2552-2554 จากการลงทุนในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ แต่โครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนให้แก่บริษัทต่อไปในระยะปานกลาง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งก่อตั้งในปี 2531 โดยกลุ่มตระกูลหอรุ่งเรือง ตระกูลศรีสมบูรณานนท์ และตระกูลอนันต์คูศรี ณ เดือนเมษายน 2551 กลุ่มตระกูลหอรุ่งเรืองถือหุ้นบริษัทในสัดส่วน 15.1% รองลงมา ได้แก่ Credit Agricole (Suisse) SA สาขาประเทศสิงคโปร์ (9.3%) และ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (7.6%) ปัจจุบันบริษัทเป็นเจ้าของและบริหารนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และสระบุรี ในช่วงปี 2548-2550 บริษัทขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้เฉลี่ยปีละ 897 ไร่ โดยจนถึงเดือนมิถุนายน 2551 บริษัทขายที่ดินสะสมรวม 11,354 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลืออยู่ประมาณ 6,000 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (H-ESIE) นั้นมีเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของลูกค้าได้อีก 3-5 ปีข้างหน้า
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 บริษัทขายที่ดินได้ 934 ไร่ เพิ่มขึ้นถึง 55% เมื่อเทียบกับยอดขายที่ดินในช่วงเดียวกันของปี 2550 ในขณะที่ยอดขายที่ดินรวมของนิคมอุตสาหกรรมทั้งประเทศมีอัตราการเพิ่มขึ้นเพียง 30% ในช่วงเวลาดังกล่าว ณ เดือนมิถุนายน 2551ธุรกิจพัฒนาอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมโครงการแรกของบริษัทคือ “เดอะพาร์ค" (The Park) มียอดขาย 83% และการก่อสร้างมีความคืบหน้า 99% โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถโอนห้องชุดทั้งหมดได้ภายในปี 2551 บริษัทมีรายได้จากการขายที่ดินสำหรับครึ่งแรกของปี 2551 รวม 1,474 ล้านบาท เงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 1,351 ล้านบาทจากระดับเฉลี่ยที่ 500-600 ล้านบาทในช่วงปี 2548-2550 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการโอนห้องชุดให้แก่ลูกค้า รายได้จากธุรกิจการให้บริการและสาธารณูปโภคจำนวนปีละ 800-1,000 ล้านบาททำให้บริษัทมีกระแสเงินสดที่แน่นอนซึ่งช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของรายได้จากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทเหมราชพัฒนาที่ดินยังขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วย โดย บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มโกลว์และบริษัทในสัดส่วน 65:35 เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer -- IPP) และจะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินกำลังการผลิต 660 เมกะวัตต์ ซึ่งมูลค่าการก่อสร้างรวมอยู่ที่ประมาณ 1,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความต้องการในการใช้เงินจำนวน 3,500-4,000 ล้านบาทเพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 35%-40% จากระดับที่แข็งแรงในปัจจุบัน ณ เดือนมิถุนายน 2551 ที่ 33.8%
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ภาพรวมของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมยังคงดีอยู่ในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยนโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงทำเลที่ตั้งที่ดีของประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทริสเรทติ้งกล่าว