อีกทั้ง ยอดขายในสินค้าประเภทเกรดพิเศษในระดับไฮเอนด์ ยังเติบโตต่อเนื่องมียอดขายเข้ามาโดยเฉพาะจากตะวันออกกลางที่ยังมีความต้องการสูง
ส่วนแนวโน้มราคาเหล็กในช่วงที่เหลือยอมรับว่าประเมินได้ยาก แต่หากมองราคาเหล็กแผ่นรีดเย็นน่าจะทรงตัวจากราคาปัจจุบันที่ อยู่ที่ 700 กว่าเหรียญ
"การที่ราคาเหล็กปรับตัวลดลงในครั้งนี้ ทำให้บริษัทมีแผนที่จะหันไปขยายสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นในปีหน้า เป็น 20-25% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนส่งออกไม่ถึง 10% เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือปรับตัวลงมากว่า 90% อีกทั้งมาร์จินในตลาดต่างประเทศ ยังดีกว่ามาร์จินในประเทศ 7-8% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ" นายวิน กล่าว
อนึ่ง ตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจะกลับไปยังแผนเดิมของบริษัทก่อนหน้านี้ 2-3 ปีที่ผ่านมาที่เคยมีสัดส่วนส่งออกในระดับดังกล่าวภายใต้ค่าระวางเรือที่สูง
นายวิน กล่าวต่อว่า จากแนวโน้มราคาเหล็กที่ปรับลดลงคงต้องขอประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะพิจารณาว่าจะมีการสต็อกเหล็กเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์วิกฤติดังกล่าวทำให้บริษัทประเมินได้ยาก โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการสต็อกสินค้าลดลงต่ำกว่า 1 เดือน จากเดิมที่เคยสต็อก 3 เดือน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบรุนแรงจากราคาเหล็กผันผวน
ทั้งนี้ การที่สต็อกเหล็กน้อยลง ทำให้กำลังการผลิตลดลงมาอยู่ไม่ถึง 1 แสนตัน/เดือน จากเดิมในช่วง 2 -3 ปีก่อนผลิตได้ 2 แสนตัน/เดือน แต่เชื่อว่ากำลังการผลิตจะกลับมาที่ 2 แสนตัน/เดือนได้ในปีหน้า เพราะจากภาพรวมของความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงการภาครัฐ โดยคาดว่าความต้องการจะขยายตัวเพิ่มเป็น 3-4%จาก 1-2% ในปีนี้
ส่วนความคืบหน้าโรงถลุงเหล็กนั้น คาดว่าน่าจะเห็นความชัดเจนในปีหน้า
นายวิกรม วัชรคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงผู้ประกอบการเหล็กที่อาจจะได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการสต็อกสินค้าไว้เป็นจำนวนมากในช่วงที่ราคาเหล็กปรับตัวสูงก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นกับผู้ประกอบการจะต้องบริหารจัดการและระบายสต็อก เพราะหากพิจารณาจะเห็นว่าการที่ราคาในประเทศปรับตัวลดลงมากเกิดจากการที่ตื่นตกใจ ทำให้ทยอยขายออกมาทั้งที่ราคาตลาดโลกไม่ได้ลงแรง จากปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้เห็นการชะลอการผลิต หรือการหยุดซ่อมบำรุง แต่คงไม่ถึงขึ้นปิดกิจการ
การที่ราคาเหล็กปรับตัวลดลงตอนนี้น่าจะทำให้ราคาสินแร่ ปรับตัวลงตามราคาเหล็กไปด้วย ขณะที่เศษเหล็กก็ปรับลงแรงมาอยุ่ที่ 200 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากช่วงพีคเมื่อมิ.ย.-ก.ค. อยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน
สำหรับแนวโน้มราคาเหล็ก ภายใต้วิกฤติคงยากที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น คงอยู่ในช่วงขาลง เพราะตอนนี้ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกยังไม่รู้ว่าจะมากขนาดไหน คงจะไปเห็นผลปีหน้า แต่ที่ฟ้องออกมาแล้ว คือ ภาคส่งออก แต่สิ่งที่สำคัญคงขึ้นกับความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่จะลงทุนหรือไม่