ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ต่างเห็นตรงกันว่าแม้ปี 52 ไทยจะรับผลกระทบภาวะวิกฤติเศรษบกิจและการเงินของโลก แต่ตลาดหุ้นยังน่าลงทุน แนะให้ลงทุนเพิ่ม หลังราคารูดต่ำลงมาก แต่ต้งอรู้จักแบ่งสัดส่วนการลงทุน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า ในปี 2552 เป็นปีที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมของไทยจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันเสียหายไป 16 แห่ง ซึ่งอาจจะมีสถาบันการเงินอื่นที่มีปัญหาตามออกมาอีก ซึ่งจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทำให้ธนาคารกลางในทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ต่างใช้มาตราการทางการเงินโดยการปรับลดดอกเบี้ยมาใช้ในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกันแต่สถานการณ์ภายในประเทศไม่เลวร้ายขนาดต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่ปรับตัวลดลงรวมถึงการลดลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่สหรัฐอเมริกาลดลงมากว่า 30-40% แล้ว และจากการปรับฐานของเศรษฐกิจโลก ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ายโดยเริ่มส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวซึ่งประเทศไทยพึ่งหานักท่องเที่ยวจาก สหรัฐอเมริกา อเมริกา และออสเตรเลีย รวมกันถึง 40% ซึ่งปีหน้าจะเห็นผลกระทบชัดเจนด้านการท่องเที่ยวของไทย
ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์ไทยยังน่าสนใจเพราะมีหลักทรัพย์กว่าครึ่งใน SET 50 ที่จ่ายปันผลและหลายบริษัทจ่ายปันผลสูงถึง 10% และมีบริษัทหลายบริษัทที่ราคาหลักทรัพย์ปัจจุบันที่ต่ำกว่ามูลค่าบัญชี จึงเป็นโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนซึ่งหากถือในระยะยาวเกิน 2 ปี มั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี โดยให้ดูหลักทรัพย์ที่มูลค่าหุ้นที่ปัจจุบันลดต่ำกว่าความเป็นจริงซึ่งการลงทุนไม่จำเป็นต้องรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม
"เราไม่จำเป็นต้องรอจังหวะเวลา ถ้าเรารู้ว่าคุณค่าหุ้นที่เหมาะสมอยู่ที่เท่าไร ก็เข้าซื้อได้เลยเพราะเป็นโอกาสที่ดีมากที่จะได้กำไร แต่นักลงทุนบ้านเราชอบตระหนก เห็นได้จากตลาดหุ้นสหรัฐปรับลดประมาณ 30% ตอนวิกฤตบ้านเราลงไปถึง 50% "นายกอบศักดิ์ กล่าว
ด้านนายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการลงทุน เอสซีบี ควอนท์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นักลงทุนจะทยอยลงทุนในหุ้นแม้ว่ายังไม่สามารถประเมินจุดต่ำสุดของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้ รวมถึงจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นยังไม่รู้ว่าสิ้นสุดที่ไหนแต่หุ้นเวลาที่ปรับขึ้นจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยปี 52 ให้เน้นการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น พันธบัตรรัฐบาลและถือเงินสดเพื่อความปลอดภัยของเงินลงทุน ควรหลักเลี่ยงการลงทุนในต่างประเทศ อาทิ กองทุนที่ลงทุนกองทุนต่างประเทศ (FIF)
นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ กรรมการผุ้จัดการ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บล.ภัทร ( PHATRA) กล่าวว่า บริษัทปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นมากขึ้นมาที่ระดับกลางจากเดิมที่ลดน้ำหนักการลงทุนในระดับต่ำสุดของเกณฑ์ เนื่องจากสัปดาห์ผ่านมาบริษัทได้ให้ฝ่ายวิเคราะห์มีการทำประมาณการโดยตั้งสมมุติฐานที่แย่ที่สุดก้ยังพอบว่ามีหุ้นหลายบริษัทที่ยังมีราคาที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งนักลงทุนควรที่จะมีการจัดพอร์ตการลงทุนที่ดี
ทั้งนี้บริษัทแนะนำจัดพอร์ตการลงทุนในผู้ที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง โดยลงทุนหุ้น 43% แบ่งเป็นลงทุนในหุ้นไทย 40% ลงทุนต่างประเทศเพียง 3%เท่านั้นแต่ควรลงทุนในเอเชียซึ่งควรเลี่ยงลงทุนในหุ้นสหรัฐ ยุโรป ลงทุนในตราสารหนี้ 25% ลดลงจาก 35% เพิ่มการลงทุนในการลงทุนทางเลือกเช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ 20% จากเดิม 10% และถือเงินสด เพิ่มเป็น 11-12% จากเดิม 5% แต่ควรเป็นนักลงทุนที่สามารถถือการลงทุนได้ 18-24 เดือน เพื่อที่จะไม่ได้รับความเสียหายหากภาวะตลาดผันผวน
สำหรับธุรกิจที่จะมีการเติบโตที่ดีในปีหน้า คือ ธุรกิจที่จะมีการอุปโภคและบริโภคภายในประเทศ จากการที่รัฐบาลจะต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโต จากเศรษฐกิจโลกถดถอย กลุ่มแบงก์จะเติบโตดี จากที่ตลาดต่างประเทศขาดสภาพคล่องนั้นทำให้บริษัทต่างๆหันมากู้เงินในประเทศมากขึ้น ทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม อัตรากำไรขั้นต้น (มาร์เจิ้น)ของแบงก์ก็จะดีเช่นกัน กลุ่มสื่อสื่อสารจากที่มีการใช้โทรศัพท์มากขึ้น การค้าขายในประเทศ
ส่วนนายสุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชชันแนล แอสชัวรันส์ จำกัด(เอไอเอ) กล่าวว่า บริษัทมีสินทรัพย์มูลค่า 3.8 แสนล้านบาท และมีการตั้งสำรองมูลค่า 2.86 แสนล้านบาท โดยมีกำไรสะสมถึง 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนส่วนเกินถึง 6.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าบริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้จากการที่บริษัทมีการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยมาก โดยลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลถึง 70% อีก 10-15% ลงทุนในพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิต BBB+ และ 5-10% ลงทุนในต่างประเทศซึ่งเป็นการลงทุนในบอนด์รัฐบาลต่างประเทศและอีก 10% ลงทุนในหุ้น สำหรับการลงทุนโดยผ่านประกันของคนไทยนั้นถือว่ายังน้อยมาก เพียง 20% นั้น
ขณะที่ในต่างประเทศนั้นมีการลงทุนในประกันสูงมาก เช่น ประเทศญี่ปุ่นลงทุนถึง 300% โดยควรที่จะมีการเลือกลงทุนในกรมทัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเอง