เนื่องจาก ตลท.ได้รวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนที่นำส่งงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และเป็นบริษัท ที่หากไม่รวมกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนแล้วยังมีผลขาดทุนสุทธิ
งบปี 2551 (หน่วย : ล้านบาท) BLISS GEN IEC LIVE SSE กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (942) (65) (1,172) (253) (33) กำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุน (702) (2) (706) (80) (24) กำไร(ขาดทุน)สุทธิที่ไม่รวมกำไร(ขาดทุน) (240) (63) (466) (173) (9) จากเงินลงทุน มูลค่าซื้อขายเงินลงทุน 8,610 402 2,772 4,158 124 ส่วนของผู้ถือหุ้น 29 524 1,056 265 461 ราคาหลักทรัพย์ (บาทต่อหุ้น) ราคาหุ้น ณ 30 ธ.ค. 51 0.10 0.40 0.73 0.36 0.16 ราคาหุ้น ณ 2 มี.ค. 52 0.06 0.37 0.39 0.18 0.15 มูลค่าที่ตราไว้ 0.10 1.00 1.00 0.10 0.10
2) ณ 31 ธันวาคม 2551 BLISS LIVE และ IEC มีสัดส่วนการลงทุนระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดย
- BLISS มีเงินลงทุนใน LIVE และ IEC คิดเป็น 49.89% และ 48.97%ของมูลค่าเงินลงทุนชั่วคราว 60 ล้านบาท
- LIVE มีเงินลงทุนใน IEC คิดเป็น 99.37% ของมูลค่าเงินลงทุนชั่วคราว 118 ล้านบาท
- IEC มีเงินลงทุนใน LIVE คิดเป็น 91.89% ของมูลค่าเงินลงทุนชั่วคราว 80 ล้านบาท
3) เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลปรากฏข้อมูลที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขายเงินลงทุนชั่วคราวดังนี้
3.1 BLISS : มีผลขาดทุนจากเงินลงทุนหลังสิ้นงวดจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 56.43 ล้านบาท ซึ่ง อาจมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งเท่ากับ 28.97 ล้านบาท (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 35.2)
3.2 LIVE : ปรากฏข้อมูลการซื้อขายเงินลงทุนหลังวันสิ้นงวดจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 โดยเป็นการซื้อและขาย เงินลงทุนใน IEC ทั้งหมดของมูลค่าซื้อเงินลงทุน 4.93 ล้านบาท และ 96.68% ของมูลค่าขายเงินลงทุน 24.83 ล้านบาทตามลำดับ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 31.2)
3.3 IEC : มีผลขาดทุนจากเงินลงทุนหลังสิ้นงวดจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 23 ล้านบาท (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 44)
4) ผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของ BLISS, IEC และ LIVE โดย
1) BLISS
1.1) วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอย่างมากมีผลกระทบต่อการลดลงของราคาตลาดของเงินลงทุนชั่วคราว ทำให้บริษัทมีขาดทุนจากเงินลงทุนในปี 2551 จำนวน 702 ล้านบาท
1.2) บริษัทได้ผิดนัดชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศสองแห่ง ซึ่งผลจากการผิดนัดดังกล่าว อาจทำให้ธนาคารมีสิทธิเร่งให้บริษัทชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ซึ่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับธนา คารพาณิชย์ในประเทศแต่ยังไม่ทราบผล
2) IEC
2.1) บริษัทย่อยได้ซื้อทรัพย์สิน (โรงงานผลิตเอทานอลได้แก่ที่ดิน อาคาร และเครื่องจักร) จากบริษัทแห่งหนึ่ง 465 ล้านบาท ต่อมาบริษัทย่อยดังกล่าวถูกฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะทุนทรัพย์ 181 ล้านบาท และ ฐานความผิดข้อหายักยอกทรัพย์
2.2) บริษัทย่อยและบริษัทถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมบังคับจำนองทรัพย์สิน
2.3) วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอย่างมากมีผลต่อการลดลงของราคาตลาดของเงินลงทุนชั่วคราว ทำให้กลุ่ม บริษัทขาดทุนจากเงินลงทุนในปี 2551 จำนวน 706 ล้านบาท
นอกจากนี้ หมายเหตุข้อ 16 ระบุว่า 5 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทย่อยได้อนุมัติให้เปลี่ยนแผน การผลิตเอทานอลเป็นการผลิตไบโอดีเซลเนื่องจากเอทานอลล้นตลาด ในเบื้องต้นคาดว่าสามารถนำเครื่องจักรเดิมมาใช้งานได้ บางส่วน จึงบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องจักร ณ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 160 ล้านบาท
3) LIVE
3.1) LIVE และบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ โดยในขาดทุนสุทธินี้ได้รวมผลขาดทุนสุทธิที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์
3.2) มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินต่อเนื่องโดยมีเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบ
3.3) LIVE อยู่ในช่วงทบทวนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอันเนื่องมาจากผลกระทบของ วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2551