แต่วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบการก่อสร้าง จำนวน 13,500 ล้านบาท เป็นการตั้งวงเงินเพื่อขอกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า)ที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้า ไม่ใช่การกำหนดราคากลาง
"สิ่งที่กรรมาธิการตรวจก็ตรวจสอบได้ทำมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้กังวลอะไร เพราะเป็นข้อเท็จจริงหมดเลย เราพร้อมชี้แจง ...แต่หากมองว่าผู้ได้งานได้ราคาสูงกว่าราคากู้เงิน ก็มองได้ก็คิดว่าคงมองตรงนี้"นายชูเกียรติ กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"หลังจากกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ออกมาระบุว่าการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ)สัญญา 1 ส่อไปในทางทุจริต เนื่องจากผลประมูลสูงกว่าราคากลาง
นายชูเกียรติ กล่าวว่า หากมีข้อแย้งจากรรมาธิการฯ ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าเขามีข้อกังวลหรือติติงตรงไหน แต่หากต้องชะลอโครงการเพื่อชี้แจงก็จะมีส่วนทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไป และมีผลต่อเนื่องไปถึงการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญา 2 และสัญญา 3 ก็จะล่าช้าตามกันไป จากเดิมที่คาดว่าจะเปิดซองราคาของสัญญา 2 ในเดือนมิ.ย.นี้
ขณะนี้ทางรฟม.ได้ส่งผลประกวดราคาสัญญา 1 ไปให้กับไจก้าพิจารณาแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ หรือประมาณกลางเดือน พ.ค.ก็น่าจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ จากนั้น รฟม.ก็ตั้งเรื่องไปยังก.คมนาคม เพื่อให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่งเพื่อลงนามในสัญญาต่าง ๆ และเริ่มก่อสร้างได้ทันที
อนึ่ง คณะกรรมการ รฟม. เห็นชอบการต่อรองราคาก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1 หรือโครงสร้างยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม. ที่ 14,965 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่กลุ่มซีเคทีซี จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งมีบมจ. ช.การช่าง (CK)เป็นแกนนำเสนอราคาต่าสุดที่ 16,724.50 ล้านบาท