นายวิชา โตมานะ หัวหน้าฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาบมจ.แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ (HTECH) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินในการนำหุ้นที่เหลือจาก IPO จำนวน 20 ล้านหุ้น จากหุ้น IPO ทั้งหมด 60 ล้านหุ้น แต่กระจายเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 40.75 ล้านหุ้น เพื่อมาใช้ในการรองรับการเพิ่มเครื่องจักรในอนาคต แต่ทั้งนี้ก็คงจะต้องมีการประเมินสถานการณ์ และความต้องการที่แท้จริงของเครื่องจักร โดยเบื้องต้นรูปแบบการระดมทุน 20 ล้านหุ้น คงจะเป็นการขายให้ PP ทั้งกองทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจ และคาดว่าเรื่องดังกล่าวจะมีความชัดเจนในไตรมาส 4 นี้
ด้านนายพีท ริมชลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ (HTECH) กล่าวว่า สำหรับการเสนอขายหุ้นที่เหลือ 20 ล้านหุ้นนั้น บริษัทจะประเมินจากผลตอบรับจากลูกค้าที่ได้มีการส่งเครื่องตจักรให้ลูกค้าทดลองใช้ 2 ตัว คือเครื่องมือตัดเฉือนโลหะ (carbide cutting tool) และสว่านปลายเพชร (PCD drill) ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม HDD และ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งหากสินค้าทั้ง 2 อย่างมีความต้องการสูงก็จะพิจารณาเรื่องการระดมทุน ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทได้มีการนำเงินที่ได้จากการะดมทุนซื้อเครื่องจักรเข้ามาแล้วจำนวน 2 เครื่อง ซึ่งถือเป็นเครื่องจักรพิเศษในการผลิตเครื่องมือตัดเฉือนและชิ้นส่วน HDD (Vollmer Wirecut Machine)
อย่างไรก็ตาม คาดว่าสินค้า carbide cutting tool ที่ได้มีการทดสองกับลูกค้าจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทประมาณ 10-15% ของยอดขายรวมได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 อีกทั้งสินค้าดังกล่าวยังมีมาร์จิ้นสูงถึง 70% ซึ่งจะช่วยหนุนให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นมากในปีนี้
"ผมยังมีหุ้นที่ยังไม่ได้เสนอขายก็คิดอยู่ว่าจะทำยังไงดี ซึ่ง FA ให้คำแนะนำว่าสามารถนำมากระจายได้ หากต้องการเม็ดเงินใช้ในอนาคต แต่ก็คงต้องขึ้นอยู่กับผลการ Test สินค้ากับลูกค้าด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าบุ่มบ่าม อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ เพราะถือว่าเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนที่ผ่านมาก็ถือว่ายังเพียงพอ"นายพีท กล่าว
นายพีท กล่าวถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ขณะนี้ ว่า ปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิต HDD ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเห็นได้จากการเพิ่มชั่วโมงการทำงานของผู้ประกอบการ HDD ในเดือน มิ.ย. ขณะที่บริษัทเองก็ได้เพิ่มชั่วโมงทำงบานในส่วนของผลิตภัณฑ์ PCD Toll เป็น 572 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวเชื่อว่าจะส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาส 2 ที่จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 50% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่ธุรกิจชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทจะมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่กว่าจะส่งผลต่อรายได้คือในไตรมาส 4 หรือแม้ความต้องการจะกลับมาด้วยก็ตาม แต่บริษัทยังคงจะรักษาการเติบโตของรายได้ปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 284.76 ล้านบาท แต่ในแง่อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margins) จะดีกว่าปีก่อนแน่นอนเพราะสินค้าใหม่มาร์จิ้นสูงและได้ BOI ด้วย