PTTEP คาดดับไฟไหม้แหล่งมอนทาร่าได้ในวันนี้, บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย Q4/52

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday November 2, 2009 09:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวถึงเหตุไฟไหม้แหล่งมอนทารา โครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ซึ่งบริษัทลงทุน 100% ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เมื่อเวลา 9.30 น. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบต้นตอเชื้อเพลิง แต่คาดว่าจะพยายามดับไฟให้ได้เร็วที่สุดภายในวันนี้

PTTEP แจ้งว่า แหล่งมอนทารา โครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ซึ่งบริษัทลงทุน 100% ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เมื่อเวลา 9.30 น. ของเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ได้เกิดเหตุเพลิงใหม้ ในระหว่างที่มีการดำเนินการเจาะหลุมควบคุมได้เข้าไปถึงระดับความลึกและตำแหน่งที่ต้องการแล้ว จึงได้ทำการอัดน้ำโคลนตามขั้นตอนเพื่อยุติการรั่วไหล โดยในระหว่างการดำเนินการได้เกิดการติดไฟขึ้นบริเวณแท่นเจาะ West Atlas ซึ่งเป็นของผู้รับเหมา รวมทั้งแท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) ของแหล่งมอนทารา โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการติดไฟ อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ กำลังเร่งดำเนินการควบคุมสถานการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น

นายอนนต์ กล่าวว่า แท่นขุดเจาะที่ออสเตรเลีย เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ เกิดจากที่บริษัทพยามอุดรูรั่วที่หลุมเจาะที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว แต่กระบวนการซ่อมได้มีน้ำมันและก๊าซรั่วไหลทำให้เกิดติดไฟ แต่

"ยอมรับว่ามีความเสียหายเพิ่มเติมหลังไฟไหม้ แท่นขุดเจาะ แม้ว่าการพยายามปิดรูรั่วที่ท่าก๊าซที่มอนทาราจะทำสำเร็จ และเกิดปัญหาขึ้นมาอีก บริษัทจะพยายามแก้ไขให้เร็วที่สุดในวันนี้"นายอนนต์ กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"

อย่างไรก็ตาม การที่อุบัติเหตุไฟไหม้ บริษัทได้ทำประกันภัยครอบคลุมในส่วนนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินมูลค่าความเสียหาย ซึ่งอาจะจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาส 4/52

อนึ่ง แหล่งมอนทารา โครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลติมอร์ ประมาณ 690 กิโลเมตร ทางตะวันตกของ เมือง Darwin ในเขต Northern Territory ประเทศออสเตรเลีย

โดยก่อนหน้าได้เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากหลุมพัฒนาในแหล่งมอนทารา โครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในทะเลติมอร์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 และบริษัทฯ ได้เร่งดำเนินการแก้ไขสถานการณ์การรั่วไหลโดยได้รับอนุมัติจากหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ดำเนินการเจาะหลุม ควบคุมความดัน (Relief Well) และอัดน้ำโคลนเพื่อหยุดการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ