PTTAR เผย Q3/52 พลิกกำไรธุรกิจการกลั่น-อะโรเมติกส์ดี ไม่มีซ่อมบำรุง

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday November 10, 2009 10:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ระบุว่า ในไตรมาส 3/2552 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 63,992 ล้านบาท ลดลง 12,967 ล้านบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยเฉพาะ Middle Distillate ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ Market GRM ลดลงจาก 3.50 US$/BBL ในไตรมาส 3/2551 มาเป็น 2.33 US$/BBL ในไตรมาส 3/2552 ในขณะที่ ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์เพิ่มขึ้น ทำให้ Market P2F เพิ่มขึ้นจาก 3.42 US$/BBL ในไตรมาส 3/2551 มาเป็น 8.43 US$/BBL ในไตรมาส 3/2552 ส่งผลให้ Market GIM เพิ่มขึ้นจาก 3.60 US$/BBL ในไตรมาส 3/2551 มาเป็น 5.42 US$/BBL ในไตรมาส 3/2552

ในรอบ 9 เดือนแรก ปี 2552 บริษัทฯ มีรายได้รวม 157 ,875 ล้านบาท ลดลง 63 ,505 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักเนื่องจาก ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกำไรจากการสิ้นสุดสัญญาแลกเปลี่ยนค่าการกลั่นก่อนกำหนดและกำไรจากส่วนต่างจากสัญญาแลกเปลี่ยนค่าการกลั่นและส่วนต่างน้ำมันดิบจำนวน 3,313 ล้านบาท คิดเป็น 1.38 US$/BBL และผลกระทบจากสต็อกน้ำมัน ( Net NRV) จำนวน 4,583 ล้านบาท (1.92 US$/BBL) ส่งผลให้ บริษัทฯ มีกำไร (Accounting GIM) จำนวน 18,689 ล้านบาท คิดเป็น 7.81 US$/BBL เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9,660 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการทำสัญญาส่วนต่างค่าการกลั่นและส่วนต่างน้ำมันดิบจานวน 49 ล้านบาท คิดเป็น 0.06 US$/BBL เนื่องจากส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันเตากับน้ำมันดิบดูไบ ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 74 และจากราคานำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มี Stock Gain (Net NRV) จำนวน 416 ล้านบาท คิดเป็น 0.51 US$/BBL ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไร (Accounting GIM) จำนวน 4,842 ล้านบาท คิดเป็น 5.87 US$/BBL เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 7,673 ล้านบาท

ขณะที่ ไตรมาส 3/2552 บริษัทฯ มี ค่าใช้จ่ายดำเนินงานจำนวน 972 ล้านบาท คิดเป็น 1.18 US$/BBL ลดลงจากไตรมาส 3/2551 ที่ 1.61 US$/BBL สาเหตุหลักเนื่องจากในไตรมาส 3/2552 ไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะที่ไตรมาส 3/2551 โรงกลั่นน้ำมัน ( AR1) มีการหยุดซ่อมบำรุงฉุกเฉินหน่วยเพิ่มมูลค่าน้ำมันเตาให้เป็นดีเซล โดยใช้ไฮโดรเจน (Hydrocracking Unit, HCU)

ในรอบ 9 เดือนแรก ปี 2552 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายดำเนินงานจำนวน 3,101 ล้านบาท คิดเป็น 1.29 US$/BBL ลดลงช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.31 US$/BBL เนื่องจากไม่มีการหยุดซ่อมบำรุง ประกอบกับปริมาณนำเข้าผลิตเพิ่มขึ้นจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 (AR3)

จากรายการดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯ มี EBITDA สาหรับไตรมาส 3/2552 จานวน 3,909 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาส 3/2551 จานวน 7 ,670 ล้านบาท ในขณะที่รอบ 9 เดือน ปี 2552 บริษัทฯ มี EBITDA จำนวน 15,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9,562 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากโรงงาน AR3

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีต้นทุนทางการเงินสำหรับไตรมาส 3/2552 จำนวน 720 ล้านบาท คิดเป็น 0.87 US$/BBL เพิ่มขึ้น จากไตรมาส 3/2551 จำนวน 352 ล้านบาท ในขณะที่รอบ 9 เดือน ปี 2552 มีต้นทุนทางการเงินจำนวน 2,169 ล้านบาท คิดเป็น 0.91 US$/BBL เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1 ,341 ล้านบาท

สาเหตุหลักมาจาก หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยประมาณ 20,515 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเฉลี่ยจาก 34.87 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาส 2/2552 เป็น 34.10 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลกาไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจานวน 225 ล้านบาท ขณะที่รอบ 9 เดือน บริษัทฯ มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจานวน 796 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเจ้าหนี้การค้า และเงินกู้จำนวน 570 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไม่รวมกำไร/(ขาดทุน) จาก อัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากได้นไไปรวมในต้นทุนวัตถุดิบแล้ว)

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายภาษี ในไตรมาส 3/2552 จานวน 370 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2552 จำนวน 1 ,708 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 3/2551 จานวน 5,085 ล้านบาท ในขณะที่รอบ 9 เดือน ปี 2552 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายภาษีจำนวน 2,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,965 ล้านบาท ส่งผลให้ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 7,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 5,448 ล้านบาท



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ