บมจ.เอ็มเอฟอีซี(MFEC) ปรับเกมรุกตลาดไอทีรับมืออาฟต้าเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรเบอร์ 1 ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่งสินค้าอินโนเวชั่นลุยตลาดร่วมกัน ประเดิมก้าวแรกผนึก CISCO ส่ง Unified Computing System ลงสู่ตลาดมุ่งเจาะลูกค้าองค์กรที่ต้องการใช้เทคโนโลยีระดับสูงและต้องการลดความซับซ้อนของงาน ด้วยต้นทุนและค่าบริหารจัดการที่ต่ำลง มั่นใจตลาดตอบรับเยี่ยม เหตุเป็นการผนึก 2 จุดแข็งเข้าด้วยกันอย่างลงตัวทั้งด้านความเป็นหนึ่งเรื่องเทคโนโลยี และความเป็นหนึ่งด้านบริการ
นางสาวบุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด MFEC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ปรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจใหม่ โดยจะหันมาพัฒนาสินค้าที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเองลงสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งจะให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้นำในแต่ละตลาดพัฒนาสินค้าอินโนเวชั่นลงทำตลาดร่วมกัน เพื่อใช้จุดแข็งของกันและกันสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงได้
ล่าสุด บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CISCO ผู้ดำเนินธุรกิจทางด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ชื่อ Unified Computing System (UCS) ซึ่งเป็นการรวมองค์ประกอบต่างๆ ใน Data Center เข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ในปี 53 บริษัทฯ มีแผนจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นไอพีของ MFEC และจะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และทำตลาดร่วมกัน โดยพันธมิตรเกือบทั้งหมดจะอยู่ในระดับแถวหน้าของธุรกิจ สำหรับสินค้าที่จะนำออกสู่ตลาดจะมีรูปแบบเป็นโซลูชั่นที่เป็นแพ็คเกจ ซึ่งจะเป็นสินค้าที่มีความพร้อมนำไปใช้งาน และเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขณะเดียวกันก็ยังช่วยประหยัดต้นทุนและพลังงานอีกด้วย
UCS เป็นการนำเอาสามแพลตฟอร์มหลัก ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ประมวลผล (Computing) ระบบเครือข่ายและระบบสตอเรจ ผ่านเทคโนโลยี เพื่อช่วยลดต้นทุนทางด้านโครงสร้างทางพื้นฐาน นอกจากนี้ยังช่วยลดความซับซ้อนและการใช้พลังงาน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายการดูแลระบบโดยรวมที่เป็นต้นทุน (CAPEX) ได้มากถึง 20% และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) ได้มากถึง 30%
นอกจากนั้น UCS ยังช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานด้านไอทีและเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยจะช่วยลดเวลาในการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของพลังงาน ตลอดจนสามารถทำงานข้ามระบบและปกป้องการลงทุนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วย
ที่สำคัญ UCS ไม่ได้นำไปใช้ทดแทน Product เดิมที่มีอยู่ แต่นำไปใช้สำหรับลูกค้าที่ต้องการอัพเกรด Data Center เดิมที่อาจมีความพกพร่องในการบริหารจัดการหรือต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น หรือต้องการสร้างใหม่หรือเพิ่มเติมจาก Data Center เดิม ซึ่งเทคโนโลยีใหม่มีความประหยัดขึ้นและค่าบริหารจัดการต่ำลง"
นางสาวบุษกรณ์ กล่าวต่อว่าความร่วมมือของทั้ง MFEC และ CISCO มีความโดดเด่น 2 ประการ คือเรื่องเทคโนโลยี และการให้บริการ โดย UCS เป็นการรวมเอาความโดดเด่นของแต่ละเทคโนโลยีมารวมกันแล้วพัฒนาจนทำให้ UCS เป็นเสมือน One Stop Service ส่วนเรื่องการให้บริการ คือ จุดแข็งของ MFEC ที่ได้รับการยอมรับในตลาดอย่างกว้างขวางว่ามีความเชี่ยวชาญและชำนาญในด้านการบริการ ขณะเดียวกัน ยังมีความแข็งแกร่งในเรื่องเอ็นจิเนียริ่ง และมีความชัดเจนในเรื่องตำแหน่งทางการตลาด โดยเป็นผู้นำในเรื่องของ Innovation ในตลาด
และด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้จึงทำให้ CISCO เลือก MFEC เป็นผู้นำ UCS ออกสู่ตลาดเป็นรายแรก MFEC มีการเตรียมความพร้อมในด้านการบริการอย่างดี เพื่อรองรับการให้บริการUCS โดยปัจจุบันเรามีCertified Engineers เฉพาะของ UCS และ MFEC เองก็ได้รับการcertified ในระดับสูง เพื่อสนับสนุนUCS ให้ตรงตามคุณสมบัติที่ CISCO ควบคุมคุณภาพในการบริการ คือ Authorized Technology Provider (ATP)
สำหรับตลาด UCS มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากภาวะปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องกรีนไอที (Green IT) นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก อาทิ เกิดการควบรวมกิจการ หรือการลดขนาดองค์กร หรือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที เป็นต้น จะก่อให้เกิดการรวมของตัวระบบเข้ามาบริหารจัดการที่ส่วนกลาง เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีการประหยัดต้นทุน ดังนั้นจึงถือได้ว่า MFEC และ CISCO เป็นผู้รายแรกที่นำ UCS มาให้บริการกับลูกค้าและจะนำออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้
นายธีรศักดิ์ ชูสุวรรณประทีป Technical Director MFEC กล่าวว่า UCS เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบ Data center 3.0 ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาความซับซ้อนและเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับองค์กรยุคใหม่ โดยฟังค์ชั่นหลักของ UCS คือการส่งเสริมการทำงานของ Virtualization ภายในระบบ Data Center ให้เป็นหนึ่งเดียวไม่ว่าจะเป็นการ Consolidate I/O ด้วย Unified Fabric และ 10 Gigabit Ethernet ทำให้สามารถลดจำนวน Switch, Adaptor และ Cable ลง นอกจากนี้ ยังสามารถลดความซับซ้อนในการดูแลและจัดการอุปกรณ์ทั้งหมดของ UCS ผ่าน UCS Manager ซึ่งเป็น embedded software ภายในตัว Fabric Interconnects
“UCS จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากพอสมควร จากปัจจุบันที่แผนกไอทีมักจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 70% ในการบำรุงรักษาและจัดโครงสร้าง ซึ่งตรงนี้จะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 20-30% ยกตัวอย่างเช่น สายเคเบิลที่เคยต่อหลายสิบเส้น อาจจะลดลงมามากกว่าครึ่งหนึ่ง Server แต่ละตัวที่แยกเป็น Software หลายๆ ตัว ก็นำมา Run ที่ Server เพียงตัวเดียว ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ลดความซับซ้อน การใช้พลังงาน และทรัพยากรบุคคล"
ทั้งนี้ UCS ประกอบด้วย fabric interconnects โดยจะสามารถเชื่อม Blade Chassis ได้สูงถึง 40 Chassis ผ่าน UCS Manager เพียงซอฟต์แวร์เดียว ภายใน Chassis รองรับการ blade server ให้เลือก 2 แบบ คือ half-width blade (ใส่ได้สูงสุด 8 blade ต่อ 1 Chassis) และ Full-width blade (ใส่ได้สูงสุด 4 blade ต่อ 1 Chassis) ที่มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยี Cisco Memory Expansion ที่ทำให้สามารถรองรับ Memory ได้เพิ่มขึ้น 4 เท่า (สูงสุด 384 GB ต่อ blade)