พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะประธานคณะทำงาน 3.9G เปิดเผยว่า การออกร่างประกาศว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว เพื่อต้องการสร้างความขัดเจนในการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม แต่ไม่ใช่เป็นการสกัดไม่ให้บริษัทที่ถือหุ้นและบริหารโดยบุคคลต่างด้าวไม่มีสิทธิในการประมูลใบอนุญาต 3G
เนื่องจากกว่าที่ร่างประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลหรือลงในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะเป็นช่วงหลังจากเดือน ก.ย.หรือผ่านพ้นการประมูล 3G ไปแล้ว ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุน 3G ในไทย
นอกจากนั้น กทช.จะให้เวลาสำหรับบริษัทที่ได้รับใบุอนุญาต 3G ในกรณีที่ยังติดเงื่อนไขของร่างประกาศดังกล่าว โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งผิดเงื่อนไขจากประกาศนี้มาก ซึ่งกทช.จะให้ผู้ประกอบการเสนอการแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศ ซึ่งจะให้เวลาแก้ไขและ กทช.จะพิจารณาครั้งละ 1 ปี โดยบริษัทต้องรายงานความคืบหน้าทุกเดือนต่อสำนักงาน กทช. และ กลุ่มที่ต้องติดตาม ให้ระยะเวลาแก้ไข 1 ปีเช่นกัน โดยต้องรายงานทุก 3 เดือน ทั้งสองกลุ่มสามารถปลดออกจากบัญชีได้
"เขายังสามารถที่จะปรับตัวได้ ไม่ใช่ว่าเขาไม่ได้ปรับตัวเล้วเขาจะเข้าประมูล 3G ไมได้ ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น เราไม่ได้ออกมาเพื่อสกัดในเรือ่ง 3G ใดๆทั้งสิ้น ยังไงประกาศนี้ก็ออกไม่ทันการประมูล" พ.อ.นที กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"
กรรมการ กทช. ระบุว่า การออกร่างประกาศกังกล่าว เพื่อสร้างความชัดเจนว่าคนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ไม่ใช่ว่า กทช.ออกกฎเกณฑ์ภายหลังซึ่งก็จะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ กทช. ได้กำหนดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับร่างประกาศดังกล่าวในวันที่ 20 ส.ค. นี้ และจะเปิดเวทีให้ทุกฝ่าย หากไมเห็นด้วยกับร่างประกาศฯก็สามารถเสนอมาได้ หากปรากฎแสดงความไม่เห็นด้วยมากก็อาจจะจัดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งก็เป็นได้ และจะมีการปรับปรุงให้ทุกฝ่ายเห็นชอบ
"ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงขณะนี้ เพราะยังไงประกาศนี้ก็ประกาศทันการประมูลอยู่แล้ว โดยรับฟังความคิดเห็น 20 ส.ค.ถ้าไม่เห็นด้วยก็อาจจะเปิดรับฟังความคิดเห็นอีก แต่เราต้องการทำเพื่อให้เกิดความโปร่งใส และไม่ใช่บังคับแต่ 3G กับ 2G ก็ต้องบังคับด้วย"พ.อ.นที กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนสำคัญของร่างประกาศที่ช่งชี้ลักษณะการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวคือ เรื่องการถือหุ้นไม่เกิน 49% นับรวมนอมินีด้วย และผู้บริหารที่สำคัญควรเป็นคนไทย ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หัวหน้าผู้บริหารด้านการเงิน เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำหนดกัน
อนึ่ง ปัจจุบัน บมจ.โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) มีผู้บริหารเป็นคนต่างด้าว
พ.อ.นที กล่าวว่า ในสัปดาห์แรกของการเปิดรับเอกสารเพื่อขอเข้าประมูลใบอนุญาต 3G ได้มีเอกชน 4 ราย มาขอรับแล้ว โดยกทช.จะเปิดรับเอกสารในวันที่ 30 ส.ค. โดยจะเปิดให้เอกชนรับฟังรายละเอียดในการกรอกข้อมูลใบสมัคร ในวันที่ 25-26 ส.ค. หลังจากนั้นในวันที่ 15 ก.ย.จะประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น(PQ) ก่อนเข้าร่วมประมูลราคา ในปลายเดือน ก.ย.นี้
ส่วนการโรดโชว์ในต่างประเทศ ขณะนี้รอคำยืนยันจากประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ (UAE) หากเขาสนใจจริงก็จะยืนยันมา โดยก่อนหน้ากทช.ได้โรดโชว์ที จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย ซึ่ง 4 ประเทศเหล่านี้ให้ความสนใจอย่างมาก ส่วนในแถบยุโรป ไม่ได้ไปโรดโชว์ เพราะเขาไม่แสดงความสนใจชัดเจน