PTT เผย Q3/53 รายได้โต 3.8% แต่ส่วนแบ่งกำไรจากบ.ในเครือลดลง

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday November 12, 2010 18:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ปตท.(PTT)เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3/53 และงวด 9 เดือนของปี 53 ว่า ในไตรมาส 3/53 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 461,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/52 จำนวน 16,928 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นและปริมาณขายที่เพิ่มสูงขึ้นจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและของประเทศ ขณะที่มี EBITDA จำนวน 38,807 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 3/52 จำนวน 1,550 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.8

นอกจากนี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 3,364 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 3/52 จำนวน 1,932 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 36.5 จากผลดำเนินงานที่ลดลง โดยเฉพาะจากธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ซึ่งมีผล มาจากปัญหาอุปทานผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่มีมากเกินความต้องการ ภายหลังจากที่โรงอะโรเมติกส์ใหม่ในตะวันออกกลางได้เริ่มดำเนิน การผลิตและความต้องการเบนซีนในยุโรปตะวันตกที่ยังทรงตัวจากผลกระทบวิกฤตหนี้ยูโร ส่งผลให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Spread Margin) โดยเฉพาะพาราไซลีนลดลง แม้ว่าค่าการกลั่น (GRM) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้น้ามันที่เพิ่มสูงจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์มีผลการดำเนินงานที่ลดลง โดย Spread Margin ปรับตัวลดลงเกือบทุก ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ Ethylene เนื่องจากกาลังการผลิตใหม่จากจีนและตะวันออกกลางที่เริ่มทยอยเข้ามาตั้งแต่ช่วงต้นปี 53 รวมทั้ง ปริมาณการผลิต โอเลฟินส์ลดลง เนื่องจากมีการโอนวัตถุดิบก๊าซธรรมชาติให้แก่โรง Cracker ของ PTTPE เพื่อทำการทดลองเดิน เครื่องจักรและการหยุดดาเนินการผลิตโรงโอเลฟินส์ I4-1 เพื่อซ่อมบำรุงตามแผนงาน ขณะที่ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนโดย รวมเพิ่มขึ้นจากหน่วยผลิต LLDPE ของ PTTPE (บริษัทย่อยของ PTTCH) ที่ได้เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

ประกอบกับ ปตท. และบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 4,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/52 จำนวน 300 ล้านบาท มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 7,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/52 จำนวน 6,493 ล้านบาท และบมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) (บริษัทย่อยของ ปตท.) มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้นจากการรับรู้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ใน แหล่งมอนทาราเพิ่มเติมจำนวน 1,369 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาส 3/53 ปตท. และบริษัทย่อยมีกาไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,718 ล้าน บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 จาก 16,987 ล้านบาทใน 3Q/2552 (หรือคิดเป็น 6.01 บาทต่อหุ้น) เป็น 21,705 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 7.64 บาทต่อหุ้น)

ในไตรมาส 3/53 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายลดลงจากไตรมาส 2/53 จำนวน 34,255 ล้านบาท หรือ ลดลงร้อยละ 6.9 มี EBITDA จำนวน 38,807 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/53 จำนวน 4,801 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.0 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจากความไม่เชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป การที่หลาย ประเทศได้ปรับลดงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลทางการคลัง ประกอบกับ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเปราะบาง

ขณะที่ไตรมาส 3/53 มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 3,364 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 จำนวน 501 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2/53 จากค่าการกลั่น(GRM)ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้น้ำมันที่มากขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าผล การดาเนินงานของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์และสายโอเลฟินส์จะลดลงจาก Spread Margin ที่ลดลง

ทั้งนี้ ในไตรมาส 3/53 ปตท.และบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 4,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 จานวน 364 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3/53 ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 7,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 จานวน 7,081 ล้านบาท และ ปตท.สผ.มีรายได้จากการรับรู้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ในแหล่งมอน ทาราเพิ่มเติมจานวน 1,369 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาส 3/53 ปตท. และบริษัทย่อยมีกาไรสุทธิจานวน 21,705 ล้านบาท (หรือ คิดเป็น 7.64 บาทต่อหุ้น) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 จำนวน 5,020 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1

สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 53 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 1,406,455 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก 9 เดือนแรกปี 52 จำนวน 271,416 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 และมี EBITDA จำนวน 125,662 ล้านบาท เพิ่ม ขึ้น 23,746 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 เป็นผลมาจากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับ ตัวสูงขึ้นและปริมาณขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและของประเทศ

ในขณะที่มีส่วนแบ่งกาไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 11,314 ล้านบาท ลดลงจาก 9 เดือนปี 52 จำนวน 4,414 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจการกลั่นและกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีสาย อะโรเมติกส์ที่มีผลการดำเนินงานที่ลดลง อันเนื่องมาจากค่าการกลั่น(GRM)ที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากใน 9 เดือนปี 53 เกิดผลขาดทุน จากสต๊อกน้ามันจากความผันผวนของราคาน้ามัน

รวมทั้งการปรับตัวลงของ Spread Margin ของธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ โดยเฉพาะพาราไซลีนที่ปรับตัวลง จากอุปทานของผลิตภัณฑ์ที่มีมากเกินความต้องการ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์มีผลการดาเนินงานที่ดีขึ้น เป็นผลจาก Spread Margin ที่สูงขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ จากการฟื้นตัวของความต้องการโดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งมีการจัดงาน World Expo และ Asian Games แม้ว่าจะมีการทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงงานใหม่ในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ปตท.และบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงิน 11,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนปี 52 จำนวน 1,519 ล้านบาท ในขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 11,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,354 ล้านบาท และ ปตท.สผ.มีรายได้จากการรับรู้ค่า สินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ในแหล่งมอนทาราเพิ่มเติม 1,369 ล้านบาท ส่งผลให้ใน 9 เดือนปี 53 ปตท. และบริษัทย่อยมีกาไร สุทธิ 61,410 ล้านบาท(หรือคิดเป็น 21.65 บาทต่อหุ้น)เพิ่มขึ้น 17,079 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5

ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 ปตท.และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1,175,489 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 632,409 ล้านบาท โดยเป็นหนี้สินหมุนเวียน 230,920 ล้านบาท (รวมเงินกู้ยืมระยะยาวครบกาหนดชาระภายใน 1 ปี 17,663 ล้านบาท) เงินกู้ยืมระยะยาว 342,847 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 543,080 ล้านบาท


แท็ก (PTT)   ปตท.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ