PTTEPเผยปริมาณขาย Q2/54ที่ 2.73แสนบาร์เรลฯ/วัน,"ออยล์แซนด์"สูงกว่าเป้า

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday July 28, 2011 14:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/54 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีปริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 273,310 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 263,392 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน โดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทของโครงการอาทิตย์เหนือและโครงการบงกช การขายก๊าซธรรมชาติของโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 และการขายน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของโครงการเอส 1 ไตรมาส 2/54 PTTEP มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,487 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 45,012 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 317 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/53 ซึ่งมีรายได้รวม 1,170 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 37,896 ล้านบาท)ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 738 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 22,342 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 156 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 582 ล้านดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 18,843 ล้านบาท)

ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น สาเหตุหลักเนื่องจากการรับรู้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์ในแหล่งมอนทาราเพิ่มเติมเป็นจำ นวน 16 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสนี้ ขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 102 ล้านบาท) ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนรับรู้กำไรจากอัตรแลกเปลี่ยนจำนวน 12 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 393 ล้านบาท)

ปตท.สผ.และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายในไตรมาส 2 ปี 2554 รวมทั้งสิ้น 738 ล้านดอลลาร์สรอ. (เทียบเท่า 22,342 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 582 ล้านดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 18,844 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 156 ล้านดอลลาร์ สรอ.

บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 370 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 11,170 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 3.37 บาท) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/53 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 351 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 11,378 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 ดอลลาร์สรอ. (เทียบเท่า 3.43 บาท)

สำหรับผลการดำเนินงานงวดหกเดือนปี 54 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,797 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 85,023 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1,425 ล้านดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 43,332 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 730 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 22,149 ล้านบาท) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.22 ดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 6.67 บาท) เมื่อเทียบกับงวดหกเดือน ปี 2553 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 663 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 21,622 ล้านบาท) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.20 ดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 6.53 บาท)

ฐานะการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 54 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 13,159 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 404,611 ล้านบาท) มีหนี้สินรวม 7,295 ล้านดอลลาร์ สรอ.(เทียบเท่า 224,319 ล้านบาท) และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 5,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 180,292 ล้านบาท)

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จEP กล่าวว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 2/54 ในด้านการสำรวจโครงการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินศักยภาพของแปลงและเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม โดยมีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลในหลายโครงการ อาทิโครงการบงกช มีการขุดเจาะหลุมสำรวจ Ton Rang —3 พบปิโตรเลียม ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมและการวางแผนเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติม

โครงการพม่าแปลง เอ็ม 3 ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ประเทศสหภาพพม่า ผลการขุดเจาะหลุมสำรวจ Aung Sinkha-2 พบก๊าซธรรมชาติและจากการทดสอบมีอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติ 25 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 150 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ทำให้มีแผนเร่งการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ และการเจาะหลุมประเมินผล เพื่อพัฒนาโครงการให้เร็วขึ้น

โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 มีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลจำนวน 2 หลุม มีการพบปิโตรเลียมซึ่งเป็นการยืนยันศักยภาพของแปลงโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในส่วนของแปลง WA-397-P ซึ่งบริษัทร่วมทุนร้อยละ 20 ได้เสร็จสิ้นการขุดเจาะหลุมสำรวจ Omar-1 เพื่อประเมินศักยภาพของแปลง โดยอยู่ในขั้นการศึกษาและประเมินผล

โครงการอินโดนีเซีย เซไม ทู ซึ่งปตท.สผ.ร่วมทุนร้อยละ 28.33 และมีบริษัท Murphy Semai Oil Co. Ltd. เป็นผู้ดำเนินการนั้น จากการขุดเจาะหลุมสำรวจ Lengkuas-1 ซึ่งมีความลึกของน้ำทะเลที่ 1,095 เมตร ได้เจาะถึงระดับความลึกหลุมสุดท้ายที่ 6,500 เมตร พบปิโตรเลียมในชั้นหินกักเก็บ แต่ปริมาณไม่มากพอในเชิงพาณิชย์ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของโครงการสำรวจนี้ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อการวางแผนการสำรวจและการลงทุนของบริษัทฯ ในบริเวณนี้ต่อไป

ด้านการพัฒนาโครงการได้เร่งโครงการต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามแผน อาทิ โครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่งจะเริ่มการผลิตน้ำมันในไตรมาส 3/54 ปัจจุบันการติดตั้งแท่นหลุมผลิตและการดำเนินงานวางท่อ (Infield Pipelines) ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ในส่วนของเรือ FPSO (Floating Production Storage and Offloading) การก่อสร้างได้แล้วเสร็จและทำการเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองระบบและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในขั้นสุดท้าย เพื่อให้พร้อมสำหรับการผลิตน้ำมัน ที่ระดับเริ่มต้นประมาณ 18,000-20,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มถึงระดับ 40,000 บาร์เรลต่อวันภายในปลายปี 54

โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในส่วนของการพัฒนาแหล่งมอนทารานั้น ปัจจุบันเรือ FPSO อยู่ระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพและมาตรฐานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศออสเตรเลีย ส่วนแท่นหลุมผลิตส่วนบน (Wellhead Platform Topside) อยู่ระหว่างการทดสอบระบบการทำงาน (Onshore Pre-commissioning/commissioning) คาดว่าจะนำไปติดตั้งที่แหล่งผลิตได้ในไตรมาส 3/54 และคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตน้ำมันจากแหล่งมอนทาราได้ภายในไตรมาส 1/55

ส่วนการทำตามแผนการปรับปรุงแก้ไขเนื่องจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทารา (Action Plan) ได้มีการรายงานความคืบหน้าต่อกระทรวงทรัพยากรและพลังงานของประเทศออสเตรเลีย (Department of Resources and Energy) อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย พีทีวาย จำกัด อาทิ การแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศออสเตรเลียและเอเชียแปซิฟิค และการแต่งตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขณะที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยนั้น นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ฯ จนถึงสิ้นไตรมาส 2/54 ได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้นจำนวน 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) โดยการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เหลือมี ความคืบหน้าเป็นลำดับ

ด้านการเรียกร้องค่าชดเชยจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลโดยรัฐบาลอินโดนีเซียนั้น เนื่องจากเอกสารการเรียกร้องค่าชดเชยยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนในการพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสียหาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษา Socio-economic survey ในธุรกิจประมงเพื่อพิสูจน์ผลกระทบ (หากมี) ทั้งนี้ บริษัทยังคงยึดหลักการที่จะพิสูจน์หลักฐานและผลกระทบ (หากมี) โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

โครงการบงกชใต้ ในส่วนของแท่นที่พักอาศัย (Living Quarters Platform) ได้ดำเนินการติดตั้งที่แหล่งผลิตเสร็จสิ้นแล้ว สำหรับส่วนของแท่นผลิตกลางส่วนบน (Processing Platform Topside) มีกำหนดการเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งผลิตภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ คาดว่าจะดำเนินการผลิตได้ภายในครึ่งแรกของปี 55

และการพัฒนาโครงการพม่าซอติก้า ปัจจุบันได้เริ่มต้นงานวิศวกรรมในรายละเอียด(Detailed Engineering) ซึ่งครอบคลุมถึงงานก่อสร้างแท่นผลิตกลางและแท่นหลุมผลิตไปแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดจ้างการวางท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเล รวมถึงท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์การผลิตบนบก นอกจากนี้ยังได้เตรียมการขุดเจาะหลุมผลิตในเฟสแรก ทั้งนี้คาดว่า จะสามารถเริ่มทำการผลิตก๊าซธรรมชาติได้ภายในปี 56

โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ปัจจุบันได้เริ่มการผลิต (first oil) ในพื้นที่ Leismer ตั้งแต่เดือนมกราคม 54 เป็นต้นมา มีการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ โดยปัจจุบันสามารถผลิตได้ในระดับ 14,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างมาก นอกจากนี้ทั้งพื้นที่ Leismer และพื้นที่ Cornerนได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานรัฐบาลให้ผลิตได้ที่ 40,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละพื้นที่แล้ว โดย Corner นั้นคาดว่าจะมีการทำ Final Investment Decision (FID) ภายในปี 55 เพื่อเริ่มการพัฒนาพื้นที่ และคาดว่าจะเริ่มกระบวนการอัดไอน้ำ (first steam) ได้ภายในปี 59

PTTEP ทบทวนผลการดำเนินงานของโครงการสำรวจปิโตรเลียมต่างๆ ในไตรมาส 2/54 ได้ยุติการสำรวจและคืนพื้นที่แปลงสำรวจในโครงการพม่า เอ็ม 4 ประเทศสหภาพพม่า ภายหลังจากได้ดำเนินการตามภาระผูกพันเสร็จสิ้น แต่ยังมีการสำรวจในอีก 3 แปลง ได้แก่ เอ็ม 3, เอ็ม 7 และเอ็ม 11 และมีการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมโครงการพม่าซอติก้า และมีโครงการร่วมทุนที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตแล้ว 2 โครงการ ได้แก่โครงการยาดานา และโครงการเยตากุน ส่วนใหญ่จากโครงการอินโดนีเซีย เซไม ทู โครงการพม่า เอ็ม 3, เอ็ม 7 และเอ็ม 11และโครงการบงกช นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ปีนี้เพิ่มขึ้นจากโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จากโครงการอาทิตย์ โครงการเอส 1 และโครงการคอนแทร็ค4 ตามสินทรัพย์พร้อมใช้งานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้น จาก

PTTEP และบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,740 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เกิดจากการจ่ายชำระเงินงวดสุดท้ายตามสัญญา Partnership Unit SaleAgreement กับบริษัท Statoil Canada Ltd. และ Statoil Canada Holding Corp.เพื่อซื้อหุ้นส่วนในสัดส่วนร้อยละ 40 ในโครงการ แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี จำนวน 1,890 ล้านดอลลาร์ สรอ. การลงทุน เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี โครงการอาทิตย์ โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย และโครงการบงกช จำนวน 773 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว โดยมีปัจจัยบวกจากการเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะประเทศจีน และ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่งผลให้เกิดความต้องการน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ในกลุ่มประเทศในทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ยังไม่สงบ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น

ในขณะเดียวกันปัจจัยที่ส่งผลลบต่อราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ได้แก่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก และความกังวลของภาวะหนี้ของประเทศในแถบยุโรปซึ่งทำให้เกิดความผันผวนของราคาน้ำมัน ดังนั้น ปตท.สผ. จึงได้มีการติดตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานอย่างใกล้ชิดและมีแนวทางในการบริหารงาน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจดังนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ