PTTCH คาด Q3/54 ราคาผลิตภัณฑ์ทรงตัวสูงหรืออาจดีขึ้นเล็กน้อยจาก Q2/54

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 29, 2011 14:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ปตท. เคมิคอล (PTTCH) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3/2554 คาดว่าราคาผลิตภัณฑ์โดยรวมน่าจะยังสามารถคงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับราคาผลิตภัณฑ์ในไตรมาส 2/2554 และอาจปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากความต้องการใช้เม็ดพลาสติกเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการผลิตสินค้าสาหรับเทศกาลต่างๆ ช่วงปลายปี ภายใต้สมมุติฐานว่าราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 100-110 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์และความกังวลต่อเศรษฐกิจของโลกจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปเริ่มคลี่คลาย

ดังนั้น ราคา Naphtha (MOPS) ในไตรมาส 2/54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม เป็น 997 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือเพิ่มขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากการปรับตัวขึ้นของราคา Naphtha ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ทำให้ราคาเฉลี่ยผลิตภัณฑ์โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคา Ethylene เท่ากับ 1,291 เหรียญสหรัฐ/ตัน HDPE เท่ากับ 1,389 เหรียญสหรัฐ/ตัน LLDPE เท่ากับ 1,380 เหรียญสหรัฐ/ตัน LDPE เท่ากับ 1,683 เหรียญสหรัฐ/ตัน และ MEG เท่ากับ 1,300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19%, 17%, 12%, 22% และ 26% ตามลำดับ

PTTCH รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/54 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 6,432 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 180% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรต่อหุ้น 4.24 บาท ภายใต้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย (Dubai) 111 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 78 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์ ตามปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม

ขณะที่ปริมาณการขายโดยรวมเพิ่มขึ้น จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเริ่มดาเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ของโรงงานใหม่ของบริษัท 4 โรง ได้แก่ โรง Cracker ของ PTTPE โรงผลิต HDPE (ของส่วนขยายของโรงโอเลฟินส์ I1 และ BPE 2) และโรงผลิต LDPE ของ PTTPE เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.53, 1 ม.ค.54 และ 1 ก.พ.54 ตามลำดับ

ไตรมาส 2/54 บริษัทมีรายได้จากการขาย 38,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59% โดยรายได้จากโอเลฟินส์เพิ่มขึ้น 2,931 ล้านบาท หรือ 45% จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 26% เป็น 239,367 ตัน อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 32.38 บาท/เหรียญสหรัฐในไตรมาส 2/53 เป็น 30.27 บาท/เหรียญสหรัฐในไตรมาสนี้ ทาให้ราคาขายเฉลี่ยโอเลฟินส์(SEA) เทียบเป็นสกุลเงินบาทปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 17%

รายได้จากการขายเม็ดพลาสติก HDPE เพิ่มขึ้น 8,030 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 140% จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 110% เป็น 203,046 ตัน แต่จากเงินบาทแข็งค่าทำให้ราคาขายเฉลี่ย HDPE จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 9% นอกจากนี้ในไตรมาส 2/53 โรง HDPE ของ BPE 1 หยุดการผลิตเป็นเวลา 30 วัน ทำให้รายได้จาก HDPE ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมีนัยสาคัญ

รายได้จากการขายเม็ดพลาสติก LLDPE เพิ่มขึ้น 927 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 55% จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 56% เป็น 61,171 ตัน ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ย LLDPE (SEA) เพิ่มขึ้น 12% แต่จากเงินบาทแข็งค่าทำให้ราคา LLDPE เพิ่มขึ้นเพียง 5%

สำหรับรายได้จากการขายเม็ดพลาสติก LDPE เพิ่มเข้าจากการเริ่มดำเนินการผลิตตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.54 ขณะที่ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ EO และ MEG ลดลง 313 ล้านบาท หรือลดลง 12% จากปริมาณการขาย MEG ที่ลดลง 34% เป็น 54,425 ตัน จากการหยุดโรงงานเพื่อทำ Turnaround เป็นเวลา 30 วัน แม้ว่าในไตรมาสนี้ ราคา MEG จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 26% หรือเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินบาทก็ตาม

ในด้านต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 50% เป็น 23,735 ล้านบาท จากปริมาณการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยผลิตใหม่ประกอบกับ ราคาอ้างอิงวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ ราคาแนฟทาปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ามันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตของหน่วยผลิตใหม่ของบริษัทฯ เช่นกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 41% เป็น 4,587 ล้านบาท

บริษัททำ Forward Contract ในไตรมาส 2/54 จำนวน 180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อรวมกับ Exposure เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ เดิม 842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หุ้นกู้ + Cross Currency Swap + Forward Contract) ทาให้ บริษัทฯ มี Exposure เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ ทั้งสิ้น 1,022 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงในไตรมาสนี้ ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและอนุพันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 310 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ