บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) และบริษัทย่อย ชี้แจงว่า ผลการดำเนินงานประจำปี 2554 (งวดเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงตุลาคม 2554) บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 1,890 ล้านบาท มีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,731 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1,089 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจาก ธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทย ยอดขายน้ำตาลและราคาขายน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นปรับตัวสูงขึ้น
บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จาก 4,342,083 ตัน ในปี 2553 เป็น 6,171,8 51 ตัน ในปี 2554 ส่งผลให้บริษัทมียอดขายน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จาก 466,089 ตัน ในปี 2553 เป็น 617,01 3 ตัน ในปี 2554 และสืบเนื่องจากราคาน้ำตาลตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2554 ส่งผลให้ราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยของบริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยปรับลดลง สืบเนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยปรับตัวลดลง นอกจากนี้ในปี 2553 บริษัทได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทมีปริมาณน้ำตาลที่สามารถส่งออกได้จริงต่ำกว่าปริมาณที่ทำสัญญา และปริมาณที่ป้องกันความเสี่ยงไว้ (Oversold) ซึ่งในปี 2554 บริษัทไม่มีผลกระทบดังกล่าว ในภาพรวมส่งผลให้ธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทยของบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 158 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 1,619 ล้านบาทในปี 2554
ส่วนธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ในปี 2554 บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จาก 137,13 4 MW-hr ในปี 2553 เป็น 172 ,879 MW-hr ในปี 2554 ส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าที่บ่อพลอย เฟส 1 ได้เปิดดำเนินการ ราคาขายไฟฟ้าเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในภาพรวม ส่งผลให้ในธุรกิจไฟฟ้า บริษัทมีผลประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จาก 192 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 256 ล้านบาทในปี 2554
ธุรกิจผลิตเอทานอลและปุ๋ย สืบเนื่องจากราคาวัตถุดิบกากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับ ราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรต่อหน่วยลดลง ผลประกอบการในธุรกิจเอทานอลในภาพรวม ปรับตัวลดลงจาก 79 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 49 ล้านบาทในปี 2554 ทำให้ในปี 2554 บริษัษัทมีปริมาณขายเอทานอลทั้งหมด 29 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจน้ำตาลในต่างประเทศ ผลประกอบการของบริษัทมีผลขาดทุนลดลง ในปี 2553 บริษัทมีผลขาดทุนที่กระทบต่องบรวม ทั้งสิ้น 285 ล้านบาท ในปี 2554 บริษัท ขาดทุนลดลงเหลือ 68 ล้านบาท ด้วยเหตุที่บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น และราคาขายน้ำตาลทีที่ปรับตัวสูงขึ้น