บมจ.ปตท. สารวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP)หรือ ปตท.สผ. ชี้แจงผลประกบอการงวดไตรมาส 1/55 ว่า ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,627 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือ เทียบเท่า 50,448 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,310 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ เทียบเท่า 40,011 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 317 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือ 24% โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น 320 ล้านดอลลาร์ สรอ.
สาเหตุดังนี้ ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเป็น 64.79 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยของไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 49.36 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขายเฉลี่ยลดลงเป็น 253,411 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 1/54 ที่ 271,292 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน โดยปริมาณการขายที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจาก โครงการอาทิตย์เหนือ ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทลดลง เนื่องจากโครงการอาทิตย์เหนือได้หยุดการผลิตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 และ ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทของโครงการอาทิตย์ลดลงเป็นไปตามปริมาณการส่งมอบก๊าซตามสัญญาซื้อขาย(Daily Contract Quantity)
ขณะที่ โครงการเวียดนาม 16-1: ปริมาณการขายน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเนื่องจากเริ่มมีการขายน้ำมันดิบในไตรมาส 3/54 โครงการ เอสปริมาณการขายน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากหลุมการผลิตใหม่และจากการใช้เทคนิค Beam Pumpในการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้น
ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการบริการท่อขนส่งก๊าซเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นรายได้ตามสัดส่วนใน Moattama Gas ransportation Company (MGTC) และ Taninthayi Pipeline Company LLC (TPC)
ไตรมาส 1/55 ปตท.สผ.และบริษัทย่อย มีรายได้อื่นๆ จำนวน 23 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/54 ซึ่งมีรายได้อื่น ๆ จำนวน 13 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการรับรู้รายได้อื่น ๆ จากการโอนสัดส่วนการร่วมทุนในโครงการอาทิตย์เหนือให้กับผู้ร่วมทุนโครงการอาทิตย์ตามสัดส่วนเดิม
ปตท.สผ. และบริษัทย่อยรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 34 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ เทียบเท่า 1,064 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 63 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือ เทียบเท่า 1,906 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการ Non-Recurring
ด้านค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 797 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า 24,692 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 712ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า 21,722 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นผลสุทธิจาก ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นจำนวน 37 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่จากโครงการ แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ตามกิจกรรมการผลิตที่สูงขึ้น
และ ค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 37 ล้านดอลลาร์ สรอ.ตามรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 26 ล้านดอลลาร์สรอ. ส่วนใหญ่จาก โครงการเอส 1 โครงการคอนแทร็ค4 ตามสินทรัพย์พร้อมใช้งานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้นจาก โครงการเวียดนาม 16-1 ที่เริ่มมีการผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2554
แต่ค่าใช้จ่ายในการสำรวจปิโตรเลียมลดลง 21 ล้านดอลลาร์ สรอ. สาเหตุหลักเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่ายหลุมสำรวจลดลงจำนวน 25 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในไตรมาส 1/55 มีค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่ายหลุมของโครงการกัมพูชา บี และโครงการคอนแทร็ค 3 แปลง G6/50 ในขณะที่ไตรมาส 1/54 มีค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่ายหลุมสำรวจที่สูงกว่าซึ่งส่วนใหญ่มาจากโครงการพม่า แปลง เอ็ม 7 และจากโครงการบงกช ค่าใช้จ่ายในการสำรวจปิโตรเลียมของไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่จากโครงการพม่า เอ็ม 3 และเอ็ม 11
ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 3 ล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/54 เป็นผลสุทธิของการเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ในต่างประเทศ ในขณะที่ภาษีเงินได้ที่เกิดจากผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นรายการ Non-Recurring มีจำนวนที่ลดลง
สำหรับรายการ Non-Recurring ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีกำไรจากรายการ Non-Recurring จำนวน 51 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจำนวน 35 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากไตรมาส 1/54 ที่มีกำไรจากรายการ Non-Recurring จำนวน 16 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เกิดจากผลสุทธิของ
ผลการดำเนินงานก่อนสอบทาน (Unreviewed) ในไตรมาส 1/55 ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 589 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า 18,288 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นปรับลด 0.18 ดอลลาร์ สรอ.หรือเทียบเท่า 5.51 บาท มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 100 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือ 20% เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิในไตรมาสก่อน จำนวน 489 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า 15,150 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นปรับลด 0.15 ดอลลาร์ สรอ.หรือเทียบเท่า 4.56 บาท มีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Return on shareholders’ equity) สำหรับไตรมาส 1/55 อยู่ที่ 36%
ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศไทยยังมีความเปราะบางและมีความไม่แน่นอน ปตท.สผ.จึงได้ติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และทบทวนแผนการดำเนินงาน การลงทุนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาศักยภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
ด้านการสารวจ ปตท.สผ. ได้ดำเนินกิจกรรมการสำรวจในโครงการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินศักยภาพของแปลงและเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ปตท.สผ. มีการดำเนินการกิจกรรมสำรวจในโครงการต่างๆ อาทิโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ได้มีการเตรียมการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนสามมิติ และการขุดหลุมประเมินผล Maple-2 ในไตรมาส 2 ปี 2555 เพื่อประเมินศักยภาพและปริมาณสำรองของแหล่ง Cash—Maple ในโครงการ FLNG ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลติมอร์ ประเทศออสเตรเลีย เพิ่มเติมจากผลหลุม Cash-2 ที่ขุดพบก๊าซธรรมชาติไปเมื่อช่วงปลายปี 2554 และขณะนี้โครงการ FLNG กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้น (Pre-FEED) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพาณิชย์ในการพัฒนาแหล่งก๊าซแห่งนี้
โครงการโอมาน 44 เริ่มดำเนินการขุดเจาะหลุมสำรวจ Shams-17 โดยได้ขุดเจาะถึงความลึกสุดท้าย และได้ทำ Wireline Logging และ Well Completion เพื่อเตรียมทดสอบอัตราการไหลของปิโตรเลียม (Well Testing) ในเดือนเมษายน 2555 โครงการพม่าเอ็ม3 และ เอ็ม11 แปลงเอ็ม 3 รัฐบาลพม่าเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาสำรวจอีก 1 ปีเพื่อให้บริษัทฯ ดำเนินการเจาะหลุมสำรวจ และหลุมประเมินผลเพื่อพิสูจน์ศักยภาพเชิงพาณิชย์ต่อไป ทั้งนี้บริษัทฯได้ดำเนินงานสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติและอยู่ระหว่างการประมวลผลข้อมูล โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาแท่นขุดเจาะและเตรียมการเจาะหลุมประเมินผลตามแผนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ในส่วนของแปลงน้ำลึกเอ็ม 11 เสร็จสิ้นการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ และอยู่ระหว่างการประมวลผลข้อมูล โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาแท่นขุดเจาะและเตรียมการเจาะหลุมสำรวจตามแผนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555
โครงการอินโดนีเซีย เซไม ทู ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์ทางธรณีวิทยาเพิ่มเติมเพื่อประเมินศักยภาพปิโตรเลียม และกำหนดตำแหน่ง รวมถึงแผนการขุดหลุมสำรวจหลุมที่ 2 ซึ่งเป็นหลุมสำรวจน้ำตื้น ตามข้อผูกพันกับรัฐบาลอินโดนีเซีย คาดว่าจะเริ่มการขุดเจาะได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555
โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ผลการเจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 (RTF-1) ซึ่งเป็นหลุมสำรวจหลุมแรก พบหินกักเก็บปิโตรเลียม โดยมีผลทดสอบอัตราการไหลของน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 0.3 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทั้งนี้ โครงการมีแผนการขุดเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันศักยภาพทางปิโตรเลียมต่อไป
โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี เสร็จสิ้น Winter Evaluation Program ประจำปี 2554 - 2555 โดยเจาะหลุมประเมินผลแล้วเสร็จ 156 หลุม และทำการวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3D และ 4D ในแหล่ง Leismer, Thornbury และ Hangingstone เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินการผลิตของแหล่ง Leismer และประเมินศักยภาพเพื่อการผลิตของแหล่ง Thornbury และ Hangingstone ต่อไป
ด้านการพัฒนาโครงการ ปตท.สผ. ได้เร่งพัฒนาโครงการทั้งในประเทศไทยและโครงการที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อให้บริษัทฯสามารถเริ่มการผลิตปิโตรเลียมได้ตามแผนการดำเนินการของบริษัทฯ อาทิ โครงการบงกช บริษัทฯได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งบงกชใต้แล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ และได้เริ่มการผลิตและทดสอบระบบการส่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555
ขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตและส่งก๊าซธรรมชาติให้กับ บมจ.ปตท. (PTT) ที่อัตราประมาณ 50 ถึง 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทประมาณ 3,000 ถึง 4,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทฯจะทยอยเพิ่มระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติขึ้นตามลำดับ และคาดว่าจะถึงระดับการผลิตที่ 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการส่งก๊าซธรรมชาติ (Daily Contract Quantity) ตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ ปตท. ได้ภายในไตรมาส 2/55
โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย การพัฒนาแหล่งมอนทารามีความคืบหน้าตามลำดับ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขุดเจาะหลุมผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในไตรมาส 4/55 สำหรับการเรียกร้องค่าชดเชยจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทาราโดยรัฐบาลอินโดนีเซียนั้น บริษัทฯยังคงเจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการที่จะพิสูจน์หลักฐานและผลกระทบ (หากมี) โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
โครงการพม่าซอติก้า เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 บริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ.อ.) ได้มีการลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint Operating Agreement) กับ Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) โดยมีสาระสำคัญหลักคือ MOGE จะเข้าถือสัดส่วนร้อยละ 20 ในโครงการพม่าซอติก้า ซึ่งเป็นไปตามสัญญา Production Sharing Contract และข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่าง ปตท.สผ.อ. และ MOGE ที่ระบุให้ MOGE มีสิทธิเข้าร่วมทุนในโครงการหลังการอนุมัติการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ ปตท.สผ.อ. จะถือสัดส่วนร้อยละ 80 และยังคงเป็นผู้ดำเนินการในโครงการนี้ต่อไป
ด้านการก่อสร้างแท่นขุดเจาะ แท่นผลิต ท่อขนส่งในทะเลและบนบกความยาว 300 กิโลเมตรมีความคืบหน้าตามลำดับ โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตภายในปี 2556
โครงการแอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมสำหรับกระบวนการผลิตและท่อขนส่ง ส่วนงานก่อสร้างที่พัก และระบบสาธารณูปโภค ผู้ร่วมทุนได้อนุมัติรายงานการประเมินผลทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์ของสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานด้านการพัฒนาหลุมผลิต ขณะนี้ได้เริ่มการขุดเจาะหลุมพัฒนาแล้ว
ด้านการผลิต ปตท.สผ. มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษากำลังการผลิตในปัจจุบัน และเพิ่มกำลังการผลิตจากโครงการใหม่ๆ อาทิ โครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี แหล่ง Leismer อัตราการผลิตเฉลี่ย ในไตรมาสแรกของปี 2555 อยู่ที่ประมาณ 16,450 บาร์เรลต่อวัน และสามารถผลิตบิทูเมนได้ครบ 5 ล้านบาร์เรลในเดือนมีนาคม โดยได้รับการอนุมัติการก่อสร้าง Well Pad ที่ 5 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้กลางปี 2556 ในส่วนของ Well Pad ที่ 6 นั้นยังคงอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มได้ในปี 2557
นอกจากนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการติดตั้ง Steam Generator ตัวที่ 4 เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตเป็น 22,000 บาร์เรลต่อวัน และได้เริ่มร่างแผนงานการขยายกำลังการผลิต (Leismer Expansion) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตให้เป็น 40,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2558 ในส่วนของแหล่ง Corner จะสามารถเริ่มงานออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้น (FEED) ได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำสัญญาการก่อสร้าง (EPC) ในกลางปี 2556 และคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตได้ปี 2559
ด้านการบริหารการลงทุน ปตท.สผ. ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในด้านบริหารการลงทุน (Portfolio Management) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การลงทุนมีความเหมาะสมทั้งในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการและการบริหารความเสี่ยง โครงการพม่า เอ็ม 7 บริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ยุติการสำรวจและคืนพื้นที่แปลงสำรวจในโครงการพม่า เอ็ม 7 ภายหลังจากได้ดำเนินการตามภาระผูกพันเสร็จสิ้น ซึ่งการยุติการลงทุนดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555