นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) กล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาส 2/55 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 851 ล้านบาท ปรับลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 90 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 2/55 อยู่ที่ 106 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ลดลงจากไตรมาส 2/54 ที่ราคาเฉลี่ย 111 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล หรือลดลงร้อยละ 4
สาเหตุมาจากตลาดคลายความกังวลต่อปัญหาความไม่สงบในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ ประกอบกับอุปทานในตลาดโลกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อและเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวยังเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบตลอดไตรมาส ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ลดต่ำถึงระดับ 93 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลในวันปิดไตรมาส 2/55 ส่งผลให้บริษัทฯ เกิด Stock Loss จากการคำนวณจำนวน 5,073 ล้านบาท และค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 1,114 ล้านบาท
ในไตรมาส 2/55 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 106 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากไตรมาส 2/54 ที่ราคาเฉลี่ย 111 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล คิดเป็น 4% และลดลงจากไตรมาส 1/55 ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 116 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล คิดเป็น 8% สาเหตุหลักเกิดจากตลาดความความกังวลต่อปัญหาความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ ประกอบกับอุปทานตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัญหาหนี้สินยุโรปที่ยืดเยื้อและเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัว ทำให้ไตรมาสนี้บริษัท มี Stock Loss จำนวน 5,073 ล้านบาท และค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ (NRV) 1,114 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาส่วนปริมาณการและและปริมาณการขายของผลิตภัณฑ์หลักโดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์หลักโดยรวมลดลงเล็กน้อย ส่งผลให้ Adjusted EBITDA ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า
นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุระเบิดที่โรงงานของบริษัท BSTE ซึ่งส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อธุรกิจโอเลฟินส์ และเมื่อวันที่ 31 พ.ค.55 บริษัทเข้าลงทุนใน 2 บริษัทต่างประเทศ คือ การซื้อหุ้น 51% ของหุ้นทั้งหมดใน Perstorp Holding France SAS จากผู้ถือหุ้นเดิมและได้เปลี่ยนชื่อกิจการเป็น Vencorex Holding และการเข้าร่วมลงทุน 50% ในบริษัท NatureWorks LLc อีกทั้งเมื่อ 27 ก.ค.55 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติปรับสูตรราคาซื้อขายวัตถุดิบปิโตรเคมีจาก๊าซธรรมชาติกับ บมจ.ปตท.(PTT)ซึ่งกระทบต่อต้นทุนราคาวัตถุดิบประมาณ 40 เหรียญสหรัฐ/ตันวัตถุดิบ คิดเป็น 8%
สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ ในไตรมาส2/55 โรงกลั่นน้ำมันมีวัตถุดิบนำเข้ากลั่นรวม 18.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาส 1/55 เนื่องจากมีคอนเดนเสทเรสิดิวนำเข้ากลั่นมากขึ้นจากการิส้นสุดสัญญาขายให้กับ ปตท. ตั้งแต่ 31 ม.ค.55 ทั้งนี้มีอัตรา CDU Utilization ที่ 98% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ ที่ 3% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้มูลค่าสูงสุดตลอดสายการผลิต ทั้งนี้บริษัทสามารถขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้ทั้งสิ้น 17.74 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาส 1/55 เนื่องจากสามารถเดินเครื่องหน่วย Condensate Rasidue Spliter (CRS) ได้เต็มกำลัง
กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ โรงอะโรเมติกส์ทั้งสองโรงมีอัตราใช้กำลังการผลิต (BTX Utilization) 90% อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีปริมาณขายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13% เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลายและขั้นกลางปรับลดอัตราการผลิต โดยเฉพาะผู้ผลิต Polyester ในภูมิภาคเอเชียและจีนได้ปรับลดอัตราการผลิตลงมาอยู่ในระดับ 65-70 % จาก 75-80 %
กลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ อัตราการใช้กำลังการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ในไตรมาสนี้ 89% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2/54 ที่ 84% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/55 ที่ 86% เนื่องจากในไตรมาสนี้โรงโอเลฟินส์ของบริษัทฯ ไม่มีการหยุดเดินเครื่องทำให้สามารถผลิตได้อย่างเต็มที่ โดยราคาเอทิลีนเฉลี่ยในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,146 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับลดลง 11% จากไตรมาส 2/54 ที่ระดับ 1,291 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันและลดลง 9% จาก ไตรมาส 1/55 ที่ระดับ 1,251 เหรียญสหรัฐฯ
กลุ่มโพลิเมอร์ จากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกลดลงตามไปด้วย โดยเม็ดพลาสติก HDPE มีปริมาณการขายลดลง 8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/54 เม็ดพลาสติก LLDPE ราคาปรับตัวลดลง 3% จากไตรมาส 2/54 ขณะที่ปริมาณขายเพิ่มสูงขึ้น 14% เม็ดพลาสติก LDPE มีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8% และลดลง 9%จากไตรมาส 1/55 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต 98% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/55 ที่ 71% เนื่องจากไตรมาสนี้ไม่มีแผนการหยุดผลิตโรงงาน LDPE ทำให้สามารถผลิตได้อย่างเต็มที่
กลุ่มผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ ผลการดำเนินงานโดยรวมดีขึ้นจากไตรมาส 2/54 และไตรมาส 1/55 แม้ว่าราคาผลิตภัณฑ์ในไตรมาส 2/55 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,149 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 2/54 ที่ราคา 1,300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลง 13% แต่ปริมาณขาย MEG ในไตรมาส 2/55 เพิ่มขึ้น 64% จากไตรมาส 2/54 และเพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาส 1/55