PTTEP เผย Q3/55 รายได้โต 28%YoY, 9%QoQ ปริมาณขาย 2.92 แสนบาร์เรล/วัน

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday October 25, 2012 09:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/55 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 558 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 17,526 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.17 ดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 5.28 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 7,450 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 ดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 2.24 บาท และเพิ่มขึ้น 45 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ คิดเป็น 10% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2/55 ที่มีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่ 461 ล้านดอลลาร์ สรอ.

กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3/55 ประกอบด้วย กำไรจากการดาเนินงานตามปกติจำนวน 506 ล้านดอลลาร์ สรอ. และกำไรจากรายการ Non-Recurring จานวน 52 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ทั้งนี้ รายได้รวมของบริษัทในไตรมาส 3/55 มีทั้งสิ้น 1,820 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 57,083 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 398 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/54 ซึ่งมีรายได้รวม 1,422 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 42,837 ล้านบาท และ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนจานวน 1,667 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 52,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 153 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือ 9%

ส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น 381 ล้านดอลลาร์ สรอ.ที่มาจากราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ของไตรมาส 3/55 เพิ่มขึ้นเป็น 64.00 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยของไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 55.37 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ

และปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 3/55 เพิ่มขึ้นเป็น 292,228 บาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบต่อวัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายเฉลี่ยสาหรับไตรมาส 3/54 ที่ 264,961 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 2/55 ที่ 263,441 บาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบต่อวัน

สำหรับปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากโครงการบงกชที่มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทเพิ่มขึ้นจากแหล่งบงกชใต้ที่เริ่มมีการผลิตตามกำหนดในสัญญาซื้อขายในเดือน มิ.ย.55 และโครงการบงกชเหนือมีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติ และ คอนเดนเสทเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีการหยุดผลิต ในไตรมาส 3/55 ในขณะที่ระหว่างไตรมาส 3/54 มีการหยุดการผลิตบางส่วนจำนวน 15 วัน

โครงการเวียดนาม 16-1 มีปริมาณการขายน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3/55 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตจากหลุมใหม่จานวน 5 หลุม ในขณะที่ใน ไตรมาส 3/54 เป็นไตรมาสแรกที่เริ่มมีการผลิต และโครงการเอส1 มีปริมาณการขายน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากหลุมการผลิตใหม่และจากการใช้เทคนิค Beam Pump ในการผลิตน้ามันดิบมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โครงการอาทิตย์เหนือ มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทลดลง เนื่องจากโครงการอาทิตย์เหนือได้หยุดการผลิตตั้งแต่เดือนพ.ย.54 และ โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทลดลงเนื่องจากระหว่างไตรมาส 3/55 มีการหยุดการผลิตจานวน 10 วันเพื่อซ่อมบารุงประจาปี ในขณะที่มีการหยุดผลิต เพียง 5 วันในไตรมาส 3/54

บริษัทและบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 967 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 30,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 932 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 28,141 ล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานงวดเก้าเดือนปี 55 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 5,081 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 158,617 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 2,712 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 84,688 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,397 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 43,548 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.42 ดอลลาร์ สรอ.เทียบเท่า 13.12 บาท เมื่อเทียบกับงวด 9 เดือนปี 54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 979 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 29,599 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.30 ดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 8.92 บาท

สำหรับฐานะการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 ก.ย.55 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 17,258 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 532,061 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 9,975 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 307,527 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 7,283 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 224,534 ล้านบาท

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 3/55 ยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่โลกที่ยังคงชะลอตัว สาเหตุหลักจากความไม่ชัดเจนของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป รวมถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯหลังจากการออกมาตรการ QE3 ยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่แผนการนาปริมาณสารองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯมาใช้ยังคงมีความเป็นไปได้

แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงหนุนจากการปิดซ่อมบารุงแหล่งผลิตในทะเลเหนือ ปัญหาความตึงเครียดในตะวันออกกลางและฤดูกาลเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 เฉลี่ยอยู่ที่ 106.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

สำหรับราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับเฉลี่ยประมาณ 100-115 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ นักลงทุนและนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหภาพยุโรป (EU)และมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือ QE3 จะเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ามันดิบในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่ยังไม่ฟื้นตัว และปริมาณน้ำมันที่มีมากกว่าความต้องการ ยังคงเป็นปัจจัยสาคัญที่กดดันราคาน้ามันดิบโลกไม่ให้ปรับสูงขึ้นมากนักเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวน ปตท.สผ. จึงได้มีการติดตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานอย่างใกล้ชิด และมีแนวทางในการบริหารงาน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ