ทั้งนี้ นายประสิทธิ์ กาญจนศักดิ์ชัย เป็นเจ้าของธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 3 บริษัทได้แก่ บมจ.ไทยคอนส์แอนด์บิลดิ้ง เมนูแฟ็คเจอริ่ง บริษัท ที.ซี.บี. โฮมเซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท ซี.เอ็ม เมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด รวมทั้งเป็นกรรมการอิสระของ บล.โนมูระ พัฒนสิน นอกจากนี้ยังเป็นนักลงทุนที่มีศักยภาพในด้านเงินทุนและสามารถตัดสินใจลงทุนกับบริษัทได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการใช้เงินของ ลีซ อิท เนื่องจากปัจจุบันบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Core Business)ดังนั้น ลีซ อิท จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่
บริษัท ลีซ อิท จะดำเนินการเพิ่มทุนจำนวน 84,000,000 หุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปและกรรมการพนักงานจำนวน 50,400,000 หุ้น และเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (Pre-emptive Right) จำนวน 33,600,000 หุ้น ในราคาเสนอขายและในคราวเดียวกับการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปของ ลีซ อิท เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทได้เข้าลงทุนใน ลีซ อิท และช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจากการที่สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทในลีซ อิท ลดลงจากร้อยละ 86.21 ของทุนจดทะเบียนของลีซ อิท เหลือร้อยละ 50.00 ของทุนจดทะเบียนของ ลีซ อิท
การนำลีซ อิท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอเพื่อระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งลีซ อิท จะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 116,000,000 บาท เป็น 200,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทโดยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 50,400,000 หุ้น ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกรรมการพนักงานของ ลีซ อิท และจำนวน 33,600,000 หุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (Pre-emptive Right)
นอกจากนี้ SVOA จะเสนอขายหุ้นเดิมใน ลีซ อิท ที่บริษัทถืออยู่จำนวน 6,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.00 ของทุนจดทะเบียนของ ลีซ อิท เพื่อเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป พร้อมกับการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของ ลีซ อิท ให้กับประชาชนทั่วไป ในราคาเสนอขายและในคราวเดียวกับการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปของ ลีซ อิทดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจะลดลงร้อยละ 53 เหลือร้อยละ 47.00 ของทุนจดทะเบียนของ ลีซ อิท
ทั้งนี้ มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทนประกอบด้วย มูลค่าขาย 90 ล้านหุ้น เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวยังไม่ได้กำหนด ดังนั้นจึงคำนวณราคาเสนอขายจากมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นของ ลีซ อิท ตามงบการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556 เท่ากับ 1.61 บาทต่อหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 100 ล้านหุ้น โดย จำนวนหุ้นที่ ลีซ อิทจะเสนอขาย 84 ล้านหุ้น และจำนวนหุ้นเดิมที่บริษัทจะเสนอขาย 6 ล้านหุ้น ทำให้คาดว่าจะมีมูลค่าขายเท่ากับ 144.49 ล้านบาท
มูลค่าขายให้กับบุคคลในวงจำกัด 16 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 1.50 บาท เท่ากับ 24.00 ล้านบาท (มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556 โดยสุทธิจากเงินปันผลจ่ายจำนวนเงิน 18.20 ล้านบาท เนื่องจากบุคคลในวงจำกัดไม่ได้รับสิทธิในการได้รับเงินปันผล มีมูลค่าเท่ากับ 1.42 บาทต่อหุ้น) และ ภาระค้ำประกันที่บริษัทค้ำประกันให้ ลีซ อิท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556 จำนวน 353.41 ล้านบาท
การเสนอขายหุ้นของ ลีซ อิท ที่บริษัทถืออยู่จะเกิดขึ้นภายหลังที่ ลีซ อิท ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ของปี 2557
ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียง (Control Dilution) ลีซ อิท ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป และกรรมการพนักงานจำนวน 84,000,000 หุ้น และบริษัทจะขายหุ้นเดิมที่ถือ ลีซ อิท จำนวน 6,000,000 หุ้นจะเป็นผลให้ส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียงของบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นของ ลีซ อิท ลดลงประมาณร้อยละ 53.00 ของส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิในการออกเสียงเดิม ดังนั้น ลีซ อิท จึงมีแผนที่จะเพิ่มทุนจำนวน 33,600,000 หุ้น เพื่อเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (Pre-emptive Right) เพื่อเป็นการลดสัดส่วนผลกระทบ