พร้อมทั้งมอบอำนาจให้นายธีรพงศ์ จันศิริ และนายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการ ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2555 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน PPC เพื่อเพิ่มอานาจควบคุมและส่วนได้เสียใน PPC นั้น ที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มดาเนินการตามมติดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อหุ้นของ PPC เพิ่มเติม และการขอผ่อนผันการทาคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PPC (การขอผ่อนผันการทาคาเสนอซื้อหลักทรัพย์" อันเป็นผลให้ในปัจจุบัน บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ PPC ที่ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 74.64 ของหุ้นที่จาหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ PPC และ PPC มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท
นอกจากนี้เพื่อความเหมาะสม และสอดคล้องกับสัดส่วนการถือหุ้นที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทจึงได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาผู้ถือหุ้น บริษัทได้ทำเข้าทำสัญญาผู้ถือหุ้นฉบับใหม่กับผู้ถือหุ้นของ PPC จำนวน 7 ราย
เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ บริษัทจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ PPC เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยบริษัทจะเสนอซื้อหุ้น PPC ในราคาที่ไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณจากวิธีที่กำหนดภายใต้ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ ของประกาศ ทจ.12/2554
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาราคาที่คำนวณได้จากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ราคาที่จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จะเท่ากับ 53.14 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม หากภายหลังจากที่คณะกรรมการของบริษัทได้อนุมัติราคาที่จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ PPC ในครั้งนี้ แต่ก่อนหน้าวันที่บริษัทจะยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ต่อ ก.ล.ต.ราคาหลักทรัพย์ของ PPC ซึ่งคานวณโดยทั้ง 4 วิธีที่กล่าวมาข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลง บริษัทจะต้องปรับราคาที่จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ PPC ให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น
ทั้งนี้ กำหนดให้เงื่อนไขที่ต้องดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จก่อนการทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์มีดังนี้ 1. การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ PPC ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และการเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ PPC ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท 2. การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ PPC ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของ PPC และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ PPC และ 3. การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ PPC ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการรับทราบการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งหุ้นสามัญของบริษัท ทีซีเอ็ม ฟิชเชอรี่ จากัด (TCM) บริษัท ทีเอ็มเค ฟาร์ม จากัด (TMK) และบริษัท ไทยยูเนี่ยน แฮชเชอรี่ จากัด (TUH) ให้กับบริษัท ทีเอ็มเอซี จากัด (TMAC) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จากัด และบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จากัด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจและเป็นลูกค้ารายสาคัญในตลาดประเทศญี่ปุ่นของกลุ่มบริษัท ตามที่มติคณะกรรมการครั้งที่ 6/2555 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2555
และจดหมายแจ้งมติที่ 53/551218 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ได้อนุมัติการลงทุนของบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จากัด (TFM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TUF เพื่อร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จากัด (MITSUBISHI) ประเทศญี่ปุ่น ด้วยสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 51:49 เพื่อจัดตั้งบริษัท ทีเอ็มเอซี จากัด ในประเทศไทย และหลังจากจัดตั้งแล้ว บริษัท ทีเอ็มเอซี จากัดจะทำการซื้อหุ้นทั้งหมดที่ถือโดย TFM ในบริษัท ไทยยูเนี่ยน แฮทเชอรี่ จากัด (TUH) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ TFM ที่ดำเนินธุรกิจลูกพันธุ์กุ้งในประเทศไทย รวมถึงบริษัท ทีซีเอ็ม ฟิชเชอรี่ (TCM) จำกัด และบริษัท ทีเอ็มเค ฟาร์ม จำกัด (TMK) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ TFM ที่ดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง ตามลำดับ ในราคายุติธรรม