ทั้งนี้ ภายหลังการรับซื้อ หุ้นดังกล่าว บริษัทฯ จะถือหุ้นในบริษัทย่อยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.19 ของหุ้นที่ออกและเสนอขายแล้วทั้งหมดของบริษัทย่อย
นอกจากนั้น ยังรับทราบผลการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 10,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาทต่อหุ้น ในราคาเสนอขายหุ้นละ 33 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยตามสัดส่วน และ/หรือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยที่ประสงค์จะได้รับการจัดสรรเกินส่วนตามแผนการเพิ่มการลงทุนในบริษัทย่อยโดยบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลเกี่ยวโยง ได้แก่ นายเจริญจันทร์พลังศรี นายไชยณรงค์ จันทร์พลังศรี นายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล และนายรุ่งศักดิ์ บุญชู ได้ขอสละสิทธิที่จะจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ตนจะได้รับการจัดสรรตามส่วน ในขณะที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยรายอื่นๆ ที่เหลือ (ซึ่งเป็นผู้สนใจร่วมลงทุนเฉพาะราย) ได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามส่วนและเกินสัดส่วนที่ได้รับการจัดสรรจึงทำให้บริษัทย่อยประสบผลสำเร็จในการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าวข้างต้นได้เต็มทัง้ จำนวน 330,000,000 บาท ตามแผนการเพิ่มการลงทุนในบริษัทย่อย
สาเหตุที่บริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยรายอื่นได้มีส่วนร่วมในการขยายกิจการของบริษัทย่อย นอกจากนั้น บริษัทษัทย่อยยังมีการลงทุนใน 4 บริษัท จึงจำเป็นต้องหาเงินทุนเพิ่มอีกประมาณ 300-350 ล้านบาท และเพื่อเป็นการลดภาระด้านเงินทุนของบริษัทฯ บริษัทฯจึงสละสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยการสละสิทธิในครั้งนีทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงจากร้อยละ 95.25 เป็นร้อยละ 64.58 ของหุ้นที่ออกและเสนอขายแล้วทั้งหมดของบริษัทย่อย
และที่ประชุมยังมีมติให้ชี้แจงให้ผู้ถือหุ้นทราบในเบือ้ งต้นถึงแผนการนำบริษัทย่อยเข้าระดมทุนในตลาดเอ็มเอไอ รวมถึง แผนการเพิ่มการลงทุนในบริษัทย่อยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ เพื่อให้บริษัทย่อยมีช่องทางในการระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปได้ โดยจะสามารถนำเงินไปใช้ในการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการลดภาระด้านเงินทุนจากบริษัทฯ ได้
ทั้งนี้ จากการที่บริษัทย่อยได้มีการจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 และบริษัท ช้างแรก ไบโอพาวเวอร์ จำกัด ที่บริษัทย่อยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 73.13 เริ่มขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอจะสามารถกระทำได้ภายหลังจากที่บริษัท ช้างแรก ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เริ่มขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี (อ้างอิงตามหลักเกณฑ์รับหลักทรัพย์จดทะเบียนของธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ) ดังนั้นบริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอได้ในปี 2557
นอกจากการลงทุนในบริษัท ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ จำกัด ซึ่งได้เริ่มดำเนินการทางพาณิชย์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น บริษัทย่อยยังมีการลงทุนในอีก 3 บริษัท ที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าชีวมวล ได้แก่บริษัท บางสะพานน้อย ไบโอแมส จำกัด บริษัท ทุ่งสัง กรีน จำกัด และบริษัท มหาชัย กรีนเพาเวอร์ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 85.00 65.00 และ 46.00 ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ (PPA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 30 MW
พร้อมกันนั้น ที่ประชุมยังมีมติให้บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิง้ จำกัด จัดตั้ง บริษัท ปัตตานี กรีน จำกัด (ปัตตานี กรีน) มูลค่าเงินลงทุน 6,500,000 บาท สัดส่วนของการถือหุ้น ร้อยละ 65 ของทุนจดทะเบียน ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในจังหวัดปัตตานี