ทั้งนี้ อนุมัติให้ TARCO ให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่ AOT ให้สิทธิประกอบการในการให้บริการระบบส่งน้ามันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 ณ ทสภ.ในอัตราร้อยละ 18 ของยอดรายได้จากการดำเนินการระบบ Hydrant ระยะที่ 2 ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ โดยชำระเป็นรายเดือน และให้ชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนตั้งแต่วันที่เริ่มให้บริการระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 ณ ทสภ.เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ปรับเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของ AOT ใน TARCO จากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 โดยให้ TARCO ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนบริษัทให้แก่ AOT จำนวน 1,060,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.67 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้วของ TARCO ภายหลังการเพิ่มทุน เพื่อตอบแทนการที่ AOT ให้สิทธิแก่ TARCO ในการดำเนินการให้บริการระบบส่งน้ามันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 โดย AOT ไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้นหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้น โดยให้ออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ภายหลังวันที่ TARCO และ AOT ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาอนุญาตฯ แล้ว และในกรณีที่ TARCO มีการเพิ่มทุนในอนาคต TARCO จะต้องรักษาสัดส่วนการถือหุ้นของ AOT ให้เท่ากับอัตราร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนของ TARCO เช่นเดิม โดย AOT ไม่ต้องชำระค่าหุ้นหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ โครงการระบบส่งน้ามันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 ที่ ทสภ. จะสามารถสร้างการเติบโตของรายได้และกาไรให้แก่ TARCO และบริษัท ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TARCO รวมถึงสร้างผลประโยชน์ตอบแทนระยะยาวให้แก่บริษัท
ทั้งนี้ การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน TARCO ของ AOT จะเป็นการสร้างความมั่นคง ความมั่นใจ และสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น เนื่องจาก AOT มีสัดส่วนผลประโยชน์ใน TARCO มากขึ้น นอกจากนี้ การที่ AOT ให้สิทธิแก่ TARCO ในการดำเนินการให้บริการระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 บนพื้นฐานของสัญญาอนุญาตฯ เดิม ประกอบกับมติของคณะกรรมการ AOT ที่ถือว่าโครงการให้บริการระบบส่งน้ามันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ระยะที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการตามสัญญาอนุญาตฯ นั้นสอดคล้องกับการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามบันทึก เรื่องเสร็จที่ 85/2554 เมื่อเดือน ก.พ.54 ว่าขอบเขตของสัญญาอนุญาตฯ ครอบคลุมการให้บริการระบบ Hydrant ภายในพื้นที่ ทสภ. ทั้งหมด
ดังนั้น กรณีจึงเป็นที่ชัดเจนว่าในกรณีที่ AOT ขยายขีดความสามารถในการให้บริการ ทสภ. ต่อไปจากระยะที่ 2 การพิจารณาโครงการระบบ Hydrant ย่อมอยู่ในความหมายและหลักการเดียวกัน ทำให้การลงทุนครั้งนี้ยังลดความเสี่ยงจากการเข้ามาแข่งขันของคู่แข่งในอนาคต ดังนั้น ย่อมส่งผลให้ธุรกิจของ บริษัท และTARCO มีการเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง
แหล่งเงินทุนที่ใช้สาหรับการลงทุนในโครงการระบบ Hydrant จากการประเมินต้นทุนค่าก่อสร้างระบบส่งน้ามันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 TARCO ต้องใช้เงินทุนทั้งสิ้นประมาณ 710.00 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศจานวน 550.00 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 160.00 ล้านบาท จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ TARCO
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติแต่งตั้ง นายประกอบเกียรติ นินนาท ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แทนหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล ซึ่งจะครบกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.57 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายประกอบเกียรติ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยการสรรหากรรมการผู้จัดการดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการสรรหาของบริษัท