เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะออกให้แก่กรรมการและ/หรือพนักงานของทีพีซีและบริษัทย่อยของทีพีซี จำนวน 1,200,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท , เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวน 64,254,800 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และจำนวน 25,195,200 หุ้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (Pre-emptive Right) อัตราส่วน 20 หุ้น TPOLY ต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุนของทีพีซี
คณะกรรมการของบริษัทเห็นว่าการนำทีพีซีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศทไทยเพื่อเพิ่มช่องทางในการระดมทุนให้กับทีพีซี และเป็นการลดภาระของบริษัทในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ทีพีซีในฐานะผู้ถือหุ้น
อนึ่ง ทีพีซีจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) โดยทีพีซีจะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 310,550,000 บาท เป็น 401,200,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้ ทีพีซี จัดตั้งบริษัท สตูล กรีน เพาเวอร์ ภายในเดือน มี.ค.57 ทุนจดทะเบยน 20 ล้านบาท มูลค่าหุ้น 10 บาทต่อหุ้น เพื่อทำโครงการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ชื่อโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลสตูล กรีน เพาเวอร์ เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิตรวม 9.9 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 700 ล้านบาท เป็นค่าที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์และค่าก่อสร้าง และค่าพัฒนาโครงการและอุปกรณ์ โดยแหล่งเงินมาจากเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน 500 ล้านบาท อีก 200 ล้านบาทมาจากเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ทีพีซี เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 66.19 จะเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท สตูล กรีน เพาเวอร์ จำกัดในสัดส่วนร้อยละ100 เพื่อทำโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด ประมาณ 9.9 เมกกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าประเภท VSPP ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า ไม่เกิน 10 MW ตั้งอยู่ที่อำเภอ ควรกาหลง จังหวัดสตูล
บริษัทฯ คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานชีวะมวล ขนาดกาลังการผลิตรวม 9.9 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐบาลที่กำหนดให้มีอัตราส่วนเพิ่ม (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าที่ 0.3 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ประกอบกับเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีกทั้ง ช่วยส่งเสริมและสร้างความเติบโตของรายได้ที่มั่นคงให้แก่บริษัทฯ ในอนาคต และในท้ายที่สุดจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในระยะยาวบริษัทคาดการณ์ถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสุทธิให้บริษัทฯ และเพิ่มกระแสเงินสดที่มั่นคงให้กับบริษัทต่อไป
นายไชยณรงค์ กล่าวว่า การจัดตั้งบริษัทใหม่นี้ คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 16 - 18% เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใส ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐที่กำหนดให้มีอัตราส่วนเพิ่ม (Adder) จากราคารับซื้อไฟฟ้าที่ 0.3 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง รวมทั้งเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมและสร้างความเติบโตของรายได้ที่มั่นคงให้กับบริษัทฯ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งระยะยาวจะช่วยเพิ่มรายได้และกำไรสุทธิให้กับ TPOLY เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป
ขณะที่ในส่วนของ TPC POWER HOLDING คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้อย่างแน่นอน
"ปีนี้จะเป็นปีที่บริษัท มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลจากวิสัยทัศน์และแผนดำเนินธุรกิจที่วางไว้เมื่อ 3 ปีก่อน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ในส่วนของธุรกิจหลัก 3 ส่วน คือ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยตั้งเป้ารายได้รวมจากทุกธุรกิจ 3,400 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท พลังงาน 200 ล้านบาท และอสังหาริมทรัพย์ 200 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 88% 6% และ 6% ตามลำดับ" นายไชยณรงค์ กล่าว