ทั้งนี้ ภายหลังจากการทำรายการในครั้งนี้เสร็จสิ้นลง CPP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ CPF โดย CPF และ CPFI จะยังคงถือหุ้น CPP รวมกัน 50.43%
สำหรับขายหุ้นครั้งนี้ คณะกรรมการฯ มองว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือทางธุรกิจใน CPP ระหว่างบริษัท และกลุ่ม ITOCHU และจะนำเงินที่ได้รับจากการขายไปใช้ในการชำระหนี้คืนหนี้ของบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งจะช่วยเสริมให้บริษัทและบริษัทย่อยมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เห็นควรอนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ CPF โดยให้ปลดเครื่องหมาย H หลักทรัพย์ของ CPF ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ที่มี CPF เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง และ CPF Futures ตั้งแต่การซื้อหรือขายรอบบ่ายของวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป