ส่วน EBITDA อยู่ที่ 18,073 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 2% เทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้น 9.8%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและจากค่าใช้จ่ายการตลาดที่ลดลง ชดเชยค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ EBITDA Margin เพิ่มขึ้นเป็น 44.6%ในไตรมาส 1/58 จาก 43.8% ในไตรมาส 4/57
ในไตรมาส 1/58 มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เติบโตเกินกว่าที่บริษัทคาดการณ์เล็กน้อย โดยเติบโต 4.6% จากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในโครงข่าย 3G อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ทีการใช้งานที่หนาแน่น เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้บริการดาต้าบนมือถือ โดยปัจจุบันเอไอเอส มีสถานีฐาน 3G จำนวน 22,800 สถานีฐาน และมี Wifi จำนวน 35,000 จุด
ในไตรมาสนี้ต้นทุนค่าธรรมเนียมต่อรายได้ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย)ลดลงมาอยู่ที่ 14% จาก 19% ในไตรมาส 1/57 ซึ่งส่งผลจากการเติบโตจากการเติบโตของจำนวนมือถือ 3G คิดเป็น 58% บนระบบใบอนุญาต 2.1GHz จาก 47% ในไตรมาส 1/57 และความสำเร็จของการขายมือถือภายใต้แบรนด์ AIS LAVA ซึ่งมียอดขายถึง 1,400,000 เครื่องในไตรมาสนี้
ในไตรมาส 1/58 บริษัทยังคงเห็นแนวโน้มของลูกค้าที่ถือซิมมากกว่า 1 ซิม แต่จำนวนเลขหมายระบบเติมเงินลดลงเหลือ 36.9 เลขหมาย จากการปรับปรุงฐานลูกค้าโดยล้างเลขหมายที่ไม่มีการใช้งานเกินกำหนดออก
อย่างไรก็ตาม จำนวนเลขหมายระบบรายเดือนยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 ล้านเลขหมาย เนื่องจากลูกค้ามีแนวโน้มในการย้ายจากเติมเงินมาเป็นรายเดือนเพิ่มขึ้น รวมทั้งจากสิทธิพิเศษของแพ็กเกจบนระบบรายเดือนที่น่าสนใจ โดยปัจจุบันบริษัทมีจำนวนเลขหมายรวมทั้งสิ้น 42 ล้านเลขหมาย ลดลงจาก 44.3 ล้านเลขหมายจากสิ้นปีก่อน และมีเลขหมายบนระบบใบอนุญาต 2.1 GHz เท่ากับ 38.9 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็น 93% ของเลขหมายรวม โดยอีก 3.1 ล้านเลขหมายที่เหลือยังคงอยู่บนระบบสัญญาร่วมการงสน 900 MHz
สำหรับการแข่งขันในปีนี้จะเข้มข้นขึ้นในกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงล่าง โดยผู้ให้บริการจะจัดหามือถือราคาถูกที่รองรับ 3G มาขายในตลาดมากขึ้น
ในปี 58 เอไอเอสจะเพิ่มขีดความสามารถของการเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคม โดยการเปลี่ยนจาก"ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่" เป็น "ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์" ซึ่งจะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และดิจิทัลคอนเทนต์
ในไตรมาสนี้บริษัทใช้งบลงทุนเพื่อขยายโครงข่ายจำนวน 7,165 ล้านบาท จากงบลงทุนปีนี้ตั้งไว้ 40,000 ล้านบาท และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเอไอเอสได้เปิดตัวธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์อย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มให้บริการในกรุงเทพฯและอีก 6 จังหวัดหลักก่อน โดยปัจจุบันมีความครอบคลุมจำนวน 130,000 ครัวเรือน