ดังนั้น ไตรมาส 2/58 บริษัทจึงมีกำไรสุทธิ 4,235 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2/57 ที่มีกำไรสุทธิ 178 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,057 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,279% ขณะที่งวด 6 เดือนแรกปี 58 มีกำไรสุทธิ 8,067 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,545 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,445%
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากรายได้จากการขายสุทธิในไตรมาส 2/58 มีจำนวน 55,526 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/57 จำนวน 16,132 ล้านบาท หรือลดลง 23% จากราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์โดยรวมปรับลดลง 35% ตามราคาน้ามันดิบที่ลดลง ขณะที่ปริมาณขายรวมเพิ่มขึ้น 12% จาก 16.68 ล้านบาร์เรล หรือ 183 พันบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 2/57 เป็น 18.76 ล้านบาร์เรล หรือ 206 พันบาร์เรลต่อวัน
และงวด 6 เดือนแรกปี 58 บริษัทมีรายได้จากการขายสุทธิ 105,467 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อน 38,045 ล้านบาท หรือลดลง 27% สาเหตุใหญ่เกิดจากราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์โดยรวมปรับลดลง 38% ตามราคาน้ามันดิบที่ลดลง ขณะที่ปริมาณขายรวมเพิ่มขึ้น 11% จาก 33.38 ล้านบาร์เรล หรือ 184 พันบาร์เรลต่อวัน ในงวด 6 เดือนแรกปี 57 เป็น 36.99 ล้านบาร์เรล หรือ 204 พันบาร์เรลต่อวัน
ขณะที่กำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM)ไตรมาส 2/58 อยู่ที่ 8,177 ล้านบาท หรือ 14.01 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับไตรมาส 2/57 ที่ 2,773 ล้านบาท หรือ 5.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 8.61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เกิดจาก 1) ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ทาให้ GIM เพิ่มขึ้น 6.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากต้นทุนน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตลดลงตามราคาน้ามันดิบที่ลดลง และ 2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรโดยเฉพาะการผลิตและการตลาดภายใต้โครงการเดลต้า ทาให้ GIM เพิ่มขึ้น 1.74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบดูไบจาก 51.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1/58 เป็น 61.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลในไตรมาส 2/58 ทำให้บริษัทฯ มีกาไรจากสต๊อคน้ำมัน 1,915 ล้านบาท หรือ 3.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีกำไรจาก Oil Hedging จำนวน 15 ล้านบาท หรือ 0.03 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทำให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) รวม 10,107 ล้านบาท หรือ 17.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับไตรมาส 2/57 ที่มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี 4,710 ล้านบาท หรือ 9.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยไตรมาส 2/57 มีกำไรจากสต๊อคน้ามัน 944 ล้านบาท หรือ 1.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มีกำไรจากการกลับรายการค่าเผื่อการลดลงของราคาสินค้าคงเหลือ(LCM) จานวน 18 ล้านบาท หรือ 0.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีกำไรจาก Oil Hedging จานวน 975 ล้านบาท หรือ 1.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
และ Market GIM งวด 6 เดือนแรกปี 58 อยู่ที่ 15,191 ล้านบาท หรือ 13.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 57 ที่ 6,743 ล้านบาท หรือ 6.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 6.97 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จาก 1) ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ทาให้ GIM เพิ่มขึ้น 5.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนน้ามันดิบและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตลดลงตามราคาน้ามันดิบที่ลดลง และ 2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรโดยเฉพาะการผลิตและการตลาดภายใต้โครงการเดลต้า ทาให้ GIM เพิ่มขึ้น 1.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
งวด 6 เดือนแรกปี 58 บริษัทขาดทุนจากสต๊อคน้ามัน 1,626 ล้านบาท หรือ 1.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่มีกำไรจากการกลับรายการค่าเผื่อการลดลงของราคาสินค้าคงเหลือ (LCM) จำนวน 3,259 ล้านบาท หรือ 2.91 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีกำไรจาก Oil Hedging จานวน 5 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) อยู่ที่ 16,829 ล้านบาท หรือ 15.03 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 57ที่มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี 9,032 ล้านบาท หรือ 8.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยงวด 6 เดือนแรกปี 57 มีกำไรจากสต๊อคน้ามันสุทธิ 737 ล้านบาท หรือ 0.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่มีขาดทุนจากค่าเผื่อการลดลงของราคาสินค้าคงเหลือ (LCM) จานวน 3 ล้านบาท และมีกาไรจาก Oil Hedging จานวน 1,555 ล้านบาท หรือ 1.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
รายได้อื่นๆ สำหรับไตรมาส 2/58 มีจำนวน 805 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2/57 ที่จำนวน 364 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 441 ล้านบาท และงวด 6 เดือนแรกปี 58 มีรายได้อื่นจำนวน 1,126 ล้านบาท เทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 57 ที่จานวน 670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 456 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากในไตรมาส 2/58 ได้รับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 460 ล้านบาท
ด้านต้นทุนทางการเงินสุทธิในไตรมาส 2/58 อยู่ที่ 232 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2/57 ที่จำนวน 403 ล้านบาท ลดลง 171 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากดอกเบี้ยจ่ายลดลงจากการบันทึกเข้าต้นทุนสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างเพิ่มขึ้น และงวด 6 เดือนแรกปี 58 ต้นทุนทางการเงินสุทธิอยู่ที่ 739 ล้านบาท เทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 57 ที่ 768 ล้านบาท ลดลง 29 ล้านบาท จากดอกเบี้ยจ่ายลดลง 332 ล้านบาท จากการบันทึกเข้าต้นทุนสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างเพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยลดลง 274 ล้านบาท และดอกเบี้ยรับลดลง 29 ล้านบาท
ไตรมาส 2/58 มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 515 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/57 มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 5 ล้านบาท เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง โดยบริษัทฯ มีเงินกู้ระยะยาวสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ 413 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 58 มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 341 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 151 ล้านบาท
ไตรมาส 2/58 บริษัทมีกำไรจากการลงทุนลดลง 20 ล้านบาทเทียบกับไตรมาส 2/57 ส่วนใหญ่เกิดจากเงินปันผลรับลดลง และงวด 6 เดือนแรกปี 58 กำไรจากการลงทุนลดลง 140 ล้านบาทเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมลดลง 122 ล้านบาท และเงินปันผลรับลดลง 18 ล้านบาท
การขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.58 มีมติอนุมัติให้ขายหุ้นในบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด (PTTPM) ที่บริษัทฯ ถืออยู่ 25% จำนวน 100,000 หุ้น ให้แก่บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC) และบริษัท โซลูชั่น ครีเอชั่น จากัด (เดิมชื่อบริษัท ไบโอ ครีเอชั่น จากัด) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PTTGC รวมเป็นจานวนเงิน 250 ล้านบาท โดยบริษัทโอนหุ้นดังกล่าวให้ทั้งสองบริษัทแล้วเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.58