บมจ.โพลาริส แคปปิตัล(POLAR)เปิดเผยเรื่องการเพิ่มทุน
เรื่อง : การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน วันที่คณะกรรมการมีมติ : 15 ม.ค. 2559 รายละเอียดการจัดสรร จัดสรรให้กับ : เพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นสามัญ จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) : 59,604,662,040 จัดสรรให้กับ : เพื่อรองรับการปรับสิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นสามัญ จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) : 2,822,397,677 จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 62,427,059,717 จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 62,427,059,717 มูลค่าที่ตราไว้ (Par)(บาทต่อหุ้น) : 30.00 หมายเหตุ : TSR = 42,574,758,600 หุ้น POLAR-W4 = 17,029,903,440 หุ้น POLAR-W2 = 107,118,500 หุ้น POLAR-W3 = 2,715,279,177 หุ้น
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ เรื่อง : ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ วันที่คณะกรรมการมีมติ : 15 ม.ค. 2559 จัดสรรให้กับ : ผู้ถือหุ้นสามัญเดิม ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : ใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) : 17,029,903,440 : หุ้นสามัญ หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลัก ทรัพย์แปลงสภาพ จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 17,029,903,440 อัตราส่วน (หุ้นเดิม : หลักทรัพย์แปลงสภาพ) : 3 : 1 ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) : 0.00 ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท โพลา ริส แคปปิตัล จำกัด (มหาชน) รุ่นที่ 4 (POLAR-W4) อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้น) : 1 : 1 อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ : 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR) จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) : 42,574,758,600 หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลัก : หุ้นสามัญ ทรัพย์แปลงสภาพ จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) : 42,574,758,600 อัตราส่วน (หุ้นเดิม : หลักทรัพย์แปลงสภาพ) : 1 : 5 วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรั : 01 ก.พ. 2559 พย์แปลงสภาพ (Record date) วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น : 02 ก.พ. 2559 ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ วันที่ไม่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ : 28 ม.ค. 2559 ลักษณะของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR) : ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญที่โอนสิทธิได้ ของ บริษัท โพลาริส แคปปิตัล จำกัด (มหาชน) ชื่อใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้(TSR) อัตราการแปลงสภาพ (TSR : หุ้น) : 1 : 1 ราคาแปลงสภาพ(บาทต่อหุ้น) : 0.039 อายุ TSR : ไม่เกิน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกใบแสดงสิทธิ นายญาณกร วรากุลรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร POLAR กล่าวว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น และอนุมัติการออกใบแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Transferable Subscription Right : TSR) TSR คือ ใบแสดง สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ เป็นสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนระยะสั้น ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือทางการเงินหนึ่งของตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อช่วยในขั้นตอนการเพิ่มทุน โดย 1 หน่วยใบแสดงสิทธิสามารถจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ 1 หุ้น ตามการจัดสรร หุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) โดยประโยชน์ของใบแสดงสิทธิดังกล่าว คือ ผู้ถือหุ้นสามารถจอง ซื้อหุ้นเพิ่มทุน สามารถขายใบแสดงสิทธิผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เพื่อทดแทนการยกเลิก PP โดยการออก TSR จำนวนไม่เกิน 42,574,758,600 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า ในอัตราส่วนหุ้นสามัญเดิม 1 หุ้น ได้รับการจัดสรร TSR 5 หน่วย โดยกำหนดให้ TSR 1 หน่วยใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ในราคาใช้สิทธิหุ้นละ 0.039 บาท และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่คุ้มค่าให้กับผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ต้องการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนโดยการขายสิทธิ TSR ในตลาดหลัก ทรัพย์ แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องการจะขายสิทธิ TSR ดังกล่าวนี้ ก็จะยังสามารถใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้ตามปกติ เหมือน RO โดยไม่มีการเสียสิทธิ บริษัทได้กำหนดให้วันที่ 1 ก.พ. 2559 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรใบ แสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญที่โอนสิทธิได้ (Record Date) และปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ในวันที่ 2 ก.พ.2559 อย่างไรก็ดี จากมติบอร์ดบริษัทครั้งที่ 11/2558 เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2558 ที่เคยอนุมัติการออก TSR ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วนการถือหุ้นซึ่งได้ยกเลิกในภายหลังนั้น ยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการลดลงของราคาหุ้น บอร์ดจึงพิจารณาเลือกแนวทางนี้ โดยมีความเชื่อมั่นว่า มติดังกล่าวจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เนื่องจากผู้ถือหุ้นมีเข้าใจถึงความจำเป็นและผลประโยชน์ที่จะ นำมาสู่บริษัทในระยะยาว อีกทั้งการเลือกพิจารณาออก TSR แทน RO ยังได้แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่ผู้ถือ หุ้นทุกรายอย่างแท้จริง โดยบริษัทวางแผนการลงทุน จากแหล่งเงินทุนที่มาจาก TSR และจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน มูลค่ารวมประมาณ 3,397 ล้านบาท ไว้ดังนี้ 1.ลงทุนตามสัดส่วนในบริษัทร่วมทุนโครงการ “The Sherwood” ที่ประเทศอังกฤษ จำนวน 500 ล้านบาท 2.โครงการพังงา – วิลล่า เฟส 1 จำนวน 1,000 ล้านบาท 3.โครงการพังงา – พัฒนาสาธารณูปโภค ส่วนแรก จำนวน 150 ล้านบาท 4.ชำระค่าที่ดิน - ถนนพหลโยธิน จำนวน 587 ล้านบาท 5.ชำระค่าพัฒนาที่ดิน -พหลโยธิน : ส่วนแรก จำนวน 450 ล้านบาท 6.เงินลงทุนในบริษัทย่อย (บจ.แพลทตินั่ม ออโต้ เซอร์วิส) จำนวน 400 ล้านบาท 7.เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 310 ล้านบาท