PTTEP เผยปี 58 ขาดทุนหนักจากราคาขายวูบ-ด้อยค่าสินทรัพย์หลังราคาน้ำมันดิ่ง

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday January 28, 2016 14:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือ ปตท.สผ. แจ้งว่า ผลการด้าเนินงานของ ปตท.สผ.และบริษัทย่อยสำหรับปี 58 มีขาดทุนสุทธิ 854 ล้านดอลลาร์ สรอ. มีผลการด้าเนินงานลดลง จำนวน 1,531 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือมากกว่าร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบกับก้าไรสุทธิสำหรับปี 2557 จำนวน 677 ล้านดอลลาร์ สรอ.

สาเหตุหลักจากรายได้จากการขายที่ลดลงจ้านวน 1,993 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงเป็น 45.29 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (สำหรับปี 2557: 63.71 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ) แม้ว่าปริมาณการขายเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 322,167 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน (ส้ำหรับปี 57: 312,569 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน) โดยปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากโครงการซอติก้าที่เริ่มมีการขายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในเดือน ส.ค.57 และเริ่มมีการผลิตเต็มกำลังในเดือน ส.ค.57 นอกจากนี้ ยังมีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจำนวน 388 ล้านดอลลาร์ สรอ.

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ลดลง 606 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามกำไรที่ลดลง ขาดทุนจากรายการ Non-Recurring ส้าหรับปี 58 มีจ้านวน 1,572 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขาดทุนเพิ่มขึ้น 711 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากปี 2557 ที่มีขาดทุนจากรายการ Non-Recurring จำนวน 861 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เกิดจากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี ภาษีเงินได้ที่เกิดจากผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้ที่ค้านวณจากผลก้าไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยตามประมวลรัษฎากรมีจ้านวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.

สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยส้าคัญที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท ปตท.สผ. มองว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 59 จะยังคงอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งปีแรก จากภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากกลุ่มโอเปกที่ยังคงนโยบายเพิ่มก้าลังการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ประกอบกับการที่อิหร่านเตรียมเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบประมาณ 0.5 – 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวันหลั งยกเลิกมาตรการคว้าบาตร ประกอบกับจะยังคงมีผลกระทบจากปัญหาด้านเศรษฐกิจของจีนที่อาจจะซบเซากว่าที่คาดการณ์ไว้

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามแนวโน้มอุปทานน้ำมันส่วนเกินในตลาดโลกที่ลดลง จากกำลังการผลิตที่คาดว่าจะปรับตัวลงจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการปรับลดหรือชะลอการลงทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58 ตามราคาน้ำมันที่ลดลง

ในด้านเศรษฐกิจ ธนาคารโลกได้ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 59 ที่คาดการณ์ไว้ จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 2.9 ในเดือนมกราคม เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (กลุ่ม BRICS) อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริ กาใต้ ส้ หรั บประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงินแห่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประมาณอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย สำหรับปี 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากการใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นและการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะขยายตัว

ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน คาดการณ์ว่าค่าเงินบาทมี แนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 59 โดยผลประกอบการของ ปตท.สผ. จะได้รับผลกระทบในรูปของภาษีเงินได้จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของสกุลเงินที่ใช้ในการยื่นภาษีกับสกุลเงินที่ใช้ในการบันทึกบัญชี แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีผลต่อกระแสเงินสด ส้าหรับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นนั้น บริษั ทคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาระดอกเบี้ยของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญเนื่องจากโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของบริษัทเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณร้อยละ 80 ของภาระหนี้ทังหมด

ภายใต้ระดับราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ ปตท.สผ.ได้เตรียมแผนรับมือส้าหรับปี 59 โดย 1. คงนโยบายการใช้อนุพันธ์ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (oil price hedging) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ผันผวน ดังเช่นในปี 58 ซึ่งบริษัทได้บรรเทาผลกระทบโดยมีกำไรจาก Oil Price Hedging กว่า 120 ล้านเหรียญ สรอ.

2. ดำเนินการลดต้นทุนตามแผนงานของโครงการ SAVE to be SAFE อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งหมายรวมถึงการพิจารณาชะลอหรือหยุดการลงทุนในโครงการที่ต้นทุนสูง นอกจากนี้ บริษัทยังคงเน้นในเรื่องของการเจรจาต่อรองสัญญาจ้างอุปกรณ์และบริการในธุรกิจ และการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างรัดกุม

3. เน้นการบริหารจัดการการผลิตโดยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างกำไรและกระแสเงินสดจากการขาย และไม่ให้มีผลกระทบกับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ

4. จัดท้าแผนจำลองสถานการณ์ ราคาน้ำมันดิบและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. ที่ระดับราคาต่างๆ เพื่อจัดเตรียมแผนการบริหารความเสี่ยงให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งสร้างความยืดหยุ่นในแผนการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. ให้ความส้าคัญกับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางการเงิน โดยมุ่งเน้นโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมกับลั กษณะธุรกิจ และสภาพคล่องที่สามารถรองรับกับสภาวะราคาน้ำมันและเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ