VTE เข้าซื้อกิจการโซล่าร์ในญี่ปุ่นและไทย, เพิ่มวงเงินขายตั๋วB/Eเป็น 3 พันลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Saturday May 14, 2016 09:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายโสรัจ โรจนเบญจกุล ประธานกรรมการ บมจ.วินเทจ วิศวกรรม (VTE) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติให้บริษัท วินเทจ โฮลดิ้ง เจแปน จากัด (VHJ) (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน) เข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นผ่านทาง Energy Gateway No.2 Godo Kaisha (EGN2) ซึ่งเป็นบริษัท GK ที่ VHJ จะเข้าลงนามในสัญญาเข้าลงทุน TK Investment Agreement (TK Agreement) ในอนาคต หลังจากที่บริษัทฯ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกาลังการผลิต 980.98 กิโลวัตต์ที่เมืองอิงะ (Iga) ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ เครื่องจักร ใบอนุญาตต่างๆ สิทธิตามสัญญาจาหน่ายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดิน รวมทั้ง ทรัพย์สินและสิทธิตามสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้าง พัฒนา ดำเนินการ และบริหารจัดการ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว (รวมเรียกว่า “กิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ญี่ปุ่น")

ในการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนผ่านทาง EGN2 ตามรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 410,788,776 เยน (คิดเป็นประมาณ 134,204,693 บาท คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ในอัตรา 32.67 บาท ต่อ 100 เยน)และภาษีที่เกี่ยวข้อง

อนึ่ง ในการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นของ VHJ นั้น จะเป็นในลักษณะของการให้ VHJ เข้าทา TK Agreement กับ EGN2 ซึ่งภายใต้ TK Agreement นัน้ EGN2 จะทาหน้าที่เป็นผู้ซือ้ และดาเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น โดย EGN2 จะได้รับเงินลงทุนจาก VHJ เพื่อนาไปลงทุนซือ้ กิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น และ VHJ จะได้รับผลตอบแทนจากการดาเนินกิจการโรงไฟฟ้าของ EGN2 ในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 95 ของกาไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้นิติ บุคคลจากการเข้าทาธุรกรรมในรูปแบบ TK Agreement อย่างไรก็ดี ในส่วนของการเข้าทาธุรกรรมในรูปแบบ TK Agreement นัน้ VHJ จะได้รับเพียงผลตอบแทนตามที่กล่าวข้างต้น แต่จะไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นหรือการมีสิทธิหรือออกเสียงลงคะแนนใดๆ รวมถึงไม่มีส่วนร่วมในผลประโยชน์ใดๆ หรือความเสี่ยงใดๆ ในเชิงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจของ EGN2 (Silent Partnership)

ในการเข้าทารายการดังกล่าวของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนผ่านทาง EGN2 ตามรายละเอียดที่กล่าวข้างต้นมีความสมเหตุสมผลและจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เนื่องจากการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นเป็นโอกาสที่ทาให้บริษัทฯ ขยายการประกอบธุรกิจเพิ่มเติม เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตทั้งทรัพย์สิน ผลกำไรและ กระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องในอนาคต

นอกจากนี้ จากการที่เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 บริษัท ได้แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ขนาดกาลังการผลิต 248.88 กิโลวัตต์แขวงแสมดา เขตบางขุนเทียน ในประเทศ ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์เครื่องจักร ใบอนุญาตต่างๆ สิทธิตามสัญญาจำหน่ายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดิน สิทธิตามบัตรส่งเสริมการลงทุนจากทางสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) รวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิตามสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้าง พัฒนา ดำเนินการ และ บริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว (รวมเรียกว่า “กิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศไทย") นั้น

บริษัทฯ ขอแจ้งว่าบริษัทฯ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าซือ้ กิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเสร็จสิน้ แล้วและเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้มีมติให้บริษัทฯเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยโดยการเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สยาม ไบโอ เจนเนอเรชนั่ 1 จากัด (“สยามไบโอเจน" และรวมกันเรียกว่า “ผู้ขาย") ทั้งสิ้น ร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนชาระแล้วทั้งหมดจากผู้ขาย มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 17,500,000 บาท และภาษีที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ทางบริษัทฯ เป็นเจ้าของและสามารถดาเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย และบริษัทฯ จะได้รับผลตอบแทนจากการดาเนินกิจการโรงไฟฟ้าของสยามไบโอเจน โดยทางสยามไบโอเจนได้มีกาหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพานิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2556 โดยมีอายุสัมปทานทั้งหมด 25 ปี โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ feed-in tariff (FIT) หน่วยละ 6.55 บาทต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ การเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยนี้จะทำให้บริษัทฯ มีผลตอบแทนจากการลงทุนระดับโครงการ (Project IRR) ในอัตราร้อยละประมาณ 8.76 ถึง 9.15 และได้รับ และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนระดับผู้ถือหุ้น (Equity IRR) ในอัตราร้อยละประมาณ 11.23 ถึง 11.24

ในการเข้าทารายการดังกล่าวของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุน ตามรายละเอียดที่กล่าวข้างต้นมีความสมเหตุสมผลและจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เนื่องจากการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเป็นโอกาสที่ทำให้บริษัทฯ ขยายการประกอบธุรกิจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตทั้ง ทรัพย์สิน ผลกาไรและกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องในอนาคต

คณะกรรมการบริษัท อนุมัติการเพิ่มวงเงินการออกและเสนอขายตั๋วแลกเงินระยะสั้น (Bill of Exchange) จากวงเงินไม่เกิน 1,200 ล้านบาทเป็นวงเงินไม่เกิน 3,500 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและลงทุนในโครงการต่างๆ โดยปัจจุบันบริษัทฯ เริ่มมีผู้ลงทุนสนใจลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของบริษัทฯ อยู่แล้วประมาณ 300 –1,000 ล้านบาท อนึ่ง ภายหลังจากได้สารวจความต้องการของตลาดในรูปแบบการขายตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)ให้กับผู้ลงทุนวงแคบ (ไม่เกิน 10 ฉบับ) ซึ่งทาง กลต. อนุญาตเป็นการทั่วไปแล้วพบว่า มีนักลงทุน รายใหญ่ที่มีความพร้อมให้การสนับสนุนวงเงินเพื่อธุรกิจของบริษัทฯ (อย่างน้อย 1 ราย) ภายใต้ข้อจำกัดว่า จะต้องระดมทุนเป็นตั๋ว แลกเงินขนาดใหญ่ระยะเวลาประมาณ 270 วันภายใต้วงเงินต่อนักลงทุนประมาณ 2,000– 2,500 ล้านบาท โดยข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอพิเศษไม่ได้มีทั่วไปในตลาด ซึ่งทางฝ่ายบริหารจึงเล็งเห็นโอกาสที่บริษัทฯ จะสามารถระดมทุนและเติบโตได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ จึงได้รีบนาเสนอคณะกรรมการเป็นการเร่งด่วน เพื่อขอขยายวงเงินเป็นวงเงินสกุลบาท ณ. ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 3,500 ล้านบาท และ/หรือ สกุลเงินต่างประเทศที่เทียบเท่า

พร้อมกันนี้ยังได้อนุมัติการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท ด้วยการลงทุนระยะสั้น และ/หรือ ระยะกลาง และ/หรือ ระยะยาวซึ่ง หมายความรวมถึง เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) ดังต่อไปนี้ ก) ตราสารหนี้ภาครัฐทุกชนิด (Government Debts and Funds) ข) ตราสารหนี้ภาคเอกชนทุกชนิด (Debt Instruments) ค) ตราสารประเภทกองทุนทุกชนิด (Funds) ยกเว้นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญ (Equity Funds) ทั้งนี้ การลงทุนในเครื่องมือทางการเงินข้างต้นต้องเป็นการลงทุนในเครื่องมือทางการเงินผ่านสถาบันการเงิน (Financial Institutions) เท่านั้น และห้ามลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นทุกชนิด (Equity)

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังได้อนุมัติการเพิ่มทุนของบริษัทย่อย บริษัท วินเทจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จากัด ("VTEC") อีกจำนวน 100 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจานวน 10,000,000 หุ้น ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมรวมเป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 110 ล้านบาท เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขัน และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทฯ เนื่องจากมีข้อจำกัดขนาดของทุน การเข้าร่วมประมูลงาน จึงเห็นควรให้ดาเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนโดยออกหุ้นสามัญอีกจานวน 100 ล้านบาท มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจานวน 10,000,000 หุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จองชื้อ ตามสัดส่วนการถือของตน หรือสามารถจองซื้อเกินกว่าสัดส่วนการถือของตน หากมีผู้ถือหุ้นท่านอื่นปฏิเสธการจองซื้อ หุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ