นายอิทธิชัย อรุณศรีแสงไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น (MAX) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติยกเลิกการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 5,700,000,000 หุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ รุ่นที่ 1 (MAX-T1) และยกเลิกการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ไม่เกิน 50 ราย จำนวน 10,000,000,000 หุ้น
และยกเลิกการลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นเพื่อล้างขาดทุนสะสม โดยมีมติอนุมัติและเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากเดิม 45,304,223,696 บาท เป็น 29,602,897,628 บาท โดยการตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายของบริษัทจำนวน 15,701,326,068 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
จากนั้นให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 29,602,897,628 บาท เป็น 99,555,048,069 บาท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ 69,952,150,441 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จัดสรรหุ้นสามัญเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) ในอัตราส่วน 2 หุ้นเดิม ต่อ 5 หุ้นใหม่ โดยเศษของหุ้นให้ปัดทิ้ง ในราคาหุ้นละ 0.05 บาท
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดให้วันที่ 9 มกราคม 2560 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Record Date) และกำหนดให้วันที่ 10 มกราคม 2560 เป็นวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น (Book Closing) เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติมาตรา 225 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม)
นอกจากนี้ พิจารณาจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจานวนไม่เกิน 12,395,962,780 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 3 (MAX-W3) ที่บริษัทจะออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่จองซื้อและได้รับจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วนหุ้นสามัญใหม่ซึ่งจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม 4 หุ้นเพิ่มทุนต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย (กรณีมีเศษให้ปัดทิ้ง) โดยมีราคาเสนอขายต่อหน่วยเท่ากับ 0 บาท ทั้งนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธิจะมีอายุ 6 เดือน นับแต่วันที่ออกและมีราคาใช้สิทธิเท่ากับ 0.05 บาท
รวมทั้งพิจารณาจัดสรรหุ้นสามัญเพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 1 (MAX-W1) จานวน 4,196,856,270 หุ้น และจัดสรรหุ้นสามัญเพื่อรองรับการปรับสิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 2 (MAX-W2) จานวน 3,775,480,273 หุ้น
พร้อมกันนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท เท็กซัส121 จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทนในประเทศและต่างประเทศ เป็นจำนวน 99,996 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิดเป็นสัดส่วน 100% ของจานวนหุ้นที่ชาระแล้ว ในราคาหุ้นละ 77.05 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7.7 ล้านบาท
ทั้งนี้ เท็กซัส 121 มีการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ คือ (1) โครงการ Mogami (2) โครงการ Hanamaki ที่ประเทศญี่ปุ่นขนาดกาลังการผลิตรวม 3.87 เมกะวัตต์ (กำลังการผลิตติดตั้ง 4.71 เมกะวัตต์) โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในปี 60
สำหรับโครงการ Mogami ได้สิทธิในการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และสิทธิตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 20 ปี เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการ Hanamaki ทางเท๊กซัส 121 คาดว่าจะได้รับสิทธิสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในเดือน ม.ค.60 ซึ่งโครงการดังกล่าวทั้งหมดจะต้องใช้เงินลงทุน 2 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,506.15 ล้านเยน หรือ 479.59 ล้านบาท ผ่านบริษัทย่อยทางอ้อม ชื่อบริษัท Solar Mogami Godo Kaisha (ประเทศญี่ปุ่น)
ปัจจุบัน เท๊กซัส 121 ได้ลงทุนไปแล้วจำนวน 93.10 ล้านบาท โดย บมจ. อควา คอร์ปอเรชั่น (AQUA)) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น เท๊กซัส 121 ให้เงินกู้ยืมเงินลงทุนดังกล่าว ดังนั้น ในการเข้าลงทุนดังกล่าว ทางบริษัทได้เจรจาโดยการเข้าซื้อหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของเท๊กซัส 121 จำนวน 99,996 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท การเข้าทำรายการซื้อหุ้นดังกล่าวจะขออนุมัติงบลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดเท่ากับ 498.55 ล้านบาท
บริษัทมีแผนที่จะว่าจ้างผู้รับเหมาที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยเป็นการรับเหมาแบบครบวงจร (EPC) คลอบคลุมตั้งแต่ การออกแบบวิศวกรรม จัดซื้ออุปกรณ์วัสดุก่อสร้างและงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบครบวงจร โดยขณะนี้บริษัทมีแผนที่จะติดต่อกับ EPC รายใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างจำนวน 2-3 ราย เช่น Toyo Thai, Foster Wheeler, Bechtel และบริษัทจะว่าจ้างวิศวกรและโฟร์แมนควบคุมดูแลงานก่อสร้างอีก 1-2 คนไว้ประจำที่โครงการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางบริษัทมีกรรมการ 2 ราย คือ นายอิทธิชัย อรุณศรีแสงไชย และนายพงษ์ดิษฐ พจนา ที่เป็นกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านไฟฟ้าและพลังงาน โดยเฉพาะนายอิทธิชัย ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก วิศวกรรมไฟฟ้าอิเลคโทรนิคส์ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นโดยตรง และนายพงษ์ดิษฐ์ที่เคยเป็นผู้บริหารหลักของ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH) ดังนั้น กรรมการทั้งสองท่านจะสามารถให้คำปรึกษาและควบคุมงานร่วมกับ EPC พร้อมทั้งบริหารงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
ช่วงระยะเวลาขายไฟฟ้าและการบารุงรักษาโครงการ ( O&M ) จากที่บริษัทได้ว่าจ้างวิศวกรและโฟร์แมนควบคุมงานก่อสร้าง พนักงาน 2 ท่านนี้ก็จะอยู่ประจำโครงการเพื่อควบคุมการดาเนินโครงการให้สามารถดาเนินการต่อไปได้ คอยบำรุงรักษา ดูแล ตรวจเช็คอุปกรณ์และการทางานต่างๆของโรงไฟฟ้า ประสานงานที่จะให้ EPC มาบารุงดูแลรักษาโครงการด้วย ดังนั้น ทางบริษัทคาดว่าน่าจะสามารถควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวได้ และทางบริษัทมีแผนที่จะดาเนินโครงการในประเทศญี่ปุ่นนี้ต่อไปหากประสบความสำเร็จในโครงการแรกๆนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตลงในระยะยาว
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับบริษัท คือการกระจายความเสี่ยงไปสู่การลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี และมีรายได้ที่มั่นคงในอนาคต โดยโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 60 ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกำไรและกระแสเงินสดกลับมายังบริษัทในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในระยะยาว