บมจ.ปตท.(PTT) ได้แจ้งแผนงานและการลงทุนในช่วงปี 60-64 ทั้งหมดที่ 339,000 ล้านบาท โดยแบ่งจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการ LNG และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติประมาณ 193,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการ LNG ปตท. มีแผนในการเติบโตธุรกิจ LNG Terminal เพื่อรองรับปริมาณการใช้ก๊าซฯในประเทศ โดยมีแผนการลงทุนระยะยาว มีการลงทุนขยายโครงการ LNG terminal ปัจจุบันเพื่อรองรับก๊าซฯได้รวม 10 ล้านตันต่อปีคาดว่าแล้วเสร็จในปี 2560 และจะมีการลงทุนโครงการก่อสร้าง LNG Terminal แห่งใหม่ที่รองรับความต้องการก๊าซฯในอนาคต ทั้งนี้ปตท. มีการจัดหา LNG ด้วยสัญญาระยะยาวเพิ่มเติมจากสัญญา Qatargas ที่มีอยู่ ภายในปี 60 และ ปตท.มีแผนที่จะมี LNG contract ในสัญญาระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ของแผนการนำเข้า LNG ทั้งหมด
โครงการ LNG Receiving Terminal 1 Phase 2 มีความก้าวหน้างานก่อสร้างโดยรวม 99.03% (ณ วันที่ 26 ธ.ค.59) ส่วนความสามารถในการแปรสภาพของเหลวเป็นก๊าซฯ ขนาดประมาณ 5 ล้านตันต่อปี (เพิ่มจาก 5 ล้านตันต่อปี ในระยะที่ 1 เป็น 10 ล้านตันต่อปี ในระยะที่ 2) ทั้งนี้ กำหนดเริ่มซื้อขายเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในครึ่งปีหลังของปี 60
สำหรับโครงการลงทุนใหม่ ได้แก่ โครงการ LNG Receiving Terminal 1 Phase 2 Extension โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ก.ค.59 มีมติให้ ปตท.ขยายกำลังการแปรสภาพ LNG ของ Map Ta Phut LNG Terminal เพิ่มเติมอีก 1.5 ล้านตันต่อปี จาก 10 เป็น 11.5 ล้านตันต่อปี มีกำหนดส่งก๊าซธรรมชาติได้ภายในปี 62
โครงการ LNG Receiving Terminal 2 โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 8ธันวาคม 2559 มีมติให้ ปตท.ดำเนินการขยายกำลังการแปรสภาพ LNG ที่ 7.5 ล้านตันต่อปี มีกำหนดส่งก๊าซธรรมชาติได้ภายในปี 65
ส่วนโครงการลงทุน LNG อื่นๆ มติ กพช. เมื่อวันที่ 30 พ.ค.59 มอบหมายให้ ปตท.ไปศึกษาโครงการลงทุน LNG อื่นๆ เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีและนำกลับมาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ได้แก่ โครงการ Myanmar-Thailand LNG Terminal , โครงการ FSRU ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ (พื้นที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา), โครงการ Onshore LNG Receiving Terminal 3
ขณะที่โครงการท่อส่งก๊ำซธรรมชาติ ได้แก่ โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันก๊าซฯ ในทะเล (Offshore Compressor) มีความคืบหน้า ณ เดือน ธ.ค.59 เท่ากับ 91.90%
โครงการท่อส่งก๊ำซฯ นครราชสีมา Phase 1 การก่อสร้างวางท่อและสถานีควบคุมความดันก๊าซฯ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.59 ความยาวประมาณ 111 กม. มีความคืบหน้า ณ เดือน ธ.ค.59 เท่ากับ 99.87% ส่วน Phase 2 ผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่ระหว่างจัดทำแผนการดำเนินงานและจัดเตรียมเอกสารสำหรับการจัดซื้อท่อฯ คาด COD ปี 61
โครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ กลางทางบนระบบท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 4 (Midline Compressor) อยู่ระหว่างประกอบโครงเหล็กและขึ้นผนังอาคาร และติดตั้งอุปกรณ์ มีความคืบหน้า ณ เดือน ธ.ค.59 เท่ากับ 86.01% คาด COD ปี2560
ระบบท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 5 จากระยองไปไทรน้อย – โรงไฟฟ้ำพระนครเหนือ/ใต้ ได้นำเสนอรายงาน EIA ต่อ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)แล้ว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.59 และอยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดหาผู้รับเหมาและการจัดหาท่อ
ระบบท่อส่งก๊าซฯ จากสถานีควบคุมความดันก๊าซฯ ราชบุรี – วังน้อยที่ 6 ไปยัง จ.ราชบุรี นำเสนอรายงาน EIA ต่อ สผ. แล้ว เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.59 และอยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับเหมา
โครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ บนระบบท่อส่งก๊ำซฯ วังน้อย – แก่งคอย โดย EIA ผ่านความเห็นชอบจาก สผ. แล้ว เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.59 และการจัดหาบริษัทผู้รับเหมาแล้วเสร็จ คือ บริษัท Samsung Engineering
แผนงาน NGV ปตท. มีนโยบายเน้นการขายก๊าซฯแบบ Wholesaleและส่งเสริมภาคเอกชนในการลงทุนสถานีบริการ
ปตท.ยังระบุว่า ในปีนี้มีแผนซ่อมบำรุงประจำปี ได้แก่ โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 5 ได้ลดกำลังการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงช่วง ก.ค. – ส.ค. 2560 (Shutdown20 วัน และ Turn down 50% 9 วัน) และ โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ลดกำลังการผลิตเพื่อซ่อมบำรุง ช่วงเดือน ส.ค. 60 (รวม 15 วัน)
ด้านธุรกิจน้ำมันและธุรกิจการค้ำระหว่ำงประเทศนั้น ปตท. ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับธุรกิจน้ำมันและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจากงบลงทุนขยายธุรกิจช่วง 5 ปี (ปี 2560-2564) ประมาณ 41,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธุรกิจน้ำมัน มีแผนงานพัฒนาสถานีบริการน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกภายในประเทศ โดยจะขยายสถานีบริการน้ำมันให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และพัฒนาสถานีบริการรูปแบบใหม่ (City/ Compact model)เพื่อให้เหมาะสมกับการขยายเครือข่ายในพื้นที่เขตเมือง และถนนสายรองในต่างจังหวัด ซึ่งมีความต้องการของผู้บริโภคและเงื่อนไขทางธุรกิจที่แตกต่างไปจากสถานีบริการรูปแบบเดิมในปัจจุบัน โดยมีจำนวนสาขารวมประมาณ 1,800 แห่ง ภายใน 5 ปี
- ขยายธุรกิจ Cafe Amazon ทั้งในและนอกสถานีบริการ จำนวนสาขารวมประมาณ 2,700แห่ง ภายใน 5 ปี พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจ Cafe Amazon ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำโดยมีการลงทุนก่อสร้างโรงคั่วกาแฟ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น Coffee Drip ผงผสมเครื่องดื่ม และ เบเกอรี่แห้ง รวมถึงการสร้างศูนย์กระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
- บริหาร Retail brand port เช่น Texas chicken, ฮั่วเซงฮง ฯลฯ โดยขยายสาขาในพื้นที่ที่มีศักยภาพ และสรรหา Retail brand ใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดที่ ปตท. เป็นเจ้าของแบรนด์เอง หรือ ปตท. ได้รับสิทธิเป็น Master Franchise
- ต่อยอดขีดความสามารถ และทักษะการบริหารพื้นที่ให้เช่าภายในสถานีบริการน้ำมัน สู่การบริหารพื้นที่ให้เช่านอกสถานีบริการ เช่น สนามบิน ฯลฯ จุดแวะพักระหว่างการเดินทาง (Rest Area) ตามแนวถนนทางหลวงที่จะก่อสร้าง
- พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เชิงลึก (Smart Analytics with Big Data) เพื่อใช้ในการวางแผนธุรกิจและ
- สร้างจุดชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ EV ในสถานีบริการ เพิ่มขึ้นเป็น 20แห่ง พร้อมทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจต่างๆ ตลอดทั้ง EV Value Chain
ส่วนขยายธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกไปยังต่างประเทศ
- ขยายสถานีบริการน้ำมันในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ให้มีจำนวนสาขารวม ประมาณ 500แห่ง
- ขยายธุรกิจ Non-Oil ได้แก่ ร้านกาแฟ Café Amazon ด้วยรูปแบบ Master Franchise ในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และอื่นๆ ให้มี จ นวนสาขารวมประมาณ 400แห่ง ภายใน 5 ปี รวมถึง ร้านสะดวกซื้อ Jiffy ในประเทศลาว และกัมพูชา ให้มี จ นวนสาขารวมประมาณ 160แห่ง ภายใน 5 ปี
- ขยายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่น โดยเน้นตลาดประเทศจีนและอินเดีย ด้วยการท Global sourcing เพิ่มฐาน
ธุรกิจการค้ำระหว่ำงประเทศ ปตท. มีแผนการขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ไปยังภูมิภาคฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของโลก เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการจัดหาพลังงานให้กับประเทศไทยและขยายเครือข่ายการทำการค้าโดยการบริหารระบบโลจิสติกส์ โดยอาศัยบริษัท PTT International Trading London Ltd (PTTT LDN) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน อาทิ การจัดหาน้ มันดิบจากทวีปอเมริกา และแอฟริกาตะวันตก การเช่าถังเก็บผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมี ปตท. มีแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่ม ปตท. ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจปิโตรเคมีสายโพรเพน และสายพลาสติกชีวภาพ รวมถึงธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องให้แก่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ได้แก่
1. บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (“HMC")
2. บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด (“PTTAC")
3. บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด (“PTTMCC")
4. บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (“PTTPM")
5. บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด (“PTTPL")
6. บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด (“PTTME")
และโอนสิทธิในการดำเนินโครงการ PMMA รวมทั้งทรัพย์สินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ตกลง ภายหลังจากที่เงื่อนไข บังคับก่อน (Conditions Precedent : “CPs") ทั้งหมดได้เสร็จสิ้น (หรือมีการสละสิทธิในเงื่อนไขบังคับก่อนใด ๆ)